ผู้ป่วยโรคเบาหวานกับการผ่าตัด ดูแลตัวเองอย่างไรให้ได้ผลดีที่สุด

การดูแลตัวเองก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ต้องทำอย่างไรบ้าง?
เผยแพร่ครั้งแรก 6 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ผู้ป่วยโรคเบาหวานกับการผ่าตัด ดูแลตัวเองอย่างไรให้ได้ผลดีที่สุด

การผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ถือเป็นการรักษาใหญ่ที่ต้องมีการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง เนื่องจากปัญหาของผู้ป่วยโรคเบาหวานมักเกี่ยวกับแผลที่รักษาช้า และมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ รวมถึงความเสี่ยงที่อาจตามมาหลังการผ่าตัด และหากผู้ป่วยดูแลตนเองให้ดีก่อนถึงการผ่าตัด ก็อาจเกิดความเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายตามมาได้ 

ดังนั้นการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีให้พร้อมทั้งก่อนผ่าตัด และหลังผ่าตัดจะทำให้อาการพักฟื้นของร่างกายดีขึ้นได้รวดเร็วขึ้น และถือว่าการผ่าตัดประสบความสำเร็จ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ความเสี่ยงของการผ่าตัด

นอกเหนือจากความเสี่ยงของการผ่าตัดทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นขณะเข้ารับการผ่าตัด ความเสี่ยงเหล่านี้จะสูงขึ้นหากคุณเป็นเบาหวานมานานขึ้น มักมีน้ำตาลในเลือดสูงบ่อย หรือเป็นเบาหวานชนิดควบคุมระดับน้ำตาลได้ยาก (Brittle diabetes) ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนของการเป็นเบาหวาน เช่นความผิดปกติของเส้นประสาทหรือต้องตัดขา ก็จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นอีก

ความเสี่ยงที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องเผชิญหลังจากการผ่าตัด

  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ
  • แผลหายไม่ดี หายช้า มีผิวหนัง หรือเนื้อเยื่ออ่อนแอบริเวณตำแหน่งผ่าตัด
  • การติดเชื้อ ซึ่งรวมการติดเชื้อบริเวณแผล ปอดติดเชื้อ การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะและการติดเชื้อในกระแสเลือด
  • Hyperglycemia Hyperosmolar Nonketotic Syndrome (HHNK)
  • Diabetic ketoacidosis (DKA)
  • ความผิดปกติของเกลือแร่ (โซเดียม, โพแทสเซียม) เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหากับหัวใจและระดับสารน้ำในร่างกาย

การดูแลตัวเองที่ดีก่อนเข้ารับการผ่าตัด 

ยิ่งคุณควบคุมโรคเบาหวานได้ดีเท่าไหร่ ก็จะทำให้คุณมีโอกาสผ่าตัดได้ผลดีขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะการควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่แพทย์แนะนำจัดเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก 

การดูแลตัวเองที่จะช่วยให้คุณเป็นผู้เข้ารับการผ่าตัดที่ดี และลดความเสี่ยงของการผ่าตัดในผู้ป่วยเบาหวาน มีดังนี้

1. ทำให้ร่างกายแข็งแรง 

จะช่วยให้คุณสามารถทนต่อการผ่าตัดและการฟื้นฟูร่างกายได้เช่นกัน หากคุณไม่ได้กำลังออกกำลังกายอยู่แต่สามารถทำได้ คุณควรเริ่มโปรแกรมออกกำลังกาย หลังจากการตรวจกับแพทย์เรียบร้อยแล้ว

2. อย่าเครียดเรื่องการผ่าตัดมากเกินไป 

หากคุณรู้สึกกังวลบทความการจัดการกับความกลัวและความกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัดอาจช่วยคุณได้ สิ่งสำคัญคือทำให้ระดับความเครียดอยู่ในระดับต่ำที่สุดเนื่องจากความเครียดทั้งทางกาย (การผ่าตัด) และทางอารมณ์ (ความกังวล วิตก) จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

3. ให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

การที่ร่างกายมีสารอาหารที่จำเป็น รวมถึงโปรตีนที่คุณภาพดีอยู่ในระดับที่สูงก็เป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากโปรตีนเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระบวนการหายของแผลต่อไปนี้ 

  • ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น 
  • เนื้อเยื่อบริเวณผ่าตัดแข็งแรงขึ้น 
  • เพิ่มความสามารถในการทนของร่างกายต่อการผ่าตัด

4. เลิกดื่มสุรา หรือสูบบุหรี่ 

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดถือเป็นโอกาสให้คุณเลิกพฤติกรรมเหล่านั้น การเลิกแอลกอฮอล์จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น และการเลิกบุหรี่จะช่วยให้คุณกลับมาหายใจโดยไม่ต้องใช้ออกซิเจน หรือเครื่องช่วยหายใจได้เร็วขึ้น

การควบคุมโรคเบาหวานระหว่างนอนโรงพยาบาล 

วิธีการควบคุมเบาหวานที่บ้านของคุณอาจแตกต่างกับการควบคุมเบาหวานที่โรงพยาบาลโดยสิ้นเชิง เช่น ใช้ Regular insulin ทางเส้นเลือดดำมากกว่าอินซูลินรูปแบบอื่น แพทย์ส่วนใหญ่โดยเฉพาะช่วงเวลารอบการผ่าตัด มักจะไม่ต้องการใช้ยากิน หรืออินซูลินที่ออกฤทธิ์ระยะยาว 

Regular insulin จะทำงานภายในช่วงเวลาสั้น ๆ ทำให้แพทย์สามารถทำความเข้าใจกับระดับน้ำตาลในเลือดของคุณได้ง่ายขึ้น และทำให้สามารถรักษาระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นหรือต่ำลงได้ทันที ในบางกรณีอาจมีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทุก 2 ชั่วโมงและให้ยาตามความต้องการของร่างกาย

ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณระหว่างอยู่โรงพยาบาลอาจต้องควบคุมให้อยู่ในช่วงที่แคบกว่าปกติ เพราะการคุมระดับน้ำตาลให้ดีจะทำให้แผลหายได้เร็วขึ้น หากคุณต้องรับประทานอาหารของโรงพยาบาล คุณจะได้รับอาหารสูตรสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยเฉพาะ

หากคุณเข้ารับการผ่าตัดแบบไปเช้าเย็นกลับ หรือให้มาทำการผ่าตัดในตอนเช้า ควรนำเครื่องตรวจระดับน้ำตาลของคุณมาด้วย เพราะหากมีการเลื่อนการผ่าตัด คุณจะยังสามารถตรวจวัดระดับน้ำตาลและแจ้งแพทย์ได้ตามความเหมาะสม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คำถามสำคัญที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องถามศัลยแพทย์

คำถามที่คุณควรถามศัลยแพทย์เกี่ยวกับโรคเบาหวาน

  • ใครจะเป็นคนจัดการเรื่องการควบคุมระดับน้ำตาลของคุณระหว่างอยู่โรงพยาบาล ระหว่างศัลยแพทย์ อายุรแพทย์ต่อมไร้ท่อ หรือแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
  • ใครจะเป็นคนจัดการเรื่องโรคเบาหวานระหว่างการผ่าตัด (คำตอบที่บอกว่ามันไม่ใช่เรื่องจำเป็น ถือเป็นคำตอบที่ใช้ไม่ได้ ยกเว้นว่าการผ่าตัดของคุณจะสั้นมาก) ระหว่างการผ่าตัด วิสัญญีแพทย์จะเป็นคนให้อินซูลิน หรือน้ำตาลตามต้องการเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตามที่ศัลยแพทย์ต้องการ
  • ต้องฉีดอินซูลินในเช้าก่อนวันผ่าตัดหรือไม่
  • ต้องฉีดอินซูลินตอนกลางคืนหรือไม่
  • ต้องทำอย่างไร หากระดับน้ำตาลตอนเช้าสูง หรือต่ำในเช้าของวันผ่าตัด
  • อาหารที่สามารถรับประทานได้มื้อสุดท้ายก่อนผ่าตัด คือเมื่อไหร่

อาการโรคเบาหวานหลังการผ่าตัด

หลังการผ่าตัด ร่างกายจะยังต้องการสารอาหารที่เป็นประโยชน์และการคุมน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สารอาหารจะเป็นส่วนประกอบของการหายของแผล และระดับน้ำตาลปกติที่จะช่วยให้ร่างกายกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้น สามารถลดระยะเวลาการฟื้นตัวของร่างกายได้หลายวัน หรือหลายสัปดาห์ได้ เมื่อเทียบกับคนที่มีระดับน้ำตาลสูง

เมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้นและคุณเข้าสู่ช่วงระยะพักฟื้น คุณจะต้องมองหาอาการแสดงของการติดเชื้อในแผลที่กำลังหายเพิ่มเติมจากการตรวจตามปกติ (เช่น ตรวจเท้า) หากคุณมีความผิดปกติของเส้นประสาท คุณอาจไม่รู้สึกเจ็บ จนกระทั่งมีการติดเชื้อเกิดขึ้นไปแล้ว คุณอาจอยากวัดอุณหภูมิร่างกายบ่อย ๆ เพื่อช่วยตรวจหาการติดเชื้อด้วย

อาการของการติดเชื้อที่แผลประกอบด้วย

  • มีหนองหรือกลิ่นเหม็น
  • มีไข้สูงกว่า 101 องศาฟาเรนไฮต์
  • รู้สึกร้อนที่แผล หรือแผลบวมแดง
  • ปวดรอบ ๆ แผลมากขึ้นแทนที่จะลดลง
  • บริเวณผ่าตัดบวมหรือแข็งขึ้น

เพื่อให้การผ่าตัดประสบความสำเร็จ และร่างกายเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือติดเชื้อน้อยที่สุด การดูแลอาการของตนเองทั้งก่อนและหลังผ่าตัดจึงเป็นสิ่งสำคัญ เตรียมร่างกายของคุณให้พร้อม ปรึกษากับแพทย์ประจำตัวเพื่อให้ร่างกายของคุณพร้อมสำหรับการผ่าตัดมากที่สุด และหลังการผ่าตัด 

คุณอาจให้คนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิดเข้ามาช่วยเหลือระหว่างพักฟื้นผ่าตัด เพื่อสังเกตอาการระหว่างพักฟื้น การติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น เพื่อดูแลตนเองได้เท่าทัน 


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Preparing for surgery when you have diabetes. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000702.htm)
Risks and Precautions of Surgery If You Have Diabetes. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/risk-of-surgery-for-diabetics-3157017)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)