โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 30 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?

Hypertension หรือที่รู้จักกันในชื่อของภาวะความดันโลหิตสูง มักเกิดขึ้นกับคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 1 และโรคเบาหวานประเภท 2 ซึ่งการเป็นโรคดังกล่าวพร้อมกันจะยิ่งทำให้อาการแย่ลง แต่ก่อนที่เราจะไปดูความสัมพันธ์ของโรคดังกล่าว เราลองมาทำความรู้จักกับโรคความดันโลหิตสูงก่อนค่ะ

โรคความดันโลหิตสูงคืออะไร?

โรคความดันโลหิตสูงมักไม่แสดงสัญญาณใดๆ ออกมาให้เรารู้ และมีหลายคนที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคดังกล่าว หากความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 คุณจำเป็นต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะถ้ามันเกิดพร้อมกับโรคเบาหวาน ทั้งนี้การมีความดันโลหิตสูงทำให้เรามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองและภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สำหรับหน่วยวัดความดันโลหิตคือ มิลลิเมตรปรอท (mmHg) และเราสามารถประเมินโดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิต ซึ่งผลที่ออกมาจะมีสองค่า เลขด้านหน้าหมายถึงความดันซิสโตลิก (Systolic Blood Pressure) หรือระดับของความดันเลือดที่สูงที่สุดในระหว่างที่หัวใจเต้น ส่วนเลขด้านท้ายหมายถึงความดันไดแอสโตลิค (Diastolic Blood Pressure) ซึ่งเป็นระดับของความดันที่ต่ำที่สุดในระหว่างที่หัวใจเต้น สำหรับความดันที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 119/79 ถือว่าปกติ หากความดันซิสโตลิกมีค่าระหว่าง 120-139 mmHg และมีความดันไดแอสโตลิค 80-89 mmHg มันก็หมายความว่าคุณมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูง

อย่างไรก็ตาม เราสามารถควบคุมโรคความดันโลหิตสูงด้วยการนำนิสัยที่ดีต่อสุขภาพมาปรับใช้ ซึ่งประกอบไปด้วยการออกกำลังกาย การทานอาหารที่มีไขมันและโซเดียมต่ำ หรือการทานยาเพื่อลดความดันโลหิต

โรคเบาหวานคืออะไร?

โรคเบาหวานเกิดขึ้นเมื่อน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น เพราะร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อระดับของอินซูลินในเลือดมีปัญหา ทั้งนี้โรคเบาหวานมี 2 ประเภท คือ โรคเบาหวานประเภท 1 และโรคเบาหวานประเภท 2

จากข้อมูลของ American Diabetes Association (ADA) มีการระบุว่า โรคเบาหวานประเภท 1 คิดเป็นประมาณ 5% ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ สำหรับอาการของโรคเบาหวานประเภท 1 คือ กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย มองเห็นไม่ชัด และเจริญอาหารมากขึ้น

ในขณะที่โรคเบาหวานประเภท 2 คิดเป็นอย่างน้อย 90% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคคือ ประวัติของคนในครอบครัว การเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ความทนทานต่อน้ำตาลลดลง การไม่ออกกำลังกาย หรือการมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท 2 มีความคล้ายคลึงกับคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 1 แต่ผู้ป่วยบางคนอาจไม่มีอาการจนกว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะไปถึงระดับที่ทำให้เกิดอันตราย สำหรับวิธีการรักษาโรคเบาหวานประเภท 2 คือ การปรับเปลี่ยนการทานอาหาร การออกกำลังกายเพิ่มขึ้น การหมั่นตรวจน้ำตาลในเลือด การทานยา หรือการฉีดอินซูลิน

ความเชื่อมโยง

มีงานวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท 1 อย่างน้อย 1 ใน 3 เป็นโรคความดันโลหิตสูง เมื่อโรคดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมกัน ผลของโรคหนึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้อาการของอีกโรคแย่ลง ซึ่งโรคเบาหวานทำให้เกิดสามสิ่งนี้ที่อาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ลดความสามารถในการขยายตัวของหลอดเลือด
  • เพิ่มปริมาณของๆ เหลวในร่างกาย
  • ทำให้ร่างกายจัดการกับอินซูลินได้ไม่เหมือนเดิม

อย่างไรก็ตาม โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมักเกิดขึ้นพร้อมกัน เพราะโรคเหล่านี้มีปัจจัยเสี่ยงเหมือนกัน เช่น การมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน การทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และการใช้ชีวิตแบบที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย

ปัจจัยเสี่ยง

การเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานพร้อมกันสามารถทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต และยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้มันยังทำให้คุณมีโอกาสเป็นโรคไตและมีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดในดวงตาเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถทำให้ถึงขั้นตาบอด

อย่างไรก็ดี การสูบบุหรี่จะทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น และโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ไม่เพียงแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคความดันโลหิตสูงเท่านั้น แต่ความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมองจะยิ่งมีมากขึ้นถ้ามีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น การมีคนในครอบครัวที่เคยเป็นโรคหัวใจ ความเครียด การทานอาหารที่มีไขมันหรือโซเดียมสูง ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย อายุที่มากขึ้น การมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การมีระดับของโพแทสเซียมหรือวิตามินดีต่ำ การเป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคหยุดหายใจขณะหลับ โรคไต หรือโรคข้ออักเสบ ฯลฯ

การป้องกัน

  • ลดน้ำหนัก: การลดน้ำหนักเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ ซึ่ง The National Heart Lung and Blood Institute (NHLBI) ชี้ให้เห็นว่า การลดน้ำหนัก 10 ปอนด์ สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้
  • ออกกำลังกาย: คนที่เป็นทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ โดยทำครั้งละอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
  • เลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ: คนที่เป็นโรคเบาหวานควรติดตามการทานอาหารของตัวเองอย่างใกล้ชิดเพื่อควบคุมระดับของน้ำตาล รวมถึงจำกัดการใช้เกลือในการทำอาหาร เพื่อช่วยรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณปานกลาง: การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สามารถช่วยควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีข้อมูลจาก National Institute on Alcohol Abuse and Alcoholism ระบุว่า ผู้หญิงไม่ควรดื่มเครื่องดื่มประเภทนี้เกินวันละ 3 แก้ว หรือมากกว่า 7 แก้วต่อสัปดาห์ ในขณะที่ผู้ชายไม่ควรดื่มเกินวันละ 4 แก้วต่อวัน หรือไม่เกินกว่า 14 แก้วต่อสัปดาห์
  • ไม่สูบบุหรี่: นิโคตินในบุหรี่ทำให้ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง

ที่มา: https://www.medicalnewstoday.c...317220.php?sr


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Diabetes & High Blood Pressure: Managing Diabetic Hypertension. WebMD. (https://www.webmd.com/diabetes/high-blood-pressure)
The Relationship Between Type 2 Diabetes and High Blood Pressure. Healthline. (https://www.healthline.com/health/type-2-diabetes/hypertension)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)