พญ. สุชาดา สมศักดิ์ แพทย์เวชกรรมทั่วไป
เขียนโดย
พญ. สุชาดา สมศักดิ์ แพทย์เวชกรรมทั่วไป
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ผื่นคัน ผิวเกิดผื่นแดง (Dermatitis) ในช่วงสงกรานต์

สาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน และวิธีรักษาผิวเกิดผื่นแดง ปัญหาผิวที่พบได้บ่อยเมื่อสัมผัสกับสารที่ไม่คุ้นเคย
เผยแพร่ครั้งแรก 22 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 2 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ผื่นคัน ผิวเกิดผื่นแดง (Dermatitis) ในช่วงสงกรานต์

ผิวเกิดผื่นแดง ผื่นคัน เป็นปัญหาผิวที่พบได้บ่อยเมื่อไปสัมผัสกับสารที่ไม่คุ้นเคย ซึ่งผู้ป่วยควรสังเกตตัวเองว่าสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการได้แก่อะไรบ้าง เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้น ไม่ให้อาการลุกลามรุนแรงขึ้น

สาเหตุของผื่นคัน

ผื่นแดง เกิดจากการอักเสบของผิวหนังทั้งในชั้นหนังแท้และหนังกำพร้า สารที่มีความสําคัญได้แก่ ฮิสตามีน (Histamine) และสารโปรตีนอื่นๆ จากเม็ดเลือดขาว สารเหล่านี้จะไปทำให้เกิดการรวมตัวของเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (Lymphocytes) ทำให้เกิดการขยายตัวของเส้นเลือด และบวมน้ำขึ้นจนเป็นผื่นคัน แดงในที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการผื่นคัน

  • มีผื่นคัน ผื่นแดง บริเวณผิวหนังภายหลังการสัมผัสสาร ซึ่งสารนั้นๆ อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง เช่น กรดด่างต่างๆ หรือสารอาจกระตุ้นให้เกิดกลไกการแพ้ในปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน เช่น การแพ้โลหะ เครื่องสําอาง ยาง เป็นต้น โดยส่วนใหญ่มักมีอาการภายใน 24 ชั่วโมงหลังสัมผัสสารเคมีหรือสิ่งแปลกปลอม
  • มีผื่นคัน ผื่นแดง เกิดจากการถูกกระตุ้นจากภายในร่างกาย ด้วยการมีเหงื่อออกมาก พันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ซึ่งมีผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย

การป้องกันผื่นคัน

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ หลีกเลี่ยง เพื่อไม่ให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ที่รุนแรง ในผู้ป่วยบางคน อาจทำให้มีผลต่อระบบทางเดินหายใจและเสียชีวิตได้
  • ทำร่างกายให้แข็งแรง โดยออกกำลังกาย รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ รับวัคซีนครบตามกำหนด เนื่องจากผื่นแดงบางครั้งอาจเกิดจากการติดเชื้อ หรือระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติ

การรักษาผื่นคัน

  • หยุดสัมผัสสารที่ทำให้เกิดผื่นแดง หรือสงสัยว่าทำให้เกิดอาการ เพื่อลดปฏิกิริยาอาการแพ้
  • รักษาด้วยยาแก้แพ้ต้านฮิสตามีน (Anti-Histamine) เช่น คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine)
  • ไปพบแพทย์ เพื่อรับการซักประวัติและตรวจรอยโรคของผื่นคัน และวินิจฉัยเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
อภิชาติ ศิวยาธร, โรคผิวหนังต้องรู้สำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป พิมพ์ครั้งที่ 5, สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.
ปรียากุลละวณิชย์, ประวิตร พิศาลยบุตร, Dermatology 2020:ชื่อบท. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: โฮลิสติก, 2555.
WebMD Medical Reference Reviewed by Stephanie S. Gardner, MD, Understanding Dermatitis -- Prevention (http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/understanding-dermatitis-prevention), 15 July 2017.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป