Dermatitis herpetiformis

เผยแพร่ครั้งแรก 3 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
Dermatitis herpetiformis

Dermatitis herpetiformis (DH) คือภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเองบนผิวหนังที่เชื่อมโยงกับโรคแพ้กลูเตน

มีกี่คนที่เป็นภาวะ DH บ้าง?

จำนวนผู้ป่วย DH มีน้อยกว่าผู้ป่วยโรคแพ้กลูเตน หรือประมาณ 1 คนจาก 10,000 คน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

DH สามารถเกิดกับมนุษย์ได้ทุกช่วงวัย แต่มักจะวินิจฉัยพบระหว่างช่วงอายุ 15 ถึง 40 ปีมากที่สุด พบในผู้ชายได้มากกว่าผู้หญิง และหายากในเด็ก

อาการของ DH

ผู้ป่วย DH จะมีอาการดังนี้

ผิวหนังแดง เป็นปื้นที่มักมีตุ่มหนองที่จะแตกออกเมื่อถูกเกา

อาการคันรุนแรง

มีผื่นขึ้น ณ ตำแหน่งใดก็ได้บนร่างกาย ซึ่งพบได้มากบนข้อศอก ข้อเข่า บั้นท้าย ผื่นมักจะเกิดขึ้นกับร่างกายทั้งสองด้าน เช่นบนข้อศอกทั้งสองข้าง

กลุ่มอาการที่ลำไส้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผู้ป่วย DH จะมีความเสียหายเกิดขึ้นที่ลำไส้เหมือนกับที่เห็นได้กับผู้ที่ป่วยเป็นโรคแพ้กลูเตน แต่ก็อาจไม่บอกถึงอาการของกลุ่มอาการที่ลำไส้ เช่น:

สาเหตุของ DH

DH เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อโปรตีนที่เรียกว่ากลูเตนที่อยู่ในอาหารจำพวกข้าวสาลี ข้าวไร และข้าวบาร์เล่ห์ จนทำให้เกิดผื่นขึ้นบนผิวหนัง

การวินิจฉัย DH

การวินิจฉัยหาภาวะ DH นั้นจะทำได้ด้วยการทดสอบผิวหนังที่เรียกว่าการตัดชิ้นเนื้อจากผิวหนัง ซึ่งเป็นกระบวนการนำตัวอย่างผิวหนังออกไปทดสอบ

มีกระบวนการอะไรเกี่ยวข้องกับการตัดชิ้นเนื้อผิวหนังบ้าง?

ระหว่างการทดสอบ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังจะนำตัวอย่างผิวหนังบริเวณที่ไม่มีผื่นออกมา เนื่องจากการนำผิวหนังที่มีผื่นไปตรวจมักจะไม่ให้ผลลัพธ์ที่เถรตรงเสมอไป

ตัวอย่างผิวหนังจะถูกทดสอบ และหากผล DH ออกมาเป็นบวก คุณจะถูกส่งตัวไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านลำไส้เพื่อทำการทดสอบโรคแพ้กลูเตนต่อ

การทานอาหารก่อนและระหว่างการวินิจฉัย

เพื่อให้ผลการทดสอบถูกต้องแม่นยำที่สุด คุณต้องเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกลูเตนเป็นส่วนประกอบก่อนเข้ารับการวินิจฉัย หากคุณเลี่ยงการทานกลูเตนอยู่แล้ว คุณต้องทานอาหารที่มีกลูเตนเข้าไปมากกว่าหนึ่งมื้อทุกวันเป็นเวลาหกสัปดาห์ก่อนเข้ารับการทดสอบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การรักษา DH

การรักษา DH คือการที่คุณต้องรับประทานอาหารปราศจากกลูเตนไปตลอดชีวิต

อาหารปราศจากกลูเตน

อาหารที่ไม่มีกลูเตนก็คืออาหารที่ทำการกำจัดกลูเตนออกทั้งหมด โดยกลูเตนจะอยู่ในข้าวสาลี ข้าวบาร์เล่ห์ และข้าวไร บางคนอาจจะอ่อนไหวต่อข้าวโอ็ตเช่นกัน คุณควรเริ่มรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตนหลังจากที่แพทย์ยืนยันการวินิจฉัยว่าคุณมีภาวะ DH จริง

การรักษานี้ต้องใช้ระยะเวลาเพียงใดถึงจะได้ผล?

ระยะเวลาที่ผิวหนังจะฟื้นตัวกลับมาจะแตกต่างกันไปตามบุคคล ซึ่งอาจใช้เวลาตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป

การใช้ยาระหว่างการรักษา

ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับยามาช่วยเร่งกระบวนการฟื้นตัว ซึ่งการใช้ยาจะมีไว้เพื่อควบคุมอาการคันและตุ่มหนองบนผิวหนัง แต่ไม่ได้มีไว้รักษาอาการนอกเหนือจากนี้

ยาที่ใช้ส่วนมากคือยาแดพโซน

แดพโซน

ยาแดพโซนเป็นยาเม็ดที่ต้องใช้วิธีกลืนเข้าไป

ยามีฤทธิ์บรรเทาอาการคันและควบคุมการเกิดตุ่มหนองบนผิวหนัง ซึ่งควรจะออกฤทธิ์ภายในเวลาไม่กี่วัน

หากคุณหยุดใช้ยาตัวนี้ก่อนที่การรับประทานอาหารปราศจากกลูเตนจะแสดงผล คุณจะมีอาการผื่นกลับมา

ผลข้างเคียงของยาแดพโซน

ผลข้างเคียงจากยาแดพโซนที่เกิดขึ้นบ่อยคือโลหิตจาง

ส่วนผลข้างเคียงที่พบได้ไม่บ่อยนักคืออาการปวดศีรษะและภาวะซึมเศร้า ส่วนผลที่ทำให้เส้นประสาทเสียหายนั้นจัดว่าหายากมาก

เนื่องด้วยผลข้างเคียงข้างต้น คุณจะได้รับยาในขนาดที่ต่ำที่สุดเพื่อให้ออกฤทธิ์น้อยแต่ออกฤทธิ์พอจะควบคุมอาการไว้ ซึ่งแพทย์จะคอยจับตาดูภาวะ DH ของคุณเมื่อมีการปรับขนาดยาลงตลอด

วิธีรักษาอื่นนอกจากยาแดพโซน

สำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ยาแดพโซนได้เนื่องจากรับมือผลข้างเคียงของยาแม้จะใช้โดสต่ำที่สุดไม่ได้ แพทย์จะเปลี่ยนไปใช้ยาเหล่านี้เพื่อกำจัดอาการผื่นแทน: ซัลฟาไพริดิน ซัลฟาเมโทไซไพริดาซิน

ภาวะแทรกซ้อนของ DH

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับผู้ป่วย DH จะมีความคล้ายคลึงกับผู้ป่วยโรคแพ้กลูเตน ดังนี้: กระดูกพรุน มะเร็งลำไส้บางประเภท มีความเสี่ยงต่อโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองเพิ่มขึ้น อย่างเช่นเบาหวานประเภทที่ 1 และโรคไทรอยด์

และเช่นเดียวกับโรคแพ้กลูเตน ความเสี่ยงจะเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้จะลดลงเมื่อใช้วิธีการงดอาหารที่มีกลูเตน

 


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Dermatitis Herpetiformis (Celiac Disease Rash) Photos. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/dermatitis-herpetiformis-photos-562325)
Dermatitis herpetiformis: Causes, treatment, and pictures. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324394)
The diagnosis and treatment of dermatitis herpetiformis. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4435051/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)