กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาการแบบนี้เป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่? มาทำความรู้จักโรคซึมเศร้าให้มากขึ้น

โรคซึมเศร้าคืออะไร มีปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดโรคนี้ สัญญาณไหนบอกว่าคุณอาจเป็นโรคซึมเศร้า และวิธีรักษามีอะไรบ้าง?
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ธ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 29 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
อาการแบบนี้เป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่? มาทำความรู้จักโรคซึมเศร้าให้มากขึ้น

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะเกิดความรู้สึกทางลบอย่างรุนแรง และไม่สามารถจัดการกับภาวะอารมณ์เหล่านี้ได้ จนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
  • นอกจากภาวะอารมณ์ที่ผิดปกติ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีอาการทางกายอื่นๆ เกิดขึ้นด้วย เช่น นอนไม่หลับ อยากอาหารมาก หรือไม่อยากอาหาร ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆ
  • โรคซึมเศร้าสามารถส่งต่อได้ทางพันธุกรรม และเกิดได้จากสภาพแวดล้อมรอบตัวที่ไม่เหมาะสมด้วย เช่น การถูกละเลย ได้รับการดูถูกจนไม่เห็นคุณค่าของตนเอง ถูกทำร้ายร่างกาย หรือล่วงละเมิดทางเพศ
  • โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ด้วยการใช้ยาต้านเศร้า ร่วมกับการพูดคุยกับนักจิตบำบัด หรือจิตแพทย์ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และความคิดของผู้ป่วย
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต

ทุกคนน่าจะเคยผ่านประสบการณ์ความเศร้า ความสูญเสีย บางครั้งช่วงเวลาเหล่านั้นกินเวลายาวนาน และความรู้สึกก็รุนแรง จนบางคนอาจเคยสงสัยว่าที่ตัวเองเป็นอยู่นี้เป็นความเศร้าเสียใจธรรมดา หรือเป็นโรคซึมเศร้ากันแน่

แม้จะมีการเผยแพร่ความรู้ในวงกว้างว่า หากรู้สึกทางลบและต้องการคำปรึกษาหรือวิธีแก้ไขที่ถูกต้อง ให้ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา แต่สำหรับบางคน การไปพบผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นถือเป็นเรื่องใหญ่ จึงต้องการหาข้อมูลให้แน่ใจเสียก่อนที่จะตัดสินใจไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

บทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าและการรักษา เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ

โรคซึมเศร้าคืออะไร?

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ผู้ป่วยจะเกิดความรู้สึกทางลบ เช่น รู้สึกเศร้า หมดแรง หรือเครียด จนส่งผลในทางที่ไม่ดีกับอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม แล้วทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เช่น 

  • อารมณ์แปรปรวนบ่อย 
  • หมดความสนใจในกิจกรรมที่ตนเองชอบทำ
  • ปลีกตัวจากสังคม
  • มีความคิดในแง่ลบ รู้สึกว่า ตนเองไม่มีค่า 
  • รับประทานาอาหารได้น้อยลง หรืออยากอาหารมากกว่าปกติ
  • นอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิท

อย่างไรก็ตาม โรคซึมเศร้าเป็นเพียงความเจ็บป่วยทางจิตใจอย่างหนึ่งเท่านั้น ที่สามารถรักษาเยียวยาให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติได้ไม่ต่างกับความเจ็บป่วยทางกาย

โรคซึมเศร้าต่างจากอารมณ์เศร้าโดยทั่วไปอย่างไร?

การพบเจอเหตุการณ์สูญเสียในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการตกงาน สูญเสียคนรัก หรือมีปัญหาความสัมพันธ์ ต่างก็นำมาสู่ความรู้สึกเศร้า แต่ความเศร้าที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์เหล่านี้มีความแตกต่างกับโรคซึมเศร้า

ความเศร้าที่เกิดจากการสูญเสียเป็นกระบวนการตามธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งจะมีระยะเวลาของความเสียใจสั้นยาวแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล 

แต่โรคซึมเศร้านั้น เมื่อรู้สึกเสียใจ ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกโศกเศร้าที่เข้มข้นกว่า และจมอยู่กับความรู้สึกนั้นจนไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่เป็นปกติของตนเองได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากสงสัยว่าตอนนี้ตนเองแค่อยู่ในอาการเศร้า หรือเป็นโรคซึมเศร้ากันแน่ ลองสังเกตตนเองว่ามีอาการดังนี้หรือไม่

  • เมื่อเกิดความสูญเสีย คุณมีความรู้สึกจมดิ่งกับความรู้สึกเศร้า หมดความสนใจในกิจกรรมที่ตนเองชอบเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 2 สัปดาห์
  • คุณรู้สึกหมดคุณค่า รู้สึกไม่ภูมิใจ ไม่ชอบตนเอง หรือรู้สึกไม่เคารพตนเองอย่างรุนแรง

หากคุณกำลังเผชิญอยู่กับทั้งสองข้อนี้ นี่เป็นหนึ่งในสัญญาณของโรคซึมเศร้า

อาการของโรคซึมเศร้า

นอกจากอาการที่กล่าวไปข้างต้นในส่วนของความหมายโรคซึมเศร้า ยังมีอาการอื่นๆ ของโรคนี้ที่คุณสามารถสังเกตได้อีก โดยผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีอาการด้านล่างนี้ติดต่อกันยาวนานเป็นระยะเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ (แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นครบทุกอาการ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล) ดังนี้

  • รู้สึกว่างเปล่า เครียด หรือเศร้า
  • รู้สึกสิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย
  • รู้สึกสับสน รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า ไร้ทางสู้และรู้สึกว่าไม่มีใครช่วยเราได้
  • หมดความรู้สึกสนุกหรือสนใจในกิจกรรมที่ตนเองชอบ
  • ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้นาน หลงลืมบ่อยขึ้น และมีปัญหาด้านการตัดสินใจ
  • นอนหลับยาก นอนน้อย หรือนอนมากเกินไป
  • กินอาหารมาก หรือน้อยเกินไปกว่าปกติ
  • น้ำหนักขึ้นหรือลดลงผิดปกติ
  • รู้สึกกระสับกระส่าย
  • มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย หรือมีความคิดเกี่ยวกับการตายขึ้นมาในหัวบ่อย ๆ
  • แยกตัวออกมาจากสังคม ครอบครัวหรือเพื่อน
  • รู้สึกหมดแรง ไม่อยากทำอะไร

ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า?

ไม่ใช่แค่ประสบการณ์ที่ไม่ดีเท่านั้น แค่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าด้วย ปัจจัยต่อไปนี้ก็สามารถก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน

  • สารเคมีในสมอง หากสารเคมีบางอย่างในสมองเกิดความผิดปกติ อาจนำมาสู่อาการของโรคซึมเศร้าได้
  • พันธุกรรม โรคซึมเศร้าสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หากคุณมีผู้ใกล้ชิดทางสายเลือด เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง ที่เป็นโรคซึมเศร้า ก็มีความเสี่ยงที่คุณจะเป็นโรคซึมเศร้าเช่นกัน
  • บุคลิกภาพ ผู้ที่เห็นคุณค่าในตนเองต่ำ หรือมองโลกในแง่ร้าย มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ที่มีบุคลิกภาพอื่น
  • สภาพแวดล้อม ผู้ที่อยู่ในสภาพสังคมที่ใช้ความรุนแรง ถูกละเลยและใช้สารเสพติด อาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้

โรคซึมเศร้ารักษาได้ไหม ทำได้อย่างไรได้บ้าง?

ก่อนอื่น ผู้ที่เข้ารับการรักษาต้องผ่านการประเมินและวิเคราะห์อาการจากนักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์เสียก่อน เพื่อดูว่ามีอาการอย่างไร มีประวัติการเข้ารักษามาก่อนหรือไม่ กำลังใช้ยาอะไรอยู่

จะมีการถามถึงความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว เพื่อน หรือคนรัก รวมไปถึงสภาพสังคมที่ผู้เป็นซึมเศร้าอาศัยอยู่ เพื่อที่จะได้วางแผนการรักษาได้ถูกต้อง ซึ่งการประเมินนี้อาจทำโดยการสัมภาษณ์ หรือทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การรักษาโดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 วิธี ได้แก่ การรักษาโดยใช้ยา กับ การบำบัดด้วยการพูดคุยกับนักจิตวิทยาการปรึกษา ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับการรักษาอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์

การรักษาโรคซึมเศร้าโดยใช้ยา

การรักษาโดยใช้ยา จะทำเพื่อให้ยาทำการปรับสารเคมีบางอย่างในสมอง ยานั้นเรียกว่า “ยาต้านเศร้า” (Antidepressants) ซึ่งไม่ใช่ยากระตุ้นประสาท ยาที่ทำให้สงบลง หรือยานอนหลับ และไม่มีผลกับผู้ที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า

ผลจากการใช้ยาต้านเศร้าจะเริ่มเห็นได้ชัดเมื่อรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ขึ้นไป ดังนั้นหากรักษาด้วยการใช้ยาผู้ป่วยจะต้องใจเย็นและเข้าใจถึงระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยาว่า ยานี้จะไม่ได้ช่วยให้เห็นผลในทันที แต่จะช่วยให้ดีขึ้นในระยะยาว

ทั้งนี้การรักษาด้วยยาจะต้องรับประทานติดต่อกัน 6 เดือนขึ้นไป หลังจากที่อาการดีขึ้นแล้ว เพื่อให้การรักษานั้นอยู่ตัว และลดความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นอีกในอนาคต

ผู้ที่ป่วยในระดับที่ไม่รุนแรงมากไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีนี้

การรักษาโรคซึมเศร้าโดยการพูดคุยกับนักจิตบำบัด

การรักษาโดยวิธีนี้จะเป็นการพูดคุย และเข้ารับการปรึกษากับนักจิตวิทยา ผู้ที่เข้ารับการรักษากับนักจิตบำบัดนั้น ส่วนมากจะเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการไม่รุนแรงมาก

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจต้องมีการรักษาวิธีนี้ควบคู่ไปกับการรับประทานยาต้านเศร้า

การรักษาด้วยการพูดคุยไม่ใช่การที่นักจิตวิทยาจะเป็นคนบอกว่า ทางออกของปัญหาคืออะไร แต่นักจิตวิทยาจะเป็นผู้ช่วยให้ผู้เป็นซึมเศร้าค้นพบทางออกด้วยตัวเอง รวมถึงสามารถจดจ่ออยู่กับปัจจุบัน รู้วิธีจัดการกับความคิดทางลบ และปรับพฤติกรรม ความคิด ที่ผู้เป็นซึมเศร้าต้องการเปลี่ยน

การรักษาด้วยการปรึกษาพูดคุย ไม่ได้มีแค่แบบพูดคุยตัวต่อตัวเท่านั้น แต่มีการพูดคุยปรึกษาเป็นแบบกลุ่มด้วย เช่น คู่รัก หรือครอบครัว

ในบางครั้ง การบำบัดโรคซึมเศร้า นักจิตวิทยาอาจแนะนำให้มีการปรึกษาเป็นกลุ่ม เพื่อที่จะช่วยให้คนรอบข้าง และผู้เป็นซึมเศร้าเกิดความเข้าใจในกัน และกันมากขึ้น เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีแก่ผู้เป็นโรคซึมเศร้าในระยะยาว

และนอกจากการรักษาโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยก็ควรไปเข้ารับการตรวจสุขภาพด้วย เพราะหลายครั้ง ด้วยพฤติกรรมที่ละเลยการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลายราย จึงทำให้สุขภาพทรุดโทรม และเสี่ยงเกิดอาการเจ็บป่วยได้

หากเป็นโรคซึมเศร้าจะดูแลตัวเองอย่างไรได้บ้าง

หากได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นซึมเศร้า ควรดูแลตัวเองตามแนวทางต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติด เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลให้อาการแย่ลง และถ้าหากเป็นผู้รับการรักษาโรคซึมเศร้าด้วยวิธีรับประทานยา สิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อการดูดซึม และออกฤทธิ์ของยา
  • พักผ่อนให้เพียงพอ การอดนอน หรือนอนนานเกินไป มีผลต่อสมาธิของผู้เป็นโรคซึมเศร้าได้
  • ออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายหลังสารแห่งความสุขออกมา และผู้ป่วยจะรู้สึกดีกับตนเองมากขึ้น การตั้งเป้าหมายเล็กๆ ในการออกกำลังกาย และสามารถทำได้สำเร็จ จะช่วยให้ผู้เป็นโรคซึมเศร้าเห็นคุณค่าในตนเองมากขึ้นได้ด้วย
  • พยายามพาตัวเองไปอยู่ในสังคมที่ดี อยู่ในสังคมที่ให้การสนับสนุน และส่งเสริมให้มีความสุข

หลายคนอาจมองว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเป็นคนเรียกร้องความสนใจ อ่อนแอ และมีแต่จะสร้างปัญหา ความรำคาญใจให้กับคนรอบข้าง แต่ความจริงแล้วไม่มีใครอยากป่วยเป็นโรคนี้ เพราะมีแต่สร้างความทรมานทางจิตใจ และร่างกาย รวมถึงไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติด้วย

ดังนั้นคุณจึงไม่ควรตัดสินผู้ป่วยโรคนี้ว่า เป็นตัวปัญหา อีกทั้งคุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนด้วยว่า ผู้ป่วยคนนั้นเคยเผชิญกับประสบการณ์แย่ๆ อะไรมาก่อน หากคุณมีคนใกล้ชิดที่มีอาการคล้ายกับเป็นผู้ป่วยโรคนี้ ควรอยู่เคียงข้างเขาโดยไม่ต้องตัดสินอะไร และแนะนำให้ไปพบจิตแพย์เพื่อรับการรักษาต่อไป

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
National Institute of Mental Health, Depression (https://www.nimh.nih.gov/health/topics/depression/index.shtml).
American Psychological Association, Depression (https://www.apa.org/topics/depression/).
American Psychiatric Association, Depression (https://www.psychiatry.org/patients-families/depression/what-is-depression), January 2017.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คืออะไร มีวิธีรับมืออย่างไร
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด คืออะไร มีวิธีรับมืออย่างไร

คุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ เสี่ยงเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอด สังเกตอาการ และเรียนรู้วิธีรับมืออย่างถูกวิธี

อ่านเพิ่ม