ตารางแสดงการคุมกำเนิดสำหรับผู้ทีมีอาการปวดศีรษะไมเกรน
เมื่อพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการเลือกวิธีคุมกำเนิด (Medical Eligibility Criteria for Contraceptive Use) ฉบับปรับปรุงปี 2017 ที่เผยแพร่โดยกองควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา (U.S. CDC) แนะนำการเลือกวิธีคุมกำเนิดสำหรับผู้ที่มีอาการปวดศีรษะทั้งจากไมเกรนและไม่ใช่ไมเกรน ดังนี้
ประเภท
แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท กด
|
ชนิดหุ้ม (Cu-IUD) | ห่วงอนามัย ชนิดเคลือบ
แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท กด
ฮอร์โมน (LNG-IUD) | ยาฝัง คุมกำเนิด (Implant) | ยาฉีด
แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท กด
คุมกำเนิด ชนิด 3 เดือน (DMPA) | ยาเม็ด สูตรฮอร์โมน (POP) | ยาคุมฮอร์โมน รวมทุกชนิด (CHC) |
อาการปวดศีรษะที่ไม่ใช่ไมเกรน (Non migraine) | 1 | 1 | 1 | 1 | 1 | 1* |
ไมเกรน ชนิดที่ไม่มีอาการเตือน (Migraine without aura) | 1 | 1 | 1 | 1 | 1 | 2* |
ไมเกรน ชนิดที่มีอาการเตือน (Migraine with aura) | 1 | 1 | 1 | 1 | 1 | 4* |
หมายเหตุ : ความหมายของการแบ่งประเภทการใช้ | ||
ประเภท | นิยาม | ข้อสรุป |
U.S. MEC 1 | ไม่มีข้อจำกัด (สามารถใช้วิธีนี้ได้) | ใช้ได้ ไม่มีข้อจำกัด |
U.S. MEC 2 | มีความเสี่ยงในทางทฤษฎี หรือผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีความเสี่ยง แต่โดยทั่วไป ถือว่าประโยชน์ที่จะได้รับมีเหนือกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น | ใช้ได้ แต่ควรมีการ ตรวจติดตามผล |
U.S. MEC 3 | มีความเสี่ยงในทางทฤษฎี หรือผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีความเสี่ยง และไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้ | ควรหลีกเลี่ยงการใช้ เว้นแต่ไม่มีทางเลือกอื่น |
U.S. MEC 4 | มีความเสี่ยงต่อสุขภาพซึ่งยอมรับไม่ได้ (ใช้วิธีนี้ไม่ได้) | ห้ามใช้โดยเด็ดขาด |
จะเห็นได้ว่าผู้ที่มีอาการปวดศีรษะอยู่บ่อยๆ หากไม่มั่นใจว่าเป็นอาการปวดศีรษะไมเกรนหรือไม่ การคุมกำเนิดด้วยวิธีที่ไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน ได้แก่ การใส่ห่วงอนามัย (ทั้งชนิดหุ้มทองแดง และชนิดเคลือบฮอร์โมน), ยาฝังคุมกำเนิด, ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดที่ฉีดทุก 3 เดือน และยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว จะมีความปลอดภัยมากกว่ายาคุมชนิดฮอร์โมนรวมซึ่งมีเอสโตรเจนเป็นส่วนประกอบ
สามารถใช้การคุมกำเนิดแบบอื่นได้อีกไหม?
สำหรับผู้ที่สนใจจะใช้ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม ได้แก่ ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม, แผ่นแปะคุมกำเนิด และยาฉีดคุมกำเนิดชนิดที่ฉีดทุก 1 เดือน หากมีอาการปวดศีรษะอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาการปวดศีรษะไมเกรน ก็สามารถใช้ได้ค่ะ แต่เนื่องจากผลข้างเคียงของฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้มีอาการปวดศีรษะได้เช่นกัน ดังนั้น หากใช้แล้วมีอาการปวดศีรษะบ่อยครั้งหรือรุนแรงมากขึ้น ก็คงต้องใช้ยาคุมสูตรที่มีปริมาณเอสโตรเจนน้อยลง หรือใช้ยาคุมชนิดที่ไม่มีเอสโตรเจนแทนนะคะ
แต่กับผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นอาการปวดศีรษะไมเกรน จะต้องพิจารณาก่อนว่าเป็นไมเกรนชนิดที่มีอาการเตือนหรือไม่ เนื่องจากไมเกรนชนิดนี้มีความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke) และการใช้ยาคุมที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนร่วมด้วยจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงดังกล่าวให้มากขึ้นค่ะ
อาการปวดศีรษะไมเกรน ชนิดที่มีอาการเตือน (Migraine with aura) จะพบความผิดปกติของการมองเห็นที่เกิดจากตาข้างใดข้างหนึ่ง ได้แก่ เห็นเป็นจุดเบลอเล็ก ๆ ที่ค่อย ๆ ขยายออกเมื่อเวลาผ่านไป ทำให้ภาพที่มองบิดเบี้ยวหรือมืดดับไปบางส่วน และส่วนรอบนอกของจุดเบลอจะเห็นเป็นแสงระยิบระยับ หรือเส้นสว่างที่เป็นรูปคลื่นหรือเส้นซิกแซก
ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไมเกรนชนิดนี้ มักพบว่ามีอาการชาหรือซ่าเหมือนถูกปลายเข็มจำนวนมากทิ่มแทงที่มือข้างใดข้างหนึ่ง แล้วลามไปที่แขน และใบหน้า และอาจพบว่ามีปัญหาในการพูดหรือสื่อสารลำบากร่วมด้วย
ความรุนแรงของอาการเตือนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นช้า ๆ ตามเวลาที่ผ่านไป โดยมักจะเป็นอยู่นาน 5 – 60 นาที ก่อนที่จะหายไป และมีอาการปวดศีรษะตามมา
หลักเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการเลือกวิธีคุมกำเนิด (Medical Eligibility Criteria for Contraceptive Use) จะมีการปรับเปลี่ยนไปตามข้อมูลใหม่ ๆ ที่ค้นพบนะคะ
แต่เดิม ทางเลือกในการคุมกำเนิดที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยไมเกรน ทั้งชนิดที่มีอาการเตือนและไม่มีอาการเตือน จะมีเพียงการใส่ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดงเท่านั้น (MEC = 1) ซึ่งตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา ได้มีการปรับเปลี่ยนใหม่ โดยห้ามเฉพาะการใช้ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมในผู้ป่วยไมเกรนชนิดที่มีอาการเตือน (MEC = 4) เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคสมองขาดเลือดเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
ส่วนผู้ป่วยไมเกรนชนิดที่ไม่มีอาการเตือน เดิมเคยมีการแนะนำให้พิจารณาความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองจากช่วงอายุ, ความดันโลหิตสูง และประวัติการสูบบุหรี่ร่วมด้วย แต่ในปัจจุบันปรับเปลี่ยนเกณฑ์การพิจารณาเป็นว่าสามารถใช้ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมได้ หากมีความจำเป็น (MEC = 2) อย่างไรก็ตาม ควรพิจารณาการใช้ยาคุมที่มีปริมาณเอสโตรเจนต่ำเพื่อลดผลข้างเคียงจากยาค่ะ
ต่อไปอาจมีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การพิจารณาใหม่อีก ดังนั้น จึงควรติดตามข้อมูลที่เป็นปัจจุบันที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อความปลอดภัย แต่ไม่เสียโอกาสในการใช้ยาโดยไม่จำเป็นนะคะ