อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับข้อสงสัยเรื่องสุขภาพ เช่น จริงหรือที่ว่าผู้หญิงมีอายุที่รับประทานมังสวิรัติจะมีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนหรือภาวะเสียงก่อนเป็นเบาหวาน (Preliabetes) คืออะไรและมีอาการอย่างไรบ้าง เพราะสุขภาพของคุณเป็นเรื่องสำคัญ ฉะนั้นคำถามและคำตอบเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณได้ หากคุณสนใจ สามารถอ่านต่อได้ที่นี่
Q : จริงหรือเปล่าคะ ที่ว่าผู้หญิงมีอายุที่รับประทานมังสวิรัติจะมีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
A : จริงครับ เพื่อคงความหนาแน่นของมวลกระดูก หญิงวัยก่อนหมดประจําเดือนและหญิงวัยหมดประจําเดือนต้องรับประทานโปรตีนในปริมาณ ที่เพียงพอ (ร้อยละ 15-20 ของแคลอรีรวมต่อวัน) เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ไข่ และชีส เป็นแหล่งของโปรตีนสมบูรณ์ (หมายถึงมีกรดแอมิโนจําเป็นครบ ทุกชนิด - บ.ก.) ตรงข้ามกับโปรตีนจากผัก ซึ่งไม่ใช่โปรตีนสมบูรณ์ แต่การรับประทานกรดแอมิโนจากแหล่งอื่นๆ ทดแทนในอัตราส่วนที่ถูกต้องจะช่วย ลดความเสี่ยงนั้นได้ ลองเติมเมล็ดคีนวาให้เป็น ส่วนหนึ่งของมื้ออาหารจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ครับ
Q : ภาวะเสียงก่อนเป็นเบาหวาน (Preliabetes) คืออะไรและมีอาการอย่างไรบ้าง
A : ภาวะเสียงก่อนเป็นเบาหวานมักไม่มีอาการ เพิ่งมีการกําหนดแนวทาง ในการวินิจฉัยภาวะดังกล่าวเมื่อไม่นานมานี้ เป็นภาวะที่ควรได้รับการใส่ใจ เพราะแม้ว่าจะยังไม่ถือเป็นเบาหวานเต็มตัว แต่ก็สามารถทําให้เกิดผลเสียต่อ หัวใจและหลอดเลือดได้ แนวทางการวินิจฉัยใหม่ลดเกณฑ์ระดับน้ำตาลลงจาก 110 เป็น 100 มก./เดซิลิตร เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยภาวะเสี่ยงก่อนเบาหวาน และรักษาก่อนที่อาการจะเลวร้ายลง
Q : ผมเคยอ่านเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีชื่อว่าไฮดร็อกซีอะพาไทต์ ซึ่งใช้ในภาวะกระดูกพรุน มันคืออะไรครับ
A: แม้ชื่อจะเรียกยาก แต่จัดเป็นแคลเซียมเสริมที่ประสิทธิภาพดีเยี่ยม และเป็นหนึ่งในแคลเซียมไม่กี่กลุ่มที่ร่างกายดูดซึมได้ดี มันมีแคลเซียมที่ โครงสร้างเหมือนกับแคลเซียมในกระดูกของเรา และยังมีแร่ธาตุที่จําเป็นต่อกระดูกที่แข็งแรง รวมทั้งแมกนีเซียม ฟลูออไรด์ โซเดียม และโพแทสเซียมอีกด้วย
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีไฮดร็อกซี่อะพาไทต์มีหลายประเภท ควรมองหาชนิดที่ให้แคลเซียมอย่างน้อย 1,000 มก. คุณสามารถรับประทานเพิ่มอีก 200-500 มก.จากอาหาร หากคุณรับประทานมังสวิรัติ ก็ควรรับประทานแคลเซียมซิเทรต ซึ่งเป็นรูปที่ร่างกายดูดซึมได้ดีเช่นกัน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
Q : ฉันมีอาการข้ออักเสบและได้ยินมาว่ากลูโคซามีนช่วยบรรเทา อาการปวดข้อได้ แต่ฉันยังลังเลที่จะรับประทาน เพราะไม่แน่ใจว่ามัน คืออะไร มีข้อห้ามหรือผลข้างเคียงอะไรไหม และควรจะเลือกรับประทาน อย่างไรเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด
A : ต่อไปนี้เป็นหลักสูตรเร่งรัดที่จะบอกเล่าเรื่องราวของกลูโคซามีนที่คุณต้องการรู้ กลูโคซามีนเป็นสารประกอบของกระดูกอ่อนตามธรรมชาติ ที่ช่วย กระตุ้นการสร้างของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในร่างกาย มีการนํามาใช้ในการรักษาอาการ ปวดข้อ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เสริมความแข็งแรงของเส้นเอ็นยึดข้อ และ รักษาอาการข้อเสื่อมและข้ออักเสบรูมาทอยด์ (ถึงแม้โรคข้อทั้งสองจะต่างกัน มาก แต่ต่างก็มีการทําลายของเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน เมื่อกระดูกอ่อนกร่อนลง กระดูกจะเสียดสีกันโดยตรง ทําให้เกิดอาการปวด ข้อติด และบวมได้)
เมื่ออายุมากขึ้น เราจะไม่สามารถสร้างกลูโคซามีนได้เพียงพอ ส่งผลให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเก็บกักน้ำและทําหน้าที่เป็นหมอนรองรับการกระแทกได้ กลูโคซามีนลดอาการเจ็บได้ โดยการฟื้นฟูเนื้อกระดูกอ่อนที่กร่อนไป มันจะทํางานได้ดีขึ้นหากรับประทานร่วมกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกสองตัว คือ คอนดรอยตินซึ่งเป็นสารที่พบในกระดูกอ่อนเช่นกัน และเพรกนีโนโลนซึ่งเป็นฮอร์โมนในร่างกายเรา
รายละเอียดบนฉลากของกลูโคซามีนและคอนดรอยดินซัลเฟตอาจทําให้ เข้าใจผิดได้ ควรตรวจดูว่ามีการใช้โพแทสเซียมคลอไรด์เป็นตัวทําให้เสถียร (Stabilizer) ไม่ใช่โซเดียมคลอไรด์ เนื่องจากร่างกายคุณได้รับโซเดียมจาก อาหารมากเกินพอแล้ว
สําหรับผลข้างเคียง กลูโคซามีนอาจทําให้คลื่นไส้หรือปวดแสบร้อนบริเวณ หน้าอกได้ แต่พบไม่บ่อยนัก สามารถบรรเทาอาการได้โดยการรับประทานกลูโคซามีนพร้อมอาหาร งานวิจัยบางชิ้นพบว่า กลูโคซามีนอาจส่งผลถึงภาวะดื้อต่ออินซูลินซึ่งมีผลต่อเบาหวานได้ แต่ยังมีหลักฐานสนับสนุนน้อย หาก คุณกังวลในเรื่องนี้ อาจรับประทานโครเมียมไพโคลิเนต 200 มคก.ต่อวัน (ซึ่ง ช่วยเผาผลาญไขมันและลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์) เพื่อช่วยป้องกันโอกาสเกิดเบาหวานได้
ผลิตภัณฑ์นี้มีจําหน่ายในรูปแคปซูล ผง และน้ํา ผมแนะนํากลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์ (Glucosamine HCL จะมีประสิทธิภาพสูงกว่ากลูโคซามีน ปกติถึงร้อยละ 40) ขนาด 500 มก. วันละ 1-3 เม็ด หากคุณกําลังรับประทานแอสไพรินหรือยาแก้ปวดอื่นๆ อาจต้องใช้เวลานานกว่าปกติกว่าจะเห็นผลหรือ รู้สึกว่าดีขึ้น
Q : ฉันเคยทราบมาว่า การอักเสบเป็นรากของโรคเรื้อรังหลายชนิด ไม่เพียงแต่ข้ออักเสบหรือโรคหืดเท่านั้น หากว่าเป็นเรื่องจริง โรคที่ เกี่ยวข้องกับการอักเสบมีอะไรบ้าง และคุณจะแนะนําผลิตภัณฑ์เสริม อาหารอะไรเพื่อลดการอักเสบ
A : เป็นเรื่องจริงครับ และเป็นทฤษฎีใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างยิ่ง พบว่าการอักเสบในระดับต่ำๆ แต่เรื้อรัง อาจเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจ อัลไซเมอร์ มะเร็งบางชนิด และแม้กระทั่งโรคอ้วนหรือเบาหวาน งานวิจัยใหม่ โดยนายแพทย์พอลริดเคอร์ จากวิทยาลัยแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ใช้การตรวจเลือดแบบแม่นยําเป็นพิเศษ เพื่อตรวจวัดระดับของซีอาร์พี (CRP: C-reactive protein) ซึ่งเป็นโปรตีนในเลือดที่ก่อให้เกิดและบ่งถึงระดับการอักเสบในร่างกาย พบว่าระดับการอักเสบในร่างกายที่เพิ่มขึ้น ทําให้ความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายเฉียบพลันเพิ่มขึ้นถึงสี่เท่า ระดับของซีอาร์พี่ที่สูง ในเลือด พบในโรคเรื้อรังหลายชนิด รวมเรียกว่า “กลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับการ อักเสบ” แจ๊ค ชาลเลม ผู้ประพันธ์หนังสือ The Inflammation Syndrome กล่าวว่า การอักเสบที่เกิดขึ้นทั่วร่างกายในคนอ้วนและผู้ที่เป็นเบาหวานนั้น ก่อให้เกิดการอักเสบของผนังเส้นเลือดและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ การอักเสบเป็นสัญญาณบ่งว่าระบบที่ส่งเสริมและต่อต้านการอักเสบของร่างกายเสียสมดุล แต่ยังมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยต้านการอักเสบ ซึ่งจะช่วยคน ความสมดุลให้เกิดขึ้นกับร่างกายได้
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต้านการอักเสบ
- จีแอลเอ (GLA: Gamma-linolenic acid กรดแกมมาไลโนเลนิก): ดัดแปลงมาจากกรดไลโนเลอิก หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กรดไขมันโอเมก้า - 6 จีแอลเอเป็นต้นกําเนิดของสารโพรสตาแกลนดินที่สําคัญ ซึ่งสามารถยับยั้ง การอักเสบได้ พบได้มากในน้ำมันโบราจ น้ำมันเมล็ดแบล็กเคอแรนต์ และ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส อีกทั้งร่างกายยังสามารถสร้างเองได้จากกรดไขมัน โอเมก้า-6 แม้ว่าโอเมก้า-6 จะพบได้มากในอาหารแบบอเมริกัน แต่ ส่วนใหญ่แล้วน้ำมันที่ใช้จะอยู่ในรูปที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน ซึ่งจะ ยับยั้งการเปลี่ยนจากโอเมก้า-6 เป็นจีแอลเอ
- อีพีเอ (EPA. Eicosapentaenoic acid กรดไอโคซาเพนตาโนอิก): เป็นแหล่งกําเนิดของสารต้านการอักเสบในร่างกาย ถึงแม้ว่าร่างกายจะสร้าง อีพีเอซึ่งเป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ขึ้นเองได้ โดยการเปลี่ยนจากกรดแอลฟาไลโนเลนิก แต่เราก็สามารถรับประทานเพิ่ม ได้โดยตรงจากอาหารกลุ่มปลาทะเลน้ำลึก เช่น แซลมอน แมคเคอเรล และซาร์ดีน
- กรดโอเลอิก (Oleic acid): เป็นกรดโอเมก้า -9 หลักในน้ํามันมะกอก กรดโอเลอิกมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และส่งเสริมการทํางานของอีพีเอ
- วิตามินอี วิตามินอี พร้อมด้วยสารต้าน อนุมูลอิสระตัวอื่นๆ ช่วยทําลายอนุมูลอิสระ ที่เกิดขึ้น ซึ่งอนุมูลอิสระเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ
หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล