กภ. ธีรวิทย์ วิโรจน์วิริยะกุล นักกายภาพบำบัด
เขียนโดย
กภ. ธีรวิทย์ วิโรจน์วิริยะกุล นักกายภาพบำบัด

ปวดก้นกบ เพราะอะไร? ข้อมูล สาเหตุ การรักษา ป้องกัน

ก้นกบ (Tailbone) หรือในทางการแพทย์เรียกว่า Coccyx คือส่วนปลายสุดของกระดูกสันหลัง สามารถคลำได้เป็นปุ่มกระดูกเล็กๆ เหนือร่องก้นเล็กน้อย
เผยแพร่ครั้งแรก 8 พ.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ปวดก้นกบ เพราะอะไร? ข้อมูล สาเหตุ การรักษา ป้องกัน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ก้นกบเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และเส้นเอ็นจำนวนมาก เมื่อเกิดอุบัติเหตุมักจะส่งผลให้มีอาการปวดบริเวณก้นกบ (Coccyx pain หรือ Coccydynia) ได้
  • พบบ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 2-3 เท่า โดยเฉพาะในช่วงมีประจำเดือนหรือตั้งครรภ์
  • อุบัติเหตุ รูปร่างของแต่ละคน และพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน รวมถึงปัญหาสุขภาพบางอย่าง ก็ส่งผลให้มีอาการปวดก้นกบได้ด้วย
  • อาการปวดก้นกบมักจะไม่รุนแรงจน แต่หากรบกวนการนอนหลับ เกิดอาการชา หรือพบปัญหาการควบคุมการทำงานของระบบปัสาวะและอุจจาระ อาจจะเป็นสัญญาณอันตรายบ่งชี้อาการที่รุนแรง ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่ชัดเจน
  • 90% ของผู้ป่วยที่มีอาการปวดก้นกบสามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด 
  • ดูแพ็กเกจ กายภาพบำบัด ที่นี่

เชื่อกันว่าก้นกบของมนุษย์คือส่วนของหางที่หดสั้นลง เนื่องจากไม่ได้ใช้งานเพื่อช่วยในการทรงตัวเหมือนลิงอีกต่อไป

ในวัยเด็ก กระดูกส่วนนี้จะเป็นข้อต่อ 4-5 ชิ้นที่เคลื่อนไหวจากกันได้ เมื่อโตขึ้นจึงค่อยๆ เชื่อมติดกันจนไม่สามารถขยับออกจากกันได้อีก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ถึงแม้จะไม่ได้มีหน้าที่หลักในการช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวเหมือนข้อต่ออื่นๆ แต่ก้นกบเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และเส้นเอ็น (Ligaments) จำนวนมาก ทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น หรือกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณหลังส่วนล่าง หรือสะโพกบาดเจ็บ มักจะส่งผลให้มีอาการปวดบริเวณก้นกบ (Coccyx pain หรือ Coccydynia) ได้

สาเหตุของอาการปวดก้นกบมีอะไรบ้าง?

อาการปวดก้นกบ พบบ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 2-3 เท่า โดยเฉพาะในช่วงมีประจำเดือนหรือตั้งครรภ์ ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าก้นกบเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นจำนวนมาก ส่งผลให้เมื่อกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นเหล่านั้นหดรั้ง หรือตึงตัวมากกว่าปกติ ก็จะทำให้มีอาการปวดก้นกบได้

นอกจากนี้ อุบัติเหตุ รูปร่างของแต่ละคน และพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน รวมถึงปัญหาสุขภาพบางอย่าง ก็ส่งผลให้มีอาการปวดก้นกบได้ด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ปวดก้นกบจากอุบัติเหตุ

เป็นสาเหตุลำดับต้นๆ ของอาการปวดก้นกบ เช่น การหกล้มก้นกระแทก การลื่นล้ม การตกจากที่สูง เป็นต้น ในบางรายอาจจะมีอาการปวดรุนแรงมาก หรืออาจะพบว่ามีการแตกของกระดูกก้นกบได้

2. ปวดก้นกบจากการมีประจำเดือน

เนื่องจากช่วงมีประจำเดือน ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้เส้นเอ็นยืดหรือหดตัวกว่าปกติ เกิดการทำงานที่ไม่สมดุลของกล้ามเนื้อและข้อต่อระหว่างการเคลื่อนไหว อาการปวดก้นกบจากสาเหตุนี้มักจะดีขึ้นเมื่อหมดรอบเดือนนั้นๆ

3. ปวดก้นกบในสตรีตั้งครรภ์

นอกจากเรื่องของฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงแล้ว น้ำหนักตัวที่มากขึ้น ขนาดของท้องที่ใหญ่ขึ้น ก็ทำให้จุดศูนย์ถ่วงน้ำหนักของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในช่วงตั้งครรภ์นี้ กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานจะทำงานหนักขึ้นเนื่องจากต้องรับนำหนักของครรภ์ และเมื่อถึงเวลาใกล้คลอดหรือระหว่างการคลอด กระดูกเชิงกรานก็จะขยายขนาดอย่างมาก ทำให้เส้นเอ็นบริบริเวณนั้นถูกยืดออก เป็นสาเหตุของอาการปวดก้นกบได้

4. ปวดก้นกบเพราะน้ำหนักตัวที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป

ในกรณีผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก กลไกของอาการปวดจะคล้ายกับของสตรมีครรภ์ ในขณะผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อย มักจะทำให้มีบริเวณก้นมีไขมันและกล้ามเนื้อน้อย ทำให้เมื่อนั่งเป็นเวลานานๆ น้ำหนักอาจจะกดทับลงบริเวณก้นกบ ส่งผลให้มีอาการปวดได้

5. ปวดก้นกบเพราะท่านั่งผิดปกติ

ในท่านั่งหลังตรง จุดรับน้ำหนักของร่างกายจะอยู่ที่ปุ่มกระดูกที่ชื่อว่า Ischial tuberosity ซึ่งมีลักษณะเหมือนเก้าอี้เล็กๆ จุดนี้เป็นจุดรับน้ำหนักที่เหมาะสม แต่เมื่อนั่งท่าผิดปกติ โดยเฉพาะนั่งตัวไหล ไหล่ห่อ น้ำหนักส่วนมากจะไปลงบนก้นกบ ซึ่งไม่ได้มีหน้าที่รับน้ำหนัก จึงทำให้มีอาการปวดได้

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์?

โดยทั่วไป อาการปวดก้นกบมักจะไม่รุนแรงจนรบกวนการนอนหลับ ไม่ส่งผลให้เกิดอาการชา หรือไม่พบปัญหาการควบคุมการทำงานของระบบปัสสาวะและอุจจาระได้

แต่หากพบอาการดังกล่าว อาจจะเป็นสัญญาณอันตรายบ่งชี้อาการที่รุนแรง เช่น มะเร็งบางชนิด หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท หรือการติดเชื้อในช่องไขสันหลัง ควรเดินทางไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่ชัดเจนและทำการรักษาต่อไป

วิธีรักษาอาการปวดก้นกบ มีอะไรบ้าง

มีรายงานชัดเจนว่า 90% ของผู้ป่วยที่มีอาการปวดก้นกบสามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การรักษาทางเลือกอื่นๆ เช่น การฉีดยาสเตียรอยด์ การผ่าตัด การฝังเข็ม หรือการฉีดยาชา เพื่อยับยั้งการทำงานของเส้นประสาท จึงไม่ค่อยถูกนำมาใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดก้นกบ

การรักษาทางกายภาพมักมุ่งเน้นไปที่การให้ความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การเปลี่ยนท่านั่งให้เหมาะสม การควบคุมน้ำหนักร่างกายให้เหมาะสม การใช้อุปกณ์เสริมต่างๆ เช่น เบาะรองนั่ง และการออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อรอบๆ ก้นกบกลับมาทำงานอย่างสมดุล

นอกจากนี้การลดปวด เช่น การประคบร้อน การทำอัลตราซาวด์เพื่อลดปวด ก็สามารถถูกนำมาใช้ได้

ท่าออกกำลังกายลดปวดก้นกบที่ทำได้เองที่บ้านมีอะไรบ้าง?

การออกกำลังกายเพื่อลดอาการปวดก้นกบ จะมุ่งเน้นไปที่การยืดกล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนล่าง กล้ามเนื้อสะโพก และกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน ซึ่งมีท่าออกกำลังกายจำนวนมาก

ตัวอย่าง 5 ท่าลดปวดก้นกบที่ทำได้ง่ายๆ ที่บ้าน มีดังนี้

1. ฝึกหายใจเพื่อลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน (Pelvic floor release)

ทำได้โดยการนอนหงาย อาจจะชันเข่าทั้ง 2 ข้างขึ้นหรือไม่ก็ได้ หายใจเข้าช้าๆ ให้สุดจนท้องป่องขึ้น โดยเฉพาะบริเวณท้องน้อย กลั้นหายใจออกแรงเบ่งเบาๆ เคลื่อนลมที่กักไว้ให้ไปในทิศทางของเชิงกราน จากนั้นหายใจออกช้าๆ ไม่ควรกลั้นกายใจนานไป ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง

ผู้ที่มีปัญหาความดันสูง ควรปรึกษานักกายภาพบำบัดก่อนออกกำลังกายด้วยวิธีนี้

2. ฝึกกล้ามเนื้อสะโพก (Piriformis stretching)

นอนหงาย ชันเข่าขึ้น ยกขาข้างที่ต้องการยืดสะโพกมาไขว้อีกข้างไว้ในลักษณะไขว่ห้าง จากนั้นใช้มือกอดรัดต้นขาข้างที่อยู่ข้างล่างให้เข้ามาชิดกับอก ค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 1-3 เซต สลับทำกับขาอีกข้าง วันละ 1-2 รอบ

3. กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (Hamstring stretching)

นอนหงาย ชันเข่า ใช้มืออ้อมไปกอดยกขาข้างที่ต้องการยืดขึ้นโดยที่เข่ายังงออยู่ พยายามให้ฝ่าเท้าของเข่าข้างที่ชันอยู่แนบกับพื้นตลอดเวลา ค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 1-3 เซต สลับทำกับขาอีกข้าง วันละ 1-2 รอบ

4. กล้ามเนื้อสะโพกด้านหน้า (Iliopsoas stretching)

นั่งให้แก้มก้นวางพอดีกับขอบเตียง กอดเข่าหนึ่งข้าง ค่อยๆ เอนตัวลงนอน จะรู้สึกตึงบริเวณสะโพกด้านหน้าของเข่าข้างที่ไม่ได้กอดไว้ ค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 1-3 เซต สลับทำกับขาอีกข้าง วันละ 1-2 รอบ

5. กล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง (Cobra stretch)

นอนคว่ำค่อยๆ ท้าวแขนขึ้นโดยที่สะโพกทั้งสองข้างไม่ยกจากพื้น ค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 1-3 เซต สลับทำกับขาอีกข้าง วันละ 1-2 รอบ

หากออกกำลังกายตามคำแนะนำนี้แล้วมีอาการปวดกลังหรือก้นกบมากขึ้น ควรหยุดออกกำลังกายทันที

สามารถป้องกันอาการปวดก้นกบได้อย่างไร?

สาเหตุหลักของอาการปวดก้นกบมักจะมาจากพฤติกรรมที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งการป้องกันอาการปวดก้นกบสามารถทำได้ ดังนี้

1. ควบคุมน้ำหนักร่างกายให้เหมาะสม

2. ไม่นั่งทำงานนานๆ เปลี่ยนอิริยาบททุกๆ 1-2 ชั่วโมง

3. ปรับท่านั่งให้เหมาะสมไม่นั่งตัวไหล ไหล่ห่อ

4. เลือกเก้าอี้ที่ไม่นุ่มเกินไปซึ่งสนับสนุนให้เกิดการนั่งตัวไหล ในทางกลับกันหากเก้าอี้ที่นั่งอยู่เบาะแข็งเกินไปควรหาเบาะมารอง

5. ยืดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง สะโพก แล้วกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอย่างสม่ำเสมอ

ดูแพ็กเกจ กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษา เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Wray CC, Easom S, Hoskinson J. Coccydynia, Aetiology and treatment, March 1991.
Patel R, Appanagari A, Whang PG, Coccydynia. Curr Rev Musculoskelet Med, December 2018.
Mohanty, P.P. et al, Effect of stretching of piriformis and iliopsoas in coccydynia, July 2017.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีการรักษา เมื่อกล้ามเนื้อฉีก
วิธีการรักษา เมื่อกล้ามเนื้อฉีก

อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้โดยไม่มีใครคาดคิด ทำอย่างไรห้ามกล้ามเนื้อของคุณฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
นวดแผนไทย คลายปวดเมื่อยด้วยศาสตร์โบราณ
นวดแผนไทย คลายปวดเมื่อยด้วยศาสตร์โบราณ

ทำความรู้จักการนวดแผนไทย ประโยชน์ของการนวดไทย และลิสต์ผู้ที่เข้าข่ายไม่ควรนวด

อ่านเพิ่ม