หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นอาการที่พบได้บ่อยในบุคคลวัยทำงาน ทั้งเพศหญิงและเพศชาย เกิดจากหลากหลายสาเหตุ เช่น นั่งทำงานนานๆ ยกของหนัก หรือแม้แต่การออกกำลังกายอย่างไม่ถูกวิธีก็ทำให้เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้
อาการของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีความรุนแรงหลายระดับ ตั้งแต่ปวดหลังส่วนล่างเล็กน้อย ปวดหลังจนไม่สามารถลุกเดินได้อย่างปกติ ปวดหลังร่วมกับมีอาการชาร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง หรือไม่สามารถเคลื่อนไหวขาได้เลย
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทคืออะไร?
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรืออีกชื่อคือ หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท (Herniated nucleus pulposus) เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังในผู้ป่วยวัยกลางคน
โดยปกติแล้ว หมอนรองกระดูกสันหลังคือโครงสร้างที่ทำหน้าที่ลดแรงกระแทกต่อกระดูกสันหลัง และช่วยให้คนสามารถเคลื่อนไหวลำตัวไปในทิศทางต่างๆ ได้อย่างสะดวก
หมอนรองกระดูกสันหลังมีโครงสร้างแบ่งออกเป็น 2 ชั้นใหญ่ๆ ได้แก่
- ชั้นนอก เป็นเนื้อเยื่อที่เรียงตัวซ้อนกันเป็นชั้นๆ จนมีความแข็งแรงมาก (Annulus fibrosus)
- ชั้นใน เป็นของกึ่งแข็งกึ่งเหลวคล้ายวุ้น (Nucleus pulposus)
เมื่อลำตัวถูกใช้งานในทิศทางที่ไม่เหมาะสมซ้ำๆ เช่น การนั่งทำงานนานๆ มีการบิดหรือเอี้ยวตัวบ่อยๆ หรือออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกมากๆ เช่น การปั่นจักรยานบนพื้นที่ไม่ราบเรียบ รวมถึงถ้ายิ่งยกของหนักๆ ร่วมด้วย ก็จะส่งผลให้โครงสร้างชั้นนอกของหมอนรองกระดูกฉีกขาด และโครงสร้างชั้นในปลิ้นออกมาจากตำแหน่งที่เคยอยู่ ไปกดทับรากประสาทบริเวณใกล้เคียง ทำให้เกิดอาการปวดหลังและอาการอื่นๆ ตามมา รวมถึงอาการที่เรียกกันรวมๆ ว่า หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเกิดได้ที่ส่วนใดของร่างกายบ้าง?
หมอนรองกระดูกสันหลังแทรกตัวอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังทุกระดับ ตั้งแต่ระดับคอถึงเอว และหมอนรองกระดูกสันหลังทุกระดับมีโอกาสปลิ้นออกมาทับรากประสาทได้
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีโอกาสเป็นที่ระดับเอวมากที่สุด เพราะกระดูกสันหลังส่วนนี้เคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง และต้องรับน้ำหนักของร่างกายส่วนบนไว้ด้วย รองลงมาคือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ที่กระดูกสันหลังส่วนคอ และสุดท้ายคือกระดูกสันหลังส่วนอก เพราะเคลื่อนไหวได้ไม่มาก
รักษาและตรวจกระดูกสันหลัง วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 72%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีอาการอย่างไร?
อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือกระดูกสันหลังชั้นในปลิ้นนั้น อาจมีอาการตั้งแต่ปวดเพียงเล็กน้อย นั่งทำงานนานๆ ไม่ได้ ปวดหลังมากจนเดินไม่ไหว มีอาการชาขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง จนถึงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างอ่อนแรงจนขยับไม่ได้เลยก็ได้
ความรุนแรงของอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทขึ้นกับจำนวน ทิศทาง และตำแหน่ง ของหมอนรองกระดูกสันหลังที่ปลิ้นออกมา
โดยทั่วไป เมื่อหมอนรองกระดูกระดับใดมีปัญหา การทำงานของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลังระดับที่ต่ำลงไปกว่านั้นมักจะมีปัญหาไปทั้งหมด
เมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังระดับคอปลิ้นออกมาทับเส้นประสาทและไขสันหลังบริเวณคอ จะทำให้การทำงานของไขสันหลัง (Spinal cord) และเส้นประสาทไขสันหลังระดับคอ (Cervical spinal nerves) บริเวณที่ต่ำกว่าจุดที่มีปัญหา เช่น ไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลังระดับอก (Thoracic spinal nerves) และไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลังระดับเอว (Lumbar spinal nerves) สูญเสียไปทั้งหมด และอาจจะรวมถึงการทำงานของรากประสาทส่วนกระเบนเหน็บ (Cauda equina) ซึ่งควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะและการขับถ่ายเสียไปด้วย
อาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แบ่งตามส่วนที่เป็น มีดังนี้
- หมอนรองกระดูกระดับคอ ถ้าหมอนรองกระดูกส่วนนี้มีปัญหา จะมีอาการปวดคอ เคลื่อนไหวคอได้น้อยลงหรือมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว ชาหรืออ่อนแรงแขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง นอกจากนั้นมักจะพบการทำหน้าที่ของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันที่ต่ำลงไปมีปัญหาร่วมด้วย
- หมอนรองกระดูกระดับอก ถ้าหมอนรองกระดูกส่วนนี้มีปัญหา จะมีอาการชาบริเวณลำตัว หรือการทำหน้าที่ของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันที่ต่ำลงไปมีปัญหา
- หมอนรองกระดูกระดับเอว ถ้าหมอนรองกระดูกส่วนนี้มีปัญหา จะมีอาการปวดหลัง เคลื่อนไหวเอวและสะโพกได้น้อยลง มีอาการปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว รวมถึงอาจชาหรืออ่อนแรงที่ขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ในผู้ป่วยบางรายอาจพบปัญหาการควบคุมกระเพาะปัสสาวะหรือการขับถ่าย
การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแต่ละตำแหน่งหมือนกันหรือไม่?
การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแต่ละระดับนั้นมีวิธีการใกล้เคียงกัน แบ่งได้สองวิธีหลักๆ ก็คือ
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยการทำกายภาพบำบัด จะเน้นไปที่การลดความเจ็บปวดด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น อัลตราซาวนด์ เลเซอร์ เครื่องดึงคอหรือหลัง ร่วมกับการออกกำลังกายทั้งเพื่อสนับสนุนให้หมอนรองกระดูกที่มีปัญหากลับเข้าไปที่เดิม และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆ ให้ประคองกระดูกสันหลังบริเวณนั้นมากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้
- การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยการผ่าตัด เพื่อซ่อมแซมหมอนรองกระดูกที่มีปัญหา
การจะเลือกใช้วิธีไหนขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ความรุนแรงของอาการ สภาพร่างกายของผู้ป่วย และสถานะภาพทางเศรษฐกิจของผู้ป่วยแต่ละราย เป็นต้น
การผ่าตัดรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังทำให้กลับมาเดินไม่ได้จริงหรือ?
โดยทั่วไป การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่ไม่รุนแรง การทำกายภาพบำบัดมักเป็นสิ่งแรกที่แพทย์แนะนำให้ และก็มักจะให้ผลการรักษาที่ดี
หากรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยแนวทางนี้แล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือมีแนวโน้มแย่ลง จนอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วย การรักษาด้วยการผ่าตัดจึงจะถูกนำมาพิจารณาเป็นทางเลือกถัดไป
ในกรณีของผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่มีอาการรุนแรงมาก แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดตั้งแต่แรก อย่างไรก็ตามหลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องได้รับการฟื้นฟูให้สามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้ ด้วยการทำกายภาพบำบัด ซึ่งยังมีผู้ป่วยจำนวนมากลัวว่าหลังการผ่าตัดร่างกายจะไม่เหมือนเดิม เช่น ไม่สามารถก้มหลังได้สุด หรือจะไม่สามารถกลับมาเดินได้อีก ซึ่งไม่เป็นความจริงเสมอไป
หากการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไม่มีปัญหา และผู้ป่วยได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดอย่างเหมาะสม ทั้งแพทย์และนักกายภาพบำบัดจะวางแผนร่วมกันเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงที่สุดในระยะเวลาอันสั้นที่สุดอยู่แล้ว
ส่วนผู้ป่วยจำนวนมากที่หลังผ่าตัดก็ยังไม่สามารถกลับมาเดินได้ มักเกิดจากมีหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นเวลานานและกล้ามเนื้อขาฝ่อลีบลงก่อนผ่าตัด หลังจากผ่าตัดจึงจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาฟื้นฟูนานกว่าผู้ป่วยทั่วไป
ดังนั้นหากมีอาการของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท การเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดทันทีเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องรวดเร็วที่สุดจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
เมื่อมีอาการกมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท สามารถออกกำลังกายได้หรือไม่?
ผู้ป่วยที่มีอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจำเป็นอย่างมากที่จะต้องออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีการออกกำลังกายหลายชนิดที่ถูกคิดค้นโดยนักกายภาพบำบัด เพื่อรักษาอาการหมอนอรองกระดูกทับเส้นประสาทโดยเฉพาะ แต่ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นจะต้องออกกำลังกายตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัดอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้หมอนรองกระดูกมีปัญหามากขึ้น ซึ่งจะทำให้อาการแย่ลง
ประเภทและความหนักของกายออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแต่ละคน จะต้องได้รับการออกแบบอย่างรอบคอบ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ออกกำลังกายด้วยตนเอง หรือตามคำแนะนำของผู้ที่ไม่ใช่นักกายภาพบำบัดหรือแพทย์โดยเด็ดขาด