การติดเต้า (cluster feeding) ในการให้นมลูกคืออะไร ?

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การติดเต้า (cluster feeding) ในการให้นมลูกคืออะไร ?

หากคุณกำลังเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ คุณอาจรู้สึกว่าคุณต้องให้นมลูกอยู่ตลอดเวลา มีคำแนะนำว่าเมื่อคุณกำลังให้นมลูก คุณต้องให้นม “ตามที่ลูกต้องการ” พูดอีกอย่างคือ คุณให้นมแก่ทารกเมื่อลูกอยาก บางครั้งทารกอยากกินนมเพราะหิว บางครั้งพวกเขากำลังอยู่ในช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างมาก และบางครั้งก็เป็นเพราะเหตุผลอื่น เช่น ความสบาย หรืออาจเป็นเพราะไม่สบายก็ได้

การให้นมอาจเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน และหนึ่งในสาเหตุการให้นมลูกอาจแตกต่างกันไปได้ นั่นคือการติดเต้า หากลูกของคุณเคยได้กินนมหลายครั้งติด ๆ กัน (ทำให้คุณรู้สึกว่าไม่ได้พักเลย ! ) แสดงว่าลูกของคุณติดเต้าแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การติดเต้าคืออะไร ?

การติดเต้าคือรูปแบบหนึ่งของการให้นมที่แสดงให้เห็นเมื่อเด็กรวมการให้นมหลาย ๆ ครั้งเข้าด้วยกันเป็นเวลาเดียว ปกติแล้ว เด็กจะกินมื้อย่อย ๆ ร่วมกันเป็นมื้อเดียว เด็กบางคนอาจกินมาก ๆ ในครั้งเดียว หลังจากนั้นพักไปอีกหลายชั่วโมงก่อนมื้อถัดไป อย่างไรก็ตาม ในเด็กที่ติดเต้า เด็กอาจกินนมหลาย ๆ ครั้งเป็นเวลาใกล้ ๆกัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นในช่วงเย็นที่เด็กมักงอแง ในช่วงเวลานี้ เด็กมักต้องการกินนมหลาย ๆ ครั้งในช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมง สำหรับแม่แล้วอาจรู้สึกเหมือนว่าเธอต้องให้นมลูกบ่อยเสียจนคิดว่าลูกหิวอยู่ตลอดเป็นเวลาหลายชั่วโมง

การติดเต้านั้นพบได้บ่อยกว่าในทารกแรกเกิด แต่ในทารกที่มีอายุมากกว่าเล็กน้อยก็อาจพบได้ในช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างมาก (growth spurt) การกินนมเป็นช่วงตอบสนองต่อจุดประสงค์ในการสร้างนมแม่ และเพิ่มปริมาณแคลอรี่ที่ทารกได้รับในแต่ละวัน เมื่อเด็กกินนมมื้อเย็นไปมาก ๆ อาจทำให้เด็กนอนหลับในช่วงกลางคืนได้ยาวกว่าโดยไม่มีสิ่งรบกวน

การติดเต้าเป็นเรื่องปกติหรือเปล่า ?

การติดเต้าเป็นเรื่องปกติมาก สำหรับแม่ที่กังวลว่าลูกได้รับนมเพียงพอหรือเปล่า ก็สามารถนับจำนวนผ้าอ้อมที่เต็มใน 24 ชั่วโมงได้ หากจำนวนผ้าอ้อมลดลง แม่ก็ควรติดต่อกุมารแพทย์หรือผู้ให้คำปรึกษาในการให้นมบุตร มีหลายสาเหตุที่ทำให้จำนวนผ้าอ้อมที่เต็มน้อยลง เช่นให้นมไม่บ่อยพอ นมแม่มีน้อย หรือปัญหาด้านการเผาผลาญ (metabolic issues)

อย่างไรก็ตาม หากเด็กยังมีน้ำหนักขึ้นดีและการให้นมยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องยาวนาน การที่เด็กงอแงก็อาจมาจากสาเหตุอื่นเช่น colic ซึ่งควรพิจารณาหาสาเหตุด้านอื่น ๆ นอกจากการให้นมด้วย

หรือไม่เช่นนั้น การติดเต้าอาจเป็นแค่วิธีการที่ลูกของคุณกินนม และนั่นก็ปกติเช่นกัน แค่ต้องสังเกตให้แน่ว่าลูกกินนมแต่ละครั้งได้อิ่ม เนื่องจากน้ำนมส่วนท้าย (hind mild) มีความสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูก การติดเต้าที่ทำให้ลูกกินนมได้น้อยอาจทำให้ลูกไม่ได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ ซึ่งจำเป็นต่อการเพิ่มน้ำหนัก และอาจทำให้คุณมีปัญหาคัดเต้านมหากนมไม่ถูกดูดจนเกลี้ยงเต้าด้วย

ลูกของคุณอาจติดเต้าเมื่อเข้าสู่ช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างมาก หรือในช่วงที่งอแงหรือหงุดหงิด เช่น เมื่อฟันกำลังขึ้นหรือมีความเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ หากลูกของคุณติดเต้า การพยายามให้นมตามความต้องการของลูกเป็นสิ่งที่ดีที่สุด หากคุณมีคู่ครอง พิจารณาวิธีปั๊มนมเก็บไว้เพื่อให้คุณได้พักและหากลูกยังแสดงอาการหงุดหงิด มีไข้ หรือพฤติกรรมเปลี่ยนไป คุณอาจนัดพบแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นกับเจ้าตัวน้อยของคุณ


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cluster Feeding. Babies.co.uk. (http://www.babies.co.uk/feeding/a/cluster-feeding/)
Cluster feeding | Mom Answers. BabyCenter. (https://www.babycenter.com/400_cluster-feeding_2535544_201.bc)
Cluster Feeding?. TheBump.com. (https://www.thebump.com/a/cluster-feeding)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
คำแนะนำ 6 ข้อสำหรับการให้ลูกเลิกทานนมแม่
คำแนะนำ 6 ข้อสำหรับการให้ลูกเลิกทานนมแม่

การที่ฉันตั้งเป้าหมายว่าวันนี้จะเป็นวันที่ฉันให้ลูกเลิกดื่มนนมแม่

อ่านเพิ่ม
เมื่อไรที่ห้ามให้นมบุตร: ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสำหรับคุณและลูก
เมื่อไรที่ห้ามให้นมบุตร: ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสำหรับคุณและลูก

จะบอกได้อย่างไรว่าเมื่อใดที่การให้นมบุตรไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด

อ่านเพิ่ม