กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เครียดเรื้อรัง เสี่ยงสุขภาพพัง จริงหรือ?

เครียดเรื้อรังทำให้ร่างกาย และพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 5 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เครียดเรื้อรัง เสี่ยงสุขภาพพัง จริงหรือ?

ความเครียดไม่เพียงแต่ส่งผลต่อจิตใจของเราเท่านั้น แต่มันยังส่งผลต่อร่างกายเช่นกัน โดยถึงแม้คุณจะข้ามผ่านความเครียดไปแล้ว สภาพร่างกายที่ทรุดโทรมจากความเครียดก็อาจจะยังไม่หายดี หรืออาจลุกลามร้ายแรงกว่าเดิมก็ได้ 

เรามาดูกันว่า โรค หรือความผิดปกติที่เกิดจากความเครียดนั้นมีอะไรบ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. โรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้า

ความเครียดสามารถส่งผลต่ออารมณ์ และจิตใจ และนั่นก็สามารถทำให้เกิดปัญหาทางจิตอย่างโรควิตกกังวล หรือโรคซึมเศร้าได้ โดยเป็นผลมาจากฮอร์โมนคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดที่หลั่งออกมาในร่างกายนานเกินไป 

และหากคุณยังปล่อยให้ความเครียดลุกลาม ไม่มีความรู้สึกเบาใจเกิดขึ้นเลย ระดับของโรคทั้งโรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้าก็จะยิ่งลุกลามแรงขึ้นกว่าเดิม และทำให้โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง ไม่สามารถรักษาให้หายได้ง่าย

2. โรคนอนไม่หลับ

หากคุณอยู่กับความเครียดทุกวัน มันก็อาจทำให้จิตใจของคุณว้าวุ่นในตอนกลางคืน เมื่อล้มตัวลงนอน แทนที่จะสามารถนอนหลับได้ คุณอาจเปลี่ยนเป็นพยายามคิดหาทางออก หรือวิตกกังวลกับสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่โดยไม่รู้ตัว 

หรือหากคุณเป็นโรควิตกกังวล หรือโรคซึมเศร้าอยู่แล้ว อาการของโรคก็ส่งผลต่อการนอนเช่นกัน และเมื่อพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็จะยิ่งทำให้คุณวิตกกังวล หรือเครียดมากกว่าเดิมได้

3. ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

เมื่อความเครียดเกิดขึ้นติดต่อกันหลายวัน หรือนานเป็นเดือน หรือปี ระบบภูมิคุ้มกันโดยรวมจะแย่ลงเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวในระบบภูมิคุ้มกันร่างกายมีการผลิตน้อยลง ทำให้ติดเชื้อไวรัส เชื้อโรค หรือเชื้อแบคทีเรียง่ายขึ้น รวมถึงเกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น

4. เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง และปัญหาเกี่ยวกับหัวใจสูงขึ้น

เมื่อเครียดอย่างต่อเนื่อง คุณอาจสังเกตว่าตัวเองเริ่มปวดหน้าอก หรือใจสั่น ทั้งนี้ความเครียดที่เกิดขึ้นแบบเรื้อรังสามารถส่งผลทางลบต่อเส้นเลือด และหัวใจ ทำให้คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมากขึ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้มันอาจทำให้การอักเสบในหลอดเลือดหัวใจแย่ลง และทำให้ระดับของคอเลสเตอรอลเปลี่ยนไป

5. โรคอ้วน

การพักผ่อนไม่เพียงพอในขณะที่ต้องจัดการกับความเครียดซึ่งเกิดขึ้นเรื้อรังสามารถทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ เพราะหากคุณนอนไม่เพียงพอเป็นประจำ ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียด และควบคุมความหิวจะหลั่งมากกว่าปกติ จึงทำให้คุณอยากอาหารมากกว่าเดิม 

6. มีปัญหากับระบบย่อยอาหาร

ความเครียดส่งผลต่อระบบย่อยอาหารเช่นเดียวกัน บางคนอาจมีปัญหาท้องผูกเรื้อรัง ในขณะที่บางคนกลับเจอปัญหาท้องเสียเรื้อรัง อีกทั้งคุณอาจรู้สึกคลื่นไส้ เพราะความเครียดสามารถทำให้การย่อยอาหาร และการดูดซึมสารอาหารเปลี่ยนไป 

นอกจากนี้หากคุณรับประทานอาหารมากกว่าปกติ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ด มีความมัน หรือเข้มข้น มันก็อาจทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน ซึ่งทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว และแสบร้อนกลางอก

7. เพิ่มความเสี่ยงที่จะติดเหล้า หรือสารเสพติด

ความเครียดเรื้อรังมีความเสี่ยงต่อพฤติกรรมติดยาเสพติด หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ และอยากจะเลิกได้ด้วย เพราะผู้เสพจะรู้สึกว่า สารทั้ง 2 ประเภทนี้เป็นทางออกสำหรับบรรเทาความเครียดไปแล้ว  

8. มีปัญหากับความจำ และการเรียนรู้

ปัญหาสุขภาพจิต และความเครียดระยะยาวมีความเชื่อมโยงกับความบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผู้ที่มีความเครียดสูงจะมีความสามารถในการเรียนรู้ หรือจดจำแย่กว่าคนปกติ โดยเฉพาะความเร็วในการจำ ความจำขณะทำงาน ความสนใจ ความจำในการเรียนรู้ และการจำเหตุการณ์  

เพราะเมื่อเครียดเป็นเวลานาน ความเครียดจะสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อเซลล์ประสาท โดยเฉพาะสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องความจำและอารมณ์

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คุณจะเห็นได้ว่าความเครียดสามารถส่งผลต่อสุขภาพกายของเราเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรวางแผน หรือจัดการกับชีวิตของตัวเองให้ดีเพื่อให้ความเครียดลดลง 

แต่หากคุณไม่สามารถควบคุมมันได้ ลองออกกำลังกาย ปรับตารางกิจกรรมชีวิต หากิจกรรมคลายเครียดแล้วไม่หาย ให้คุณไปพบจิตแพทย์ เพื่อขอคำปรึกษาอย่างเหมาะสม 


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chronic stress: Symptoms, health effects, and how to manage it. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323324)
The effects of chronic stress on health: new insights into the molecular mechanisms of brain–body communication. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5137920/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป