เครื่องดื่มคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ดีต่อร่างกายจริงหรือ

เผยแพร่ครั้งแรก 30 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เครื่องดื่มคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ดีต่อร่างกายจริงหรือ

คลอโรฟิลล์คืออะไร

คลอโรฟิลล์ (chlorophyll) คือ รงควัตถุสีเขียวที่พบได้ทั่วไปในพืชซึ่งคลอโรฟิลล์นี้มีหน้าที่ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสงซึ่งคลอโรฟิลล์นั้นมีความคล้ายคลึงกับสารสารโพรโทฮีม (protoheme) ซึ่งมีสีแดงที่พบได้ในเลือด ในปัจจุบันคลอโรฟิลล์มักถูกใช้เป็นสารปรุงแต่งอาหารอย่างแพร่หลายโดยมีการอวดอ้างว่ามีสรรพคุณมากมาย อาทิ คลอโรฟิลล์มีฤทธิ์ในการเป็นสารต้านไม่ให้ยีนเสื่อมสลาย (antigenotoxic) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (anti-oxidant) และเป็นสารต้านมะเร็ง (anticancer) ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า คลอโรฟิลล์นั้นมีสรรพคุณดังที่อวดอ้างจริงหรือไม่

ฤทธิ์ของคลอโรฟิลล์

จากการศึกษาผลของการเป็นสารต้านมิให้ยีนเสื่อมสลาย (antigenotoxic) พบว่ามีฤทธิ์ในการป้องกันความเข้มข้นที่เป็นพิษของ 7,12-dimethylbenz[a]anthracene (DMBA) และเพิ่มความเป็นพิษต่อเซลล์ใน DMBA ซึ่งก่อให้เกิดกระบวนการแบ่งตัวและการเจริญเติบโตของเซลล์ (cell proliferation) จากการตรวจสอบร่วมผลของคลอโรฟิลล์กับสารที่มีฤทธิ์ในการเป็นสารต้านมะเร็ง เช่น oxaliplatin พบว่า คลอโรฟิลล์มีฤทธิ์ในการต้านการเกิดเซลส์มะเร็งด้วยฤทธิ์การเป็นสารต้านไม่ให้ยีนเสื่อมสลายได้

จากการศึกษาในหลอดทดลงเพื่อศึกษาฤทธิ์ในการลดการแบ่งตัวของเซลล์ของคลอโรฟิลล์ในรูปแบบของเซลล์ที่แตกต่างกันออกไป พบว่าคลอโรฟิลล์มีฤทธิ์ในการทำให้เกิดการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์ก่อมะเร็งเต้านม และก่อให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งเต้านม

การศึกษาผลของการดื่มคลอโรฟิลล์

มีการทดลองเพื่อศึกษาผลของการดื่มคลอโรฟิลล์ โดยใช้คลอโรฟิลล์ที่อยู่ในต้นอ่อนข้าวสาลี จากการศึกษาผลของการดื่มน้ำต้นอ่อนข้าวสาลี (wheat grass juice) ซึ่งประกอบด้วยคลอโรฟิลล์เข้มข้น กรดอะมิโน แร่ธาตุ วิตามินและเอนไซม์ พบว่าน้ำต้นอ่อนข้าวสาลีมีสรรพคุณในการต้านการเจริญเติบโตของมะเร็ง ต้านการเกิดแผลในกระเพาะ ต้านการอักเสบ ต้านสารอนุมูลอิสระ ต้านการเกิดข้ออักเสบและกระบวนการสร้างเม็ดเลือดในผู้ป่วยทาลัสซีเมีย และยังมีสรรพคุณที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่คือ สรรพคุณในการช่วยในเรื่องการไหลเวียนเลือด การย่อยและการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งเป็นผลมาจากสารประกอบออกฤทธิ์ทางชีวภาพและแร่ธาตุต่างๆในร่างกาย

จากสรรพคุณในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเป็นผลมาจากการมีไบโอฟลาโวนอยด์ (bioflavonoid) เช่น อะพิเจนิน (apigenin) เควอร์ซิทิน (quercitin) และลูทิโอลีน (luteoline) มากไปกว่านั้นยังมีคลอโรฟิลล์อยู่ถึง 70% ซึ่งคลอโรฟิลล์นี้มีลักษณะทางเคมีเหมือนกับฮีโมโกลบินในเลือดเกือบทั้งหมด มีจุดแตกต่างเพียงสองจุดเท่านั้น คือ องค์ประกอบส่วนกลางของคลอโรฟิลล์นั้นเป็นแมกนีเซียมในขณะที่ฮีโมโกลบินเป็นเหล็ก ดังนั้นน้ำต้นอ่อนข้าวสาลีจึงมีประโยชน์มากมายทางคลินิก โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีภาวะขาดฮีโมโกลบินและโรคเรื้อรังอื่นๆ ทำให้คลอโรฟิลล์ได้รับการขนานนามว่า เลือดสีเขียว (green blood)

นอกจากสรรพคุณโดยทั่วไปของการดื่มคลอโรฟิลล์ในน้ำต้นอ่อนข้าวสาลีแล้ว จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ยังพิสูจน์ได้ว่า คลอโรฟิลล์สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายได้ ดังนั้นการบำบัดด้วยพืชที่มีองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์จึงได้ผลดีต่อโรคผิวหนังและแผลในกระเพาอาหารโดยอาศัยฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรีย การดื่มคลอโรฟิลล์โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำต้นอ่อนข้าวสาลีจะก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของแบคทีเรียได้อีกด้วย

ร่ายกายมนุษย์ต้องการคลอโรฟิลล์หรือไม่

แม้ในการศึกษาจะพบว่าคลอโรฟิลล์ในพืชจะให้ฤทธิ์ในการต้านมะเร็งเมื่อทำการทดลองในสภาพแวดล้อมที่มีสารก่อมะเร็งในปริมาณที่มักจะพบได้ในสภาพแวดล้อมทั่วไป แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ตั้งคำถามต่อไปว่า หากคลอโรฟิลล์ถูกใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีสารก่อมะเร็งในระดับสูงจะก่อให้เกิดผลอย่างไร ซึ่งผลการทดลองพบว่าในสภาพแวดล้อมที่มีสารก่อมะเร็งในระดับสูง คลอโรฟิลล์กลับทำให้สถานการณ์ของมะเร็งย่ำแย่ลง อย่างไรก็ตามก็ได้มีนักวิทยาศาสตร์ได้ออกมาโต้แย้งว่าการทดลองในระดับที่มีสารก่อมะเร็งในระดับสูงนั้นไม่สามารถเปรียบเทียบกับสภาพในร่างกายมนุษย์ได้ ทำให้ปัจจุบันประเด็นเกี่ยวกับการบริโภคคลอโรฟิลล์ยังคงเป็นที่ถกเถียงและไม่ชัดเจนนัก ดังนั้นการเลือกบริโภคคลอโรฟิลล์จึงเป็นเพียงทางเลือกในการดูแลสุขภาพหนึ่งเท่านั้นซึ่งผู้บริโภคจะต้องติดตามผลและศึกษาผลการวิจัยใหม่ ๆ ต่อไป


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chlorophyll: Uses, Side Effects, Interactions, Dosage, and Warning. WebMD. (https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-712/chlorophyll)
Liquid Chlorophyll: Benefits, Side Effects, Dosage, and Interactions. Verywell Fit. (https://www.verywellfit.com/health-benefits-liquid-chlorophyll-4686266)
Proven benefits of chlorophyll and how to consume more. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322361)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป