ตรวจโรคเรื้อรังคืออะไร จำเป็นไหม ใครควรตรวจบ้าง?

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคเรื้อรังหรือโรคกลุ่ม NCDs เป็นโรคที่คร่าชีวิตคนเป็นอันดับ 1 การตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเรื้อรัง เป็นหนึ่งในหนทางป้องกันการเสียชีวิตได้
เผยแพร่ครั้งแรก 27 พ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ตรวจโรคเรื้อรังคืออะไร จำเป็นไหม ใครควรตรวจบ้าง?

รู้หรือไม่ว่า ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือโรค NCDs (หรือบางคนอาจรู้จักในชื่อ “โรคเรื้อรัง”) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก โดยทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคเรื้อรังกลุ่มนี้มากกว่า 40 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 71% ของการเสียชีวิตของคนทั่วโลก

ขณะที่สถานการณ์ในประเทศไทย สำนักงานสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ (สสส.) ระบุว่า หากภายในปี พ.ศ. 2573 ยังไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ประเทศไทยจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคเรื้อรังประมาณ 400,000 คนต่อปี คิดเป็น 76% ของการเสียชีวิตทั้งหมด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

จากสถิติดังกล่าว องค์กรอนามัยโลก (WHO) จึงจัดว่าโรค NCDs เป็นปัญหาใหญ่ ที่น่าจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

หนึ่งในหนทางสำคัญที่จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ คือการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และตรวจโรคเรื้อรังอย่างสม่ำเสมอ

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคเรื้อรัง หรือโรค NCDs คืออะไร?

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือกลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable Diseases) คือกลุ่มโรคที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส สารคัดหลั่งต่างๆ หรือผ่านพาหะ แต่เกิดจากวิธีการใช้ชีวิตที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย รับประทานอาหารหวาน มัน เค็มจัด

ทั้งนี้อาการของโรคกลุ่มนี้จะมีการดำเนินอย่างช้าๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง เป็นเรื้อรัง กระทั่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนอาจอันตรายถึงชีวิต

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคเรื้อรัง หรือโรค NCDs ประกอบไปด้วยโรคอะไรบ้าง?

กลุ่มโรคเรื้อรังหรือโรค NCDs ประกอบด้วยหลายโรค แต่ที่มีอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงสุด 6 โรค ได้แก่

  1. โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)
  2. โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ (Cardiovascular & Cerebrovascular Diseases )
  3. โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)
  4. โรคมะเร็ง (Cancer)
  5. โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
  6. โรคอ้วนลงพุง (Obesity)

พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคเรื้อรัง หรือโรค NCDs คืออะไร?

ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคเรื้อรัง หรือโรค NCDs คือพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • รับประทานอาหารรสเค็มจัด หวานจัด มีไขมันสูง คอเลสเตอรอลสูง โซเดียมสูง อาหารประเภทปิ้ง ย่าง เป็นประจำ
  • ไม่ออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ
  • ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ สูบบุหรี่จัด
  • ซื้อยามารับประทานเองโดยจำเป็น รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมารับประทานซ้ำๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์บางชนิดอาจสะสมในร่างกายหรือก่อให้เกิดสารตกค้างที่เป็นอันตราย
  • เครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ดื่มน้ำเปล่าน้อยกว่า 6-8 แก้วต่อวัน
  • สัมผัสกับมลพิษต่างๆ เป็นประจำ เช่น ควันจากท่อไอเสีย ควันบุหรี่ สารเคมีต่างๆ

วิธีการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคเรื้อรัง หรือโรค NCDs

การป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคเรื้อรัง หรือโรค NCDs เริ่มต้นได้ง่ายๆ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม ดังนี้

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ถูกสุขอนามัย หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเค็มจัด หวานจัด มันจัด อาหารปิ้ง ย่าง เน้นรับประทานผักผลไม้เป็นประจำ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • งดสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการซื้อยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมารับประทานเอง หากจำเป็นควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง
  • พยายามหากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ 6-8 แก้วต่อวัน
  • ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ

ตรวจโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคเรื้อรัง หรือโรค NCDs ประจำปี ทางเลือกช่วยห่างไกลโรค

การตรวจโรคเรื้อรังอย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นหนทางสำคัญที่ช่วยให้ทราบว่าร่างกายมีสัญญาณของโรคในกลุ่มนี้หรือไม่ จะได้ปรับเปลี่ยนพฤิตกรรมให้เหมาะสมอย่างทันท่วงที

ส่วนใหญ่ตามโรงพยาบาลหรือคลินิกมักมีโปรแกรมการตรวจโรคเรื้อรัง รวมอยู่ในการแพ็กเกจตรวจสุขภาพประจำปีอยู่แล้ว ประกอบไปด้วย

  • ตรวจดัชนีมวลกาย BMI (ประเมินความเสี่ยงโรคอ้วน)
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (ประเมินความเสี่ยงโรคเบาหวาน)
  • ตรวจการทำงานของไต (ประเมินความเสี่ยงโรคไต)
  • ตรวจการทำงานของตับ (ประเมินความเสี่ยงโรคตับ)
  • ตรวจกรดยูริค (ประเมินความเสี่ยงโรคเกาต์)
  • ตรวจระดับไขมันในเลือด (ประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ)
  • เอกซเรย์ปอด (ประเมินความเสี่ยงโรคปอด)

รายการที่ระบุข้างต้นเป็นเพียงรายการขั้นพื้นฐาน เหมาะสำหรับผู้ที่อายุ 15-30 ปี ที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ แต่หากคุณอายุมากขึ้น หรือมีโรคประจำตัวอื่นใดๆ ก็ควรเลือกโปรแกรมการตรวจที่เหมาะสมกับร่างกาย

ค่าใช้จ่ายในการตรวจโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคเรื้อรัง หรือโรค NCDs ประจำปี

การตรวจสุขภาพที่ช่วยหาความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้น ควรทำเป็นประจำทุกปี ที่โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน หรือคลินิกต่างๆ โดยส่วนใหญ่ราคาจะเริ่มต้นที่ 1,000 บาทขึ้นไป ไปจนถึงหลักหมื่น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมว่ามีความละเอียดมากน้อยเพียงใด

ยิ่งคุณอายุมากขึ้น รายการตรวจที่จำเป็นก็ยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย ผู้สนใจควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลนั้นๆ เพื่อเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับช่วงวัยและสุขภาพ

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แม้จะเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ถือเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยเริ่มต้นจากตัวคุณเอง ไม่ว่าจะเป็นการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย รวมทั้งการตรวจโรคเรื้อรังอย่างสม่ำเสมอ หากคุณปฏิบัติได้ตามที่กล่าวมา ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการป่วยและเสียชีวิตจากโรคเรื้อรังลงได้


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รศ. นพ. เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, โรค NCDS คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด, (https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/โรค-ncds-คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด/), 1 มิถุนายน 2562.
รศ. พญ. นันทกร ทองแตง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCDs), (https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1371), 18 มีนาคม 2562.
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, กลุ่มโรคไม่ติดต่อ (NCDs)...โรคที่เกิดจากพฤติกรรม, (https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/may-2016/ncds-non-communicable-diseases-symptoms-prevention).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)