ลักษณะทางคลินิกของโรคฮันติงตันนั้นได้แก่ ปัญหาทางจิตเวช และปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรม การทานอาหาร การสื่อสาร และการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
ผู้ป่วยสามารถเริ่มแสดงลักษณะของโรคฮันติงตันเป็นครั้งแรกได้ในทุกช่วงอายุ แต่ส่วนใหญ่จะเริ่มมีปัญหาดังกล่าวในช่วงระหว่างอายุระหว่าง 35 ถึง 55 ปี
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ความผิดปกติจะดำเนินไปเรื่อย ๆ และรุนแรงขึ้นโดยใช้เวลาประมาณ 10-25 ปีจนกว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิตในที่สุด อาการและอาการแสดงอาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคลและไม่มีรูปแบบแน่นอน
ลักษณะในช่วงแรกที่แสดงให้เห็น ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงบุคลิก อารมณ์แปรปรวน และพฤติกรรมที่ผิดปกติซึ่งมักถูกมองข้ามไปในตอนแรกเพราะคิดว่าเกิดจากสิ่งกระตุ้นอื่นในชีวิตประจำวัน
บางคนที่เป็นโรคฮันติงตันอาจไม่รู้ว่าตนเองมีปัญหาดังกล่าวซ่อนอยู่ด้วยซ้ำ
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมักเป็นลักษณะแรกที่ปรากฏขึ้นในผู้ป่วยโรคฮันติงตัน และอาจเป็นอาการที่น่าวิตกกังวลมากที่สุด การเปลี่ยนแปลงมักได้แก่:
- ไร้ความรู้สึกต่อผู้อื่น และไม่ตระหนักถึงความต้องการของผู้อื่นในครอบครัว
- มีช่วงเวลาก้าวร้าว ตื่นเต้น ซึมเศร้า นิ่งเฉย ต่อต้านสังคม และความโกรธสลับกันไปมาเป็นช่วง ๆ
- ปัญหาเรื่องสมาธิในการทำงานมากกว่าหนึ่งงาน และการจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ซับซ้อน
- หงุดหงิดฉุนเฉียวและหุนหันพลันแล่น
คนที่เป็นโรคฮันติงตันอาจดูเหมือนเป็นคนขาดแรงผลักดัน ขาดแรงบันดาลใจและขาดสมาธิ สิ่งเหล่านี้ทำให้พวกเขาดูเป็นคนขี้เกียจ อย่างไรก็ตามความขี้เกียจไม่ได้เกิดจากนิสัยส่วนตัวแต่อย่างใด หากแต่เป็นผลที่ความผิดปกติดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสมอง และเนื่องจากเหตุผลดังกล่าว พวกเขายังอาจขาดความสนใจในด้านสุขอนามัยและการดูแลตนเองร่วมด้วย
ปัญหาทางจิตเวช
หลายคนที่เป็นโรคฮันติงตันมีภาวะซึมเศร้าด้วย ภาวะนี้เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของโรคไม่ได้เกิดจากการตอบสนองของผู้ป่วยต่อการวินิจฉัย อาการของภาวะซึมเศร้า ได้แก่ อารมณ์เศร้าอย่างต่อเนื่อง ความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ ขาดแรงจูงใจ หรือขาดความสนใจในสิ่งต่าง ๆ และรู้สึกสิ้นหวังท้อแท้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ผู้ป่วยบางคนอาจเกิดพฤติกรรมย้ำคิด และปัญหาคล้ายกับโรคจิตเภทขึ้นได้ด้วยแม้ว่าจะพบได้ค่อนข้างหายาก
งานศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่าผู้ที่เป็นโรคฮันติงตันมีแนวโน้มที่จะคิดฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใกล้ถึงเวลาต้องรับการวินิจฉัยเพราะอาการเริ่มปรากฏเห็นชัดขึ้น และเมื่อเริ่มสูญเสียความเป็นอิสระหรือไม่สามารถดูแลตนเองได้อีกต่อไป
ปัญหาการเคลื่อนไหว
โรคฮันติงตันส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ลักษณะของโรคในช่วงแรก ได้แก่ การเคลื่อนไหวที่ไม่สามารถควบคุมได้ของใบหน้าเล็ก ๆ น้อย ๆ เกิดขึ้นเอง และการเคลื่อนไหวของแขนขาและลำตัวคล้ายกับการกระตุกหรือกระพือปีก อาการเหล่านี้จะส่งผลกระทบในบริเวณหนึ่งแล้วย้ายไปยังบริเวณอื่นไปเรื่อย ๆ และอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดการสะดุดและล้มลงได้
ลักษณะความผิดปกติของการเคลื่อนไหวเหล่านี้มักปรากฏให้เห็นเป็นครั้งแรกเมื่อผู้ป่วยกำลังเดินหรือพักผ่อน เช่น นั่งบนเก้าอี้ หรือนอนบนเตียง
ในขณะที่สภาวะของโรคดำเนินไปเรื่อย ๆ การเคลื่อนไหวที่ไม่สามารถควบคุมได้ดังกล่าวจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติน้อยลงในระยะท้าย ๆ ของโรคได้เนื่องจากกล้ามเนื้อของพวกเขาแข็งเกร็งมากขึ้น และทำให้การเคลื่อนไหวของผู้ป่วยช้าลง
ปัญหาการทานอาหาร
ผู้ที่เป็นโรคฮันติงตันมีแนวโน้มที่จะสูญเสียน้ำหนัก แม้ว่าจะมีความอยากอาหารตามปกติก็ตาม ผู้ป่วยอาจพบว่าการทานอาหารเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย น่าหงุดหงิด และยุ่งยากเพราะกล้ามเนื้อปากและลำคอไม่สามารถทำงานสัมพันธ์กันได้อย่างถูกต้องเนื่องจากการสูญเสียการสั่งการควบคุมกล้ามเนื้อจากสมอง ในบางกรณี ก็อาจทำให้เกิดการสำลัก และทำให้เกิดการติดเชื้อในทรวงอกซ้ำตามมาได้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การสูญเสียการประสานงานของระบบประสาทอาจส่งผลให้ทำน้ำหกหรือทำอาหารหล่นได้บ่อยครั้ง การกลืนก็มักมีปัญหาโดยมักสำลักอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องดื่มบางชนิด เช่น การสำลักน้ำเปล่านั้นถือเป็นปัญหาที่พบบ่อย
การส่งต่อผู้ป่วยให้กับนักโภชนาการหรือนักบำบัดด้านการพูดและภาษาอาจมีความจำเป็นในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาในการกลืน ในบางกรณีอาจจำเป็นต่อใส่หลอดให้อาหารเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารครบถ้วน
ปัญหาด้านการสื่อสาร
การสื่อสารและความคิดด้านต่าง ๆ ทั้งการรับรู้ ความสำนึก ความคิดและการตัดสินใจก็ได้รับผลกระทบจากโรคฮันติงตันเช่นกัน
ผู้ป่วยมักมีปัญหาในการเปลี่ยนความคิดของตนเองเป็นคำพูด และมีอาการพูดไม่รู้เรื่อง จับใจความไม่ได้ พวกเขาสามารถเข้าใจสิ่งที่ตนเองกำลังได้ยิน แต่อาจไม่สามารถตอบสนองหรือสื่อสารได้ว่าพวกเขาเข้าใจสิ่งเหล่านั้น อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วยโรคฮันติงตันจะเริ่มตอบสนองน้อยลง ถอนตัวจากสังคม และไม่ทำการสื่อสารใด ๆ มากขึ้น
ปัญหาทางเพศ
คนที่เป็นโรคฮันติงตันมักเกิดปัญหาในเรื่องเพศสัมพันธ์ด้วยเช่นกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกของโรคซึ่งมักจะเป็นเรื่องความต้องการทางเพศที่ลดลงหรือหายไป หรือในกรณีที่พบได้น้อยกว่านั้นก็สามารถทำให้ความต้องการทางเพศที่ผิดปกติขึ้นมา
ช่วงท้ายของชีวิต
ในระยะหลัง ๆ ของผู้ป่วยโรคฮันติงตัน พวกเขาจำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่นอย่างเต็มที่และต้องการการดูแลรักษาแบบเต็มรูปแบบ
การเสียชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้มักเกิดจากภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคปอดบวม หรือการติดเชื้ออื่น
คุณอาจพบว่าแผนหรือคำแนะนำเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองนั้นเป็นประโยชน์ หากคุณกำลังดูแลผู้ป่วยที่ใกล้ถึงจุดจบของชีวิตหรือคุณต้องการวางแผนการดูแลรักษาในตอนท้ายของชีวิตของพวกเขาให้ดีที่สุด
โรคฮันติงตันในผู้เยาว์ (Juvenile Huntington's disease)
โรคฮันติงตันในผู้เยาว์เป็นรูปแบบของโรคที่พบได้น้อยกว่าซึ่งอาการของโรคนั้นเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี อาการต่าง ๆ ที่มักสังเกตได้มีดังนี้:
- ผลการเรียนของเด็กคนดังกล่าวแย่ลงอย่างรวดเร็ว
- ลายมือในการเขียนหนังสือเปลี่ยนไป
- เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เช่น เคลื่อนที่ช้าลง ตัวแข็ง กล้ามเนื้อสั่น หรือเกิดการกระตุกของกล้ามเนื้อคล้ายกับลักษณะของโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
- เกิดอาการชัก