เปลี่ยนวิถีชีวิต ปรับนาฟิกาชีวิต ของอวัยวะต่างๆในร่างกายให้ปกติ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

นาฬิกาชีวิต คือช่วงเวลาที่สำคัญของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย และสิ่งที่เราควรกระทำ(และไม่ควรทำ)ในช่วงเวลานั้นๆ เพื่อให้สุขภาพของเรานั้นแข็งแรงมากขึ้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คนรักสุขภาพควรจะศึกษา และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราให้ตรงตามช่วงเวลาของอวัยวะต่างๆ จะทำให้เรานั้นมีสุขภาพที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง

ช่วงเวลาของ ตับ

ตีหนึ่งถึงตีสาม ตับจะหลั่งสารที่ทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคภายในร่างกาย และสารแห่งความสุขออกมาก ซึ่งจะช่วยให้เราดูอ่อนกว่าวัย ซึ่งการขจัดสารพิษนั้นถือเป็นหน้าที่หลักของตับ ช่วยแบ่งเบาภาระของไตได้อีกทางหนึ่งด้วย สิ่งที่เราควรทำในช่วงนี้คือนอนหลับให้สนิท เพื่อให้ตับทำงานได้อย่างเต็มที่ และสิ่งที่ไม่ควรทำมากที่สุดในช่วงเวลาของตับคือการรับประทานอาหาร เพราะตับจะต้องไปทำหน้าที่ในการผลิตน้ำย่อย ทำให้ตับไม่สามารถมาทำหน้าที่หลักได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราโดยตรงคือทำให้ตับนั้นทำงานหนักกว่าปกติ และกำจัดเชื้อโรคได้น้อยลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ช่วงเวลาของ ปอด

ตีสามถึงตีห้า เป็นช่วงเวลาที่ปอดจะทำงานอย่างเต็มที่ เราควรออกไปสูดอากาศที่บริสุทธิ์ จึงเป็นเหตุผลว่าใครที่ตื่นนอนในเวลานี้ จึงมีสุขภาพที่แข็งแรงกว่าคนที่ตื่นนอนสายๆ เพราะในห้องนอนของเรานั้นไม่สามารถให้อากาศที่บริสุทธิ์ได้เท่ากับภายนอก สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงนี้คงหนีไม่พ้นควัน หรือกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ต่างๆ

ช่วงเวลาของ ลำไส้ใหญ่

ตีห้าถึงเจ็ดโมงเช้า คือช่วงเวลาที่เราควรจะขับถ่ายอุจจาระมากที่สุด เราควรฝึกให้ร่างกายชินกับการขับถ่ายในตอนเช้า เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง หากใครที่ยังไม่เคยชินอาจต้องปรับเวลาในการรับประทานอาหารให้เหมาะสม และการดื่มน้ำ ผสมน้ำผึ่งกับมะนาวช่วยคุณได้ในระยะเริ่มต้น

ช่วงเวลาของ กระเพาะอาหาร

เจ็ดโมงเช้าถึงเก้าโมง คือระยะเวลาที่กระเพาะอาหารของเรานั้นทำงานได้เต็มที่ เราจึงควรทานอาหารเช้าในช่วงระยะเวลานี้ จะส่งผลดีต่อร่างกายมากที่สุด นี่อาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่มีงานวิจัยมากมายออกมาสนับสนุน ข้อดีของการรับประทานอาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญ

ช่วงเวลาของ ม้ามและตับอ่อน

เก้าโมงถึงสิบเอ็ดโมงเช้า เป็นช่วงเวลาแห่งการขจัดเซลล์เม็ดเลือดแดงที่หมดสภาพ และผลิตน้ำดีมาช่วยย่อยอาหาร ร่างกายของเราจะตื่นตัวมากที่สุดในช่วงนี้ เหมาะสมแก่การทำงาน หรือใช้ความคิดอย่างมาก และสิ่งที่ไม่ควรทำที่สุดคือการนอนหลับ หากใครที่ง่วงในช่วงเวลานี้ ควรตะหนักได้เลยว่า ร่างกายของเรานั้นเริ่มจะไม่ปกติเสียแล้ว

ช่วงเวลาของ หัวใจ

สิบเอ็ดโมงถึงบ่ายโมง เป็นเวลาที่หัวใจเราจะทำงานหนักที่สุด ส่งผลให้ความดันของโลหิตสูงขึ้น สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงมากที่สุดในช่วงเวลานี้คือความเครียด หากใครที่เครียดมากจากการทำงานในช่วงเช้าควรจะผ่อนคลายเสียก่อนจะเข้าช่วงเวลานี้ ในช่วงพักกลางวันเราก็ควรพักให้เต็มที่ ไม่ควรทำงานในช่วงนี้โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้ความคิด หรืองานเครียดๆ มีฉะนั้นหัวใจของเราอาจต้องทำงานหนัก และเสี่ยงต่ออาการหัวใจวาย หรือเส้นเลือดแตกอีกด้วย

ช่วงเวลาของ ลำไส้เล็ก

บ่ายโมงถึงบ่ายสาม คือช่วงเวลาที่ลำไส้เล็กจะทำการย่อย และดูดซึมสารอาหารได้ดีที่สุด เราจึงไม่ควรพลาดในการทานอาหารกลางวัน ควรจะทานในช่วงเที่ยง และไม่ควรเกินบ่ายโมงจะดีที่สุด และไม่ควรรับประทานอาหารในช่วงเวลานี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ช่วงเวลาของ กระเพาะปัสสาวะ

ช่วงเวลาห้าโมงเย็น เป็นช่วงเวลาที่จะขับของเสียที่เป็นของเหลวออกจากร่างกาย เราสามารถช่วยแบ่งเบาภาระโดยการทำให้เหงื่อออก ด้วยการออกกำลังกาย และเป็นช่วงเวลาที่เหมาะแก่การออกกำลังกายมากที่สุดของวันอีกด้วย 

ช่วงเวลาของ ไต

ห้าโมงถึงหนึ่งทุ่ม ไตจะกรองของเสียออกจากร่างกาย และปรับสมดุลภายในร่างกาย ในช่วงเวลานี้ควรดื่มน้ำสะอาด และไม่ควรดื่มน้ำเย็น ไม่ควรนอนหลับ ไม่ควรออกกำลังกายโดยเฉพาะหลังหกโมง เพราะเป็นอีกช่วงเวลาที่ความดันโลหิตจะสูงขึ้น และอาจทำให้นอนไม่หลับอีกด้วย

ช่วงเวลาของ ถุงน้ำดี

เป็นช่วงเวลาที่จะเตรียมการให้กับตับในช่วงเวลาถัดไป คือการไปย่อยไขมันเตรียมนำออกจากร่างกาย  

ช่วงเวลาของ การปรับร่างกาย

สามทุ่มถึงห้าทุ่ม เป็นช่วงที่ร่างกายจะปรับสมดุล และเริ่มหลังเมลาโทนิน ช่วงเวลานี้เราควรเริ่มการพักผ่อน ไม่ควรอาบน้ำเย็น หรือออกไปตากอากาศเย็นๆในช่วงนี้

เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับช่วงเวลาการทำงานของอวัยวะต่างภายในร่างกาย หากใครที่ต้องการมีสุขภาพที่แข็งแรง นอกจากการกินอาหาร และการออกกำลัง การมีกิจวัตรประจำวันที่เหมาะสมก็ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้ปัจจัยอื่นเลยที่เดียว


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
8 Lifestyle Changes to Protect Your Heart. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/hs/heart-disease-risk/lifestyle-changes-protect-heart/)
7 ways to jumpstart healthy change in your life. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/healthbeat/7-ways-to-jumpstart-healthy-change-in-your-life)
Changing Your Habits for Better Health. National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (NIDDK). (https://www.niddk.nih.gov/health-information/diet-nutrition/changing-habits-better-health)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อุปกรณ์ออกกำลังกายพกพาสำหรับนักกีฬาที่ต้องเดินทาง
อุปกรณ์ออกกำลังกายพกพาสำหรับนักกีฬาที่ต้องเดินทาง

ไอเดียอุปกรณ์ออกกำลังกายสำหรับนักเดินทาง

อ่านเพิ่ม
ชีพจรขณะพักคืออะไร
ชีพจรขณะพักคืออะไร

ทำความรู้จักค่าชีพจรที่เหมาะสมในแต่ละวัย และวิธีการวัดชีพจรแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่ม
ค่าการเต้นของหัวใจสูงสุด - ทำความเข้าใจค่าการเต้นของหัวใจสูงสุดของคุณ
ค่าการเต้นของหัวใจสูงสุด - ทำความเข้าใจค่าการเต้นของหัวใจสูงสุดของคุณ

ค่าอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดสำคัญอย่างไร คำนวณค่าของตัวเองอย่างไร และนำไปคำนวณค่าระดับความเข้มข้นในการออกกำลังกายอย่างไร

อ่านเพิ่ม