การส่องกล้องปากมดลูกด้วยโคลโปสโคปเป็นกระบวนการเพื่อหาร่องรอยของเซลล์ที่ผิดปกติข้างในปากมดลูกหรือช่องคลอดผู้หญิง โดยปากมดลูกเป็นส่วนหนึ่งของมดลูกที่อยู่ภายในช่องคลอดความผิดปกติที่มักพบกันจะอยู่ที่ปากมดลูกไปจนถึงหนทางคลอด โดยการส่องกล้องปากมดลูกด้วยกล้องโคลโปสโคปจะทำให้แพทย์สามารถหาความผิดปกติต่าง ๆ ได้
การมีอยู่ของ “เซลล์ที่ผิดปกติ” ในผู้หญิงบางรายจะเป็นความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก อีกทั้งการใช้กล้องดังกล่าวก็สามารถใช้เพื่อช่วยกำหนดแนวทางจัดการกับเซลล์ดังกล่าวได้อีกเช่นกัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
จะมีการใช้กระบวนการส่องกล้องปากมดลูกเมื่อไร?
จะมีการทำการส่องกล้องปากมดลูกหลังจากที่ผ่านการทดสอบคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก แต่ก็สามารถใช้กระบวนการนี้ได้ด้วยเหตุผลอื่น ๆ อย่างเช่น:
- ผลจาการตัวอย่างเซลล์ปากมดลูกของคุณพบความผิดปรกติ (ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเซลล์มะเร็งเสมอไป)
- คุณติดเชื้อเฮชพีวี (human papillomavirus – HPV) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงเซลล์ที่ผิดปรกติให้กลายเป็นเซลล์มะเร็ง
- คุณผ่านการตรวจคัดกรองแล้วหลายครั้ง แต่ไม่อาจให้ผลชี้ชัดได้
แพทย์หรือพยาบาลที่ดำเนินการทดสอบคัดกรองปากมดลูกสรุปคร่าว ๆ ว่าผลตรวจปากมดลูกของคุณดูไม่ปกติเท่าไรนัก
การส่องกล้องตรวจปากมดลูกยังถูกใช้เพื่อตรวจสอบอาการเลือดออกจากช่องคลอด (ยกตัวอย่างเช่น หลังจากมีเพศสัมพันธ์) หรือมีปากมดลูกอักเสบที่หาสาเหตุไม่ได้อีกด้วย
เกิดอะไรขึ้นระหว่างกระบวนการส่องกล้องปากมดลูก?
กระบวนการนี้มักดำเนินการกับผู้ป่วยนอกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
คุณจะถูกจัดให้นอนบนเก้าอี้ชนิดพิเศษที่มีแผ่นรองหนุนขาของคุณ และจะมีการใช้เครื่องมือถ่างช่องคลอดที่เรียกว่าปากเป็ดสอดเข้าไปในช่องคลอดของคุณอย่างเบามือเพื่อทำการขยายช่องคลอดให้แพทย์ตรวจสอบภายใน
จะมีการใช้กล้องจุลทรรศน์ที่เรียกว่าโคลโปสโคปที่ติดตั้งไฟส่องเพื่อทำการส่องภายในช่องคลอด โดยจะไม่ดันกล้องดังกล่าวเข้าไปข้างใน แต่ตัวกล้องจะอยู่ข้างนอกร่างกายของคุณตลอดกระบวนการ ซึ่งหากกล้องโคลโปสโคปมีกล้องถ่ายติดอยู่ด้วย คุณก็สามารถดูภาพภายในช่องคลอดของคุณได้จากหน้าจอเล็ก ๆ และจะมีการใช้สารละลายบางชนิดเข้าไปยังช่องคลอดของคุณเพื่อทำการชี้จุดที่มีความผิดปรกติ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
หากพบพื้นที่ที่ไม่ปกติ จะมีการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อชิ้นเล็ก ๆ ออกมาเพื่อการทดสอบด้วยใช้เครื่องมือขลิบซึ่งไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดมากจนเกินไป เป้าหมายของการตัดชิ้นเนื้อก็เพื่อยืนยันกับผลตรวจคัดกรองของคุณว่าพบความผิดปรกติจริงหรือไม่
ในบางกรณี แพทย์ที่ทำการตรวจปากมดลูกของคุณก็สามารถสรุปยืนยันการทดสอบคัดกรองได้ว่ามีความผิดปรกติจริง ๆ โดยไม่ต้องทำการขลิบชิ้นเนื้อออกมาตรวจแต่อย่างใด ซึ่งทั้งสองกรณีแพทย์จะตัดสินใจดำเนินขั้นตอนการรักษาต่อไปทันที
กระบวนการส่องกล้องตรวจปากมดลูกมักจะใช้เวลาประมาณ 5 นาที และอาจจะยืดเยื้อได้มากกว่านั้นหากมีการรักษาต่อ (10 ถึง 15 นาที) ซึ่งเวลาการตรวจนี้ได้รวมขั้นตอนปรึกษาพูดคุยปัญหาไปด้วยจึงทำให้เวลาพบแพทย์โดยรวมอาจจะยาวประมาณ 20 ถึง 30 นาที
กระบวนการนี้จะสร้างความรู้สึกไม่สบายตัวให้ผู้ตรวจเล็กน้อย หากคุณรู้สึกเจ็บระหว่างดำเนินการ ต้องแจ้งแพทย์ที่ทำการตรวจอยู่ทันที โดยพวกเขาสามารถหยุดกระบวนการหรือหาทางจัดการกับความเจ็บปวดดังกล่าวให้คุณได้
ผลตรวจการส่องกล้องปากมดลูก
แพทย์ที่ทำการตรวจช่องคลอดของคุณมักจะบอกได้ทันทีเมื่อพบเซลล์ผิดปกติในช่องคลอด สำหรับขั้นตอนตรวจสอบชิ้นเนื้อที่ตัดออกมานั้นมักจะใช้เวลาประมาณ 4 อาทิตย์ โดยผลตรวจจะถูกส่งให้กับทั้งตัวคุณและแพทย์เจ้าของไข้
โดยผู้หญิง 4 จาก 10 คนจะมีผลตรวจช่องคลอดปกติดี หมายความว่ามดลูกมีสุขภาพดีและมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกต่ำ หลังจากนั้นคุณจะถูกนัดให้มาทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอีกครั้งภายใน 3 หรือ 5 ปี ขึ้นอยู่กับอายุของคุณ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ผู้หญิง 6 จาก 10 คนที่ผ่านการส่องกล้องปากมดลูกด้วยโคลโปสโคปจะพบเซลล์ที่ผิดปกติภายในมดลูก ซึ่งเซลล์ดังกล่าวยังไม่ใช่เนื้อร้าย แต่อาจจะพัฒนากลายเป็นมะเร็งได้หากปล่อยทิ้งเอาไว้ ในกรณีนี้แพทย์จะส่งเคสของคุณให้กับทีมเยียวยารักษา
มีกรณีน้อยมาก ๆ ที่จะพบเซลล์มะเร็งปากมดลูกระหว่างการส่องกล้องปากมดลูกด้วยโคลโปสโคป ซึ่งหากเป็นกรณีเช่นนี้แพทย์จะส่งเคสของคุณให้กับทีมเยียวยารักษาทันที
เนื่องจากว่ามะเร็งปากมดลูกสามารถถูกตรวจพบได้จากการตรวจคัดกรองในระยะแรก ๆ ทำให้สามารถรักษาภาวะได้อย่างทันท่วงที นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ผู้หญิงทุกคนควรทำการตรวจคัดกรองทุกครั้งเมื่อมีโอกาส
การเยียวยาระหว่างการส่องกล้องปากมดลูก
ความผิดปรกติที่ไม่รุนแรงอาจไม่จำเป็นต้องถูกรักษาในทันทีเสมอไป ซึ่งหากเป็นกรณีตรงกันข้าม แพทย์จะทำการตัดเซลล์มดลูกที่ผิดปรกตินั่นออกโดยพยายามเหลือเนื้อเยื่อปกติโดยรอบให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
การรักษาทั่วไปคือ large loop excision of the transformation zone (LLETZ) โดย transformation zone หมายถึงพื้นที่เนื้อเยื่อที่เป็นทางเข้าหนทางคลอด กระบวนการ LLETZ จะเป็นการใช้ห่วงลวดความร้อนในการนำเซลล์ที่ผิดปกติออกมา และในกรณีส่วนมากจะดำเนินการพร้อมกับยาชา กระบวนการนี้จะใช้เวลาไม่กี่นาทีและสามารถดำเนินการไปพร้อมกับการส่องกล้องตรวจปากมดลูกได้
การนำเซลล์ปากมดลูกที่ผิดปกติออกมานั้นมีโอกาสสำเร็จสูง (โอกาสสำเร็จอยู่ที่ประมาณ 90%) หลังจากนั้นคุณจะถูกนัดให้พบแพทย์อีกครั้งเพื่อทำการตรวจติดตามผลการคัดกรองปากมดลูกเพื่อดูสภาพการรักษาว่าสมบูรณ์ดีหรือไม่
พยายามสงบสติเอาไว้
หากคุณถูกส่งต่อให้ทำการตรวจส่องกล้องหลังจากที่พบความผิดปรกติในช่องคลอดจากการตรวจคัดกรอง คุณไม่ควรตีโพยตีพายในทันทีว่าตนเองป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก
ผู้หญิงที่ถูกส่งให้ไปทำการตรวจโคลโปสโคปน้อยกว่า 1 ใน 1,000 คนเท่านั้นที่ถูกพบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกซึ่งต้องการการรักษาในทันที
ผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกก็สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อย ๆ เนื่องจากเซลล์จะเกิดความเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ซึ่งสำหรับมะเร็งจะใช้เวลาเติบโตค่อนข้างนานหลายปี ทำให้การตรวจหาและรักษาเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงไปในระยะเริ่มต้นนั้นจะช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์เนื้อร้ายเติบโตไปมากกว่านี้ได้
การคัดกรองปากมดลูก
การคัดกรองปากมดลูกเป็นการทดสอบและตรวจสุขภาพของปากมดลูกผู้หญิง โดยจะมองหาเซลล์ที่ผิดปกติในมดลูกซึ่งในบางกรณี การปล่อยความผิดปกตินั้นเอาไว้อาจพัฒนากลายเป็นมะเร็งปากมดลูกได้
การตรวจคัดกรองทั่วไปจะช่วยตรวจหาร่องรอยการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในระยะเริ่มต้น และหากจำเป็นการสามารถทำการดึงเซลล์ดังกล่าวออกมาเพื่อป้องกันการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้
การทดสอบประมาณ 1 ใน 20 ครั้งจะพบการเปลี่ยนแปลงเซลล์มดลูกระดับกลาง ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำการรักษาเนื่องจากเซลล์ดังกล่าวสามารถกลับสู่ภาวะปกติได้เอง
คาดประมาณว่ามีการทดสอบคัดกรองมดลูก 1 ใน 100 ครั้งเท่านั้นที่พบการเปลี่ยนแปลงเซลล์ในระดับค่อนข้างสูง และอีก 1 ใน 200 ครั้งที่พบการเปลี่ยนแปลงในระดับรุนแรง ซึ่งหากคุณอยู่ในกรณีใดกรณีหนึ่งคุณต้องเข้ารับการส่องกล้องตรวจมดลูกและรับรักษา
และผู้หญิงน้อยกว่า 1 ใน 1,000 คนที่เข้ารับการตรวจปากมดลูกด้วยโคลโปสโคปจะพบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกที่ต้องรับการรักษาทันที
การตรวจสอบเพิ่มเติมด้วยวิธีการส่องกล้องปากมดลูก
แม้ว่าการตรวจคัดกรองปากมดลูกมักจะให้ผลว่าเป็นเนื้อร้ายจะมีน้อยมาก ๆ แต่ก็ควรทำการตรวจสอบหาร่องรอยของเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงในระดับสูงและรุนแรง เพื่อระบุถึงปัญหาที่อาจจะซ่อนอยู่ข้างในและทำการรักษาให้ทันท่วงที
คุณอาจถูกส่งไปตรวจด้วยการส่องกล้องโคลโปสโคปเผื่อไว้ก่อนหากห้องปฏิบัติการณ์ไม่สามารถสรุปผลการตรวจจากตัวอย่างการตรวจคัดกรองได้
การตรวจมดลูกด้วยการส่องกล้องจะทำให้แพทย์สามารถตรวจสอบพื้นผิวเนื้อเยื่อภายในมดลูกได้อย่างใกล้ชิด ทำให้สามารถชี้ชัดถึงตำแหน่งและการเติบโตของเซลล์แปลกปลอม
การตรวจมดลูกด้วยการส่องกล้องไม่ได้ใช้เพื่อรักษาเยียวยาเซลล์ที่ผิดปรกติ แต่เป็นเพียงวิธีการตรวจสอบดูการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ให้ละเอียดมากขึ้น สำหรับการรักษาที่ดำเนินการระหว่างการส่องกล้องปากมดลูกนั้นจะเกิดขึ้นหากมีการตรวจพบเซลล์ที่ผิดปรกติ
เหตุผลอื่นของการส่องกล้องปากมดลูก
การตรวจมดลูกด้วยการส่องกล้องสามารถใช้เพื่อเหตุผลเพิ่มเติมต่อไปนี้ได้อีกเช่นกัน:
ตรวจหาภาวะเลือดออกจากช่องคลอดที่หาสาเหตุไม่ได้: ยกตัวอย่างเช่นหลังจากมีเพศสัมพันธ์
- ปากมดลูกมีรูปร่างผิดเพี้ยนไปหลังจากการตรวจ
- ปากมดลูกอักเสบ
- มีเนื้องอก (ที่ไม่ใช่มะเร็ง) โตขึ้นมา: อย่างเช่นติ่งเนื้อ หรือก้อนซิสท์
- หรือมีหูดที่อวัยวะเพศ เป็นต้น
การส่องกล้องปากมดลูกด้วยโคลโปสโคปดำเนินการอย่างไร?
การตรวจมดลูกด้วยการส่องกล้องเป็นกระบวนการที่รวดเร็วและปลอดภัย แต่สำหรับผู้หญิงที่เข้าตรวจบางคนอาจมีความรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัวและอาจเจ็บปวดเล็กน้อยได้
ให้แจ้งแพทย์ที่กำลังดำเนินการทันทีหากคุณเกิดรู้สึกเจ็บปวด
การตรวจมดลูกด้วยการส่องกล้องเป็นกระบวนการที่สามารถดำเนินการระหว่างการตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย
ก่อนการตรวจ
คุณจะถูกส่งไปทำการส่องกล้องตรวจมดลูกหากว่าผลการทดสอบคัดกรองมดลูกของคุณพบการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในมดลูกหรือมีอาการปวดเชิงกรานหรือมีเลือดออกจากช่องคลอดแบบที่หาสาเหตุไม่ได้ โดยมักจะดำเนินการตามโรงพยาบาลทั่วไปในแผนกผู้ป่วยนอก
คุณสามารถร้องขอให้แพทย์หรือพยาบาลที่ทำการตรวจคุณเป็นผู้หญิงก็ได้ โดยต้องแจ้งและร้องขอไปยังสถานพยาบาลก่อนวันตรวจจริง และเพื่อความสบายใจ คุณสามารถพาเพื่อน ครอบครัว หรือคู่สมรสมาก็ได้
ให้ติดต่อทางโรงพยาบาลทันทีหากในวันตรวจคุณมีประจำเดือนมา สำหรับกรณีที่เป็นการส่องตรวจมดลูกครั้งแรก คุณต้องมาตามที่นัดโดยไม่สามารถทำการเลื่อนจากเหตุมีประจำเดือนได้ แต่หากเป็นการนัดติดตามผล คุณก็สามารถทำการเลื่อนนัดได้ กระบวนการส่องกล้องตรวจมดลูกนั้นสามารถทำขณะตั้งครรภ์ได้อย่างไม่เป็นปัญหาใด ๆ
อย่ามีเพศสัมพันธ์หรือใช้ยาทางช่องคลอด อย่าใช้สารหล่อลื่น ครีม หรือผ้าอนามัยแบบสอดอย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ
ให้เตรียมแผ่นอนามัยมาในวันตรวจด้วย เนื่องจากหลังจากตรวจเสร็จอาจจะมีของเหลวขับออกมาหรือมีเลือดไหลออกมาเล็กน้อยจากช่องคลอดหากมีการตัดชิ้นเนื้อออก
ระหว่างการตรวจ
แพทย์ผู้ดำเนินการตรวจจะอธิบายขั้นตอนต่าง ๆ แก่คุณ และช่วยให้คุณผ่อนคลายระหว่างดำเนินการ
คุณจะต้องเปลื้องเสื้อผ้าส่วนล่างตั้งแต่เอวลงไป และนอนลงบนเก้าอี้แบบพิเศษในท่างอเข่า โดยขาของคุณจะถูกรองไว้ด้วยแผ่นรอง ซึ่งหากคุณสวมกระโปรงมาก็สามารถรวบกระโปรงขึ้นแทนการถอดได้
แพทย์จะค่อย ๆ สอดอุปกรณ์ที่เรียกว่าปากเป็ดเข้าไปยังช่องคลอดของคุณเพื่อเปิดช่องคลอดทำให้กล้องส่องสามารถเข้าไปจับภาพใกล้ ๆ มดลูกของคุณได้ ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับตอนที่ทำการตรวจคัดกรองมดลูก
แพทย์จะป้ายของเหลวต่าง ๆ ลงมดลูกของคุณ ซึ่งจะย้อมเซลล์ที่ผิดปกติเป็นสีที่ต่างออกไป ทำให้คุณสามารถมองเห็นได้จุดผิดปกติชัดเจนขึ้น โดยคุณอาจรู้สึกจั๊กจี้หรือแสบร้อนนิดหน่อยขณะที่ของเหลวดังกล่าวถูกทาลงบนมดลูกของคุณ
หากพบเซลล์ที่ผิดปรกติ แพทย์จะเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อชิ้นเล็ก ๆ ออกมา (ตัดออกมาด้วยขนาดไม่กี่มิลลิเมตร) ซึ่งไม่ควรมีความรู้สึกเจ็บปวดใ ด ๆ นอกจากความรู้สึกเหมือนถูกหยิกหรือถูกตำเล็กน้อย หากจำเป็นจริง ๆ แพทย์ก็สามารถให้ยาชากับบริเวณดังกล่าวก่อนได้ หลังจากการตัดเนื้อเยื่อออกมา แพทย์จะส่งชิ้นเนื้อไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการณ์
ในบางกรณี แพทย์จะแนะนำให้มีการรักษาในทันที แทนที่จะทำการตัดเนื้อเยื่อออกไปตรวจก่อน
การส่องกล้องปากมดลูกด้วยโคลโปสโคปเป็นกระบวนการที่รวดเร็วและปลอดภัย ปกติใช้เวลาดำเนินการประมาณ 5 ถึง 10 นาที รวมเข้ากับเวลานัดหมอทั้งหมดก็ควรใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงเท่านั้น โดยผู้หญิงส่วนมากจะรู้สึกว่ากระบวนการนั้นสร้างความไม่สบายตัวและอาจมีความเจ็บปวดบ้าง หากเป็นเช่นนั้นให้รีบแจ้งแพทย์ผู้ดำเนินการทันที
หลังการตรวจ
คุณสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปรกติหลังการพบแพทย์ รวมไปถึงการขับรถ เป็นต้น
หลังจากการตรวจไม่กี่วันคุณอาจจะมีอาการเลือดออกเล็กน้อย หรือมีของเหลวสีน้ำตาลไหลออกมจากช่องคลอด ซึ่งเป็นอาการปกติจากการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ ซึ่งจะหายไปเองหลังจากวันที่ 3 หรือ 5
ควรรอให้เลือดหยุดซึมออกก่อนจะใช้ผ้าอนามัยแบบสอด หรือมีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงงดการใช้ครีม เจลหล่อลื่น หรือยาทางช่องคลอดใด ๆ ระหว่างนี้
การนัดติดตามผล
หลังการตรวจส่องกล้อง คุณจะถูกนัดเข้ามาพบแพทย์เพื่อทำการติดตามผลเพื่อดูว่าเซลล์ในปากมดลูกของคุณกลับสู่ภาวะปกติหรือไม่ ซึ่งมักจะเป็นช่วง 4 ถึง 6 เดือนหลังการส่องกล้องตรวจครั้งล่าสุด
ผลการตรวจ
หลังการตรวจส่องกล้อง แพทย์จะสามารถแจ้งผลให้แก่คุณได้ทันที
ถ้ายังมีความไม่แน่นอนอยู่ อาจจะมีการตัดเนื้อเยื่อจากมดลูกไปตรวจสอบเพิ่มเติมอีก ซึ่งในบางกรณีก็จะมีการรักษาเซลล์ผิดปรกติควบคู่การตรวจไปด้วย
โดยผู้หญิง 4 จาก 10 คนจะมีผลตรวจช่องคลอดปกติดี หมายความว่ามดลูกมีสุขภาพดีและมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกต่ำ หลังจากนั้นคุณจะถูกนัดให้มาทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอีกครั้งภายใน 3 หรือ 5 ปี ขึ้นอยู่กับอายุของคุณ
ผู้หญิง 6 จาก 10 คนที่ผ่านการส่องกล้องปากมดลูกด้วยโคลโปสโคปจะพบเซลล์ที่ผิดปกติภายในมดลูก โดยความผิดปรกติที่พบได้บ่อยคือ cervical intra-epithelial neoplasia (CIN) ซึ่งไม่ใช่มะเร็ง แต่อาจจะพัฒนาจนกลายเป็นมะเร็งได้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้ทำการรักษา
ผลจากการตรวจชิ้นเนื้อ
การตัดชิ้นเนื้อจากมดลูกไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการณ์จะช่วยให้สามารถชี้ชัดได้ถึงการเจริญเติบโตของเซลล์แปลกปลอมในมดลูกของคุณได้ โดยคุณต้องรอประมาณ 4 สัปดาห์ก่อนที่ผลการตรวจจะถูกส่งกลับไปยังแพทย์ผู้ดูแล
ในบางกรณี จะพบความผิดปรกติในแกรนดูลาเซลล์ภายในสายหนทางคลอดของมดลูก ความผิดปรกติดังกล่าวมักจะเรียกกันว่า cervical glandular intra-epithelial neoplasia (CGIN) โดยตัว CGIN นี้พบได้ยากกว่า CIN
อีกทั้งการที่ตรวจพบ CIN หรือ CGIN ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นมะเร็งแต่อย่างใด
การให้เกรด CIN กับ CGIN
CIN มีอยู่ตั้งแต่เกรด 1 ไปจนถึง 3 ตามระดับความผิดปรกติที่พบจากการตรวจคัดกรอง โดยเกรด 2 และ 3 สื่อถึงความผิดปรกติระดับปานกลางไปจนถึงรุนแรง ตามลำดับ
CGIN มักจะอยู่ในระดับเกรดต่ำ หรือเกรดสูง ในแง่ของความรุนแรงและความเสี่ยง CGIN เกรดสูงจะเท่ากับ CIN เกรด 3 (ดูข้อมูลเพิ่มเติมข้างล่าง)
CIN 1
หากคุณมีเซลล์ CIN 1 (เกรดต่ำ) จะหมายความว่าแทบจะไม่มีความเสี่ยงที่คุณจะเป็นมะเร็ง โดยเซลล์ผิดปรกติดังกล่าวมักจะสลายไปเองโดยไม่จำเป็นต้องผ่านการรักษาหรือผ่าออกแต่อย่างใด
โดยหลังจากนั้นคุณอาจถูกนัดให้มาทำการตรวจคัดกรองมดลูกอีกครั้งหลังจากนั้น 12 เดือนเพื่อตรวจสอบสภาวะของเซลล์ดังกล่าว
CIN 2 CIN 3 หรือ CGIN
หากคุณมีเซลล์ CIN 2 3 หรือ CGIN (เกรดสูง) คุณจะมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก
หากเป็นเช่นนี้ คุณจะถูกแนะนำให้ทำการผ่าเซลล์ที่ผิดปรกตินั่นออกเพื่อลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งปากมดลูกลง
ในกรณีหายาก ผลการตรวจชิ้นเนื้อและการส่องกล้องแสดงให้เห็นภาวะมะเร็งปากมดลูกอย่างชัดเจน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น แพทย์จะแนะนำให้เริ่มทำการรักษาทันที โดยคุณจะถูกส่งไปให้กับผู้เชี่ยวชาญที่จะชี้แจงรายละเอียดการรักษาต่าง ๆ ให้กับคุณ
การตรวจพบมะเร็งปากมดลูกจากขั้นตอนคัดกรองนั้นมักจะพบมะเร็งในระยะเริ่มต้น ซึ่งผู้ที่พบโรคได้เร็วจะมีโอกาสรอดมากกว่าผู้หญิงที่เป็นมะเร็งระยะหลัง ๆ แล้ว
การรักษาเซลล์ที่ผิดปรกติในปากมดลูก
เซลล์ที่ผิดปรกติจะถูกนำออกมาด้วยการผ่าตัดพื้นที่โดยรอบมดลูกที่มีความผิดปรกติด้วยพื้นที่ขนาดเท่าปลายนิ้ว
ประเภทการรักษาที่ดำเนินการจะขึ้นอยู่กับจำนวนเซลล์ที่ผิดปรกติในมดลูกของคุณ และระยะของความผิดปรกตินั้น ๆ
เป้าหมายของการรักษาก็เพื่อนำเซลล์ผิดปกติออกมาโดยสร้างความเสียหายแก่เนื้อเยื่อสุขภาพดีให้น้อยที่สุด โดยการรักษามีโอกาสทำสำเร็จสูงถึง 90%
เวลาดำเนินการรักษา
การรักษาสามารถเกิดขึ้นขณะทำการตรวจส่องกล้องได้
สำหรับการรักษาที่มีขั้นตอนมากกว่านั้นอาจไม่สามารถทำร่วมในการส่องกล้องตรวจมดลูกได้ โดยในกรณีนี้ แพทย์จะเป็นผู้ชี้แจงประเภท กับทางเลือกรักษาแก่คุณ
โดยการรักษาที่มี มีดังนี้:
Large loop excision of the transformation zone
“transformation zone” เป็นรอยต่อระหว่างพื้นผิวปากมดลูกกับเนื้อเยื่ออ่อน ๆ ที่พาดอยู่ทางเข้าหนทางคลอด ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมักจะเกิดความผิดปรกติ และเป็นจุดที่ HPV จะสร้างการเปลี่ยนแปลงกับเซลล์ขึ้น
LLETZ สามารถดำเนินการไปพร้อมกับการส่องกล้องตรวจปากมดลูกได้ โดยมักทำเพื่อถอนเซลล์ผิดปรกติในมดลูกออกมาโดยใช้เครื่องตัดไฟฟ้า
LLETZ จะมีเวลาดำเนินการ 5 – 10 นาที และมักดำเนินการกับผู้ป่วยนอก ทำให้คุณไม่จำเป็นต้องค้างรักษาตัวที่โรงพยาบาล อาจมีการใช้ยาชาฉีดเขาไปในมดลูกเพื่อทำให้บริเวณที่ต้องตัดออกหมดความรู้สึก กระนั้นคุณก็อาจจะรู้สึกเจ็บได้บ้าง ซึ่งจะคล้ายกับการปวดประจำเดือน
หากพื้นที่ในมดลูกที่ต้องรับการรักษามีขนาดกว้าง ขั้นตอนที่ดำเนินการอาจใช้เวลามากกว่า ซึ่งแพทย์อาจต้องใช้ยาสลบกับคุณ
คุณต้องเตรียมผ้าอนามัยมาด้วยเนื่องจากกระบวนการ LLETZ จะทำให้คุณมีเลือดออก โดยจะมีเลือดออกเล็กน้อยเป็นเวลาหลังจากกระบวนการหลายอาทิตย์
หลังจากการทำ LLETZ คุณควรที่จะ:
- ไม่ใช้ผ้าอนามัยแบบสอดเป็นเวลา 4 สัปดาห์ (ใช้ผ้าอนามัยแบบแผ่นแทน)
- งดการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 4 สัปดาห์
- งดการออกกำลังกายรวมไปถึงการว่ายน้ำอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือในขณะที่มีเลือดหรือของเหลวออกมาจากช่องคลอดอยู่
- เพื่อการป้องกันการติดเชื้อหลังกระบวนการนั่นเอง
มีรายงานว่าผู้หญิงที่ทำการรักษา LLETZ จะมีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนดมากขึ้น แต่ในกรณีส่วนมากแล้วผลประโยชน์ที่ได้จากการรักษานี้มีมากกว่าความเสี่ยงเล็กน้อยเช่นนี้อย่างมาก ทำให้แพทย์ทุกท่านต่างแนะนำให้คุณพิจารณาทำการรักษาประเภทนี้เมื่อจำเป็น
การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวย
เป็นวิธีการรักษาที่ไม่สามารถทำร่วมกับการตรวจส่องกล้องปากมดลูกได้ โดยกระบวนการนี้เป็นการผ่าตัดขนาดเล็กที่ต้องให้ผู้ป่วยนอนค้างที่โรงพยาบาล ทำให้วิธีการนี้ไม่ค่อยถูกนำมาใช้เท่าไรนัก นอกจากต้องทำการตัดเนื้อเยื่อออกเป็นพื้นที่ขนาดกว้าง
การตัดปากมดลูกรูปกรวยจะดำเนินการโดยใช้ยาสลบกับคนไข้ โดยการตัดชิ้นเนื้อจะใช้มีดผ่าตัด และตัดชิ้นเนื้อออกจะลักษณะเป็นรูปกรวย หลังจากนั้นชิ้นเนื้อดังกล่าวจะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการณ์เพื่อตรวจสอบอย่างใกล้ชิด
หลังการตัดปากมดลูกประเภทนี้จะมีการปิดปากแผลที่ช่องคลอดของคุณเพื่อช่วยหยุดการไหลของเลือด
ในช่วงเวลา 4 สัปดาห์หลังการผ่าตัดจะมีเลือดออกเป็นปกติ โดยคุณอาจรู้สึกเหมือนปวดประจำเดือนหรือไม่สบายตัวบ้าง ซึ่งควรจะค่อย ๆ ดีขึ้นเองภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง
หลังการรักษา
หลังการตัดชิ้นเนื้อประเภทนี้คุณควร:
- ไม่ใช้ผ้าอนามัยแบบสอดเป็นเวลา 4 สัปดาห์ (ใช้ผ้าอนามัยแบบแผ่นแทน)
- งดการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 4 สัปดาห์
- งดการออกกำลังกายรวมไปถึงการว่ายน้ำอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือในขณะที่มีเลือดหรือของเหลวออกมาจากช่องคลอดอยู่
โดยแพทย์หรือพยาบาลที่ดูแลคุณจะเป็นผู้ตอบคำถาม หรือชี้แจงข้อสงสัยของคุณที่เกี่ยวกับการส่องกล้องตรวจปากมดลูกด้วยโคลโปสโคปหรือการรักษาต่าง ๆ เอง
การรักษาอื่น ๆ
สามารถรักษาเซลล์ที่ผิดปรกติได้หลายวิธีการ โดยแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้:
- การบำบัดด้วยความเย็น: ที่ซึ่งเซลล์ที่ผิดปรกติจะถูกแช่แข็งและถูกทำลายไป
- การรักษาด้วยเลเซอร์: จะมีการใช้เลเซอร์จี้ทำลายเซลล์ผิดปรกติภายในมดลูกของคุณ
- การแข็งตัวด้วยความเย็น: จะมีการใช้ตัวทำความร้อนกับปากมดลูกซึ่งจะเผาไหม้เซลล์ที่ผิดปรกติไป
- การผ่าตัดมดลูก (การผ่าตัดเพื่อนำมดลูกออก): เป็นกรรมวิธีสุดท้ายหากเซลล์ที่ผิดปกติในมดลูกมีความรุนแรงหรือถูกพบมากกว่าหนึ่งครั้ง
การตรวจคัดกรองปากมดลูก และการทดสอบ HPV ติดตามการรักษาเซลล์ที่ผิดปรกติ
6 เดือนหลังจากการรักษาเซลล์ที่ผิดปรกติในปากมดลูก คุณจะต้องเข้ารับการทดสอบคัดกรองปากมดลูก
โดยการทดสอบจะดำเนินการเพื่อตรวจหาร่องรอยของเซลล์ผิดปรกติ และหา HPV ที่เหลือ หากยังพบเซลล์ที่ผิดปรกติอยู่บ้าง แต่ไม่พบไวรัสดังกล่าว จะสามารถกล่าวได้ว่าภาวะความผิดปรกติในมดลูกของคุณหายไปปลิดทิ้งแล้ว
หากไม่พบ HPV คุณก็ไม่จำเป็นต้องทำการคัดกรองอีกจนกว่าจะครบ 3 ปี แต่หากว่ายังพบ HPV อยู่หรือมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ค่อนข้างมาก (ปานกลางจนถึงรุนแรง) คุณจะถูกส่งให้ไปทำการส่องกล้องตรวจมดลูกอีกครั้ง
ความเสี่ยงของการนำเซลล์มดลูกที่ผิดปรกติออกมา
การนำเซลล์ปากมดลูกที่ผิดปรกติออกมาเป็นการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่กระนั้น ก็มีความเสี่ยงที่มาจากการรักษาเช่นกัน
โดยจะเป็นความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังการนำเซลล์ออก ซึ่งคุณควรรีบไปพบแพทย์หากว่าคุณมีอาการ:
- เลือดหนัก หรือออกไม่หยุด
- มีของเสียกลิ่นแรงออกจากช่องคลอด
- ปวดท้องเรื้อรัง
อีกทั้งยังมีความเสี่ยงสูงที่ผู้ที่เคยทำการตัดเซลล์ออกจากปากมดลูกจะคลอดบุตรก่อนกำหนด
ไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่มีเซลล์ปากมดลูกที่ผิดปรกติจะต้องเข้ารับการรักษาเพื่อนำเซลล์ดังกล่าวออก แต่ควรจะเป็นเฉพาะกรณีผู้ที่มีความผิดปรกติของเซลล์สูงเท่านั้น
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ไม่ได้หมายถึงการก่อตัวเป็นมะเร็งทุกชนิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากที่จะบอกได้ว่าแบบใดที่จะกลายเป็นมะเร็งหรือแบบใดที่ปลอดภัย ทำให้แพทย์ต่างแนะนำให้ผู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงเซลล์ควรเข้ารับการรักษาเผื่อเอาไว้ก่อน