กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะ

การสร้างส่วนประกอบสำหรับร่างกายมนุษย์
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะ

บทความทางการแพทย์และการปฐมพยาบาลมักใช้คำที่ไม่ค่อยก่อให้เกิดความเข้าใจในบริบท หรืออาจเป็นเพราะการที่คุณไม่คุ้นเคยกับคำเหล่านั้น หากคุณไม่เข้าใจคำเหล่านั้น ก็อาจจะทำให้ความเข้าใจของคุณคลาดเคลื่อน

เพื่อช่วยคุณในเรื่องของคำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับกายวิภาค ต่อไปนี้เป็นคำศัพท์เกี่ยวกับองค์ประกอบของร่างกาย: เซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะ เมื่อคุณเข้าใจคำเหล่านี้ เราก็สามารถต่อยอดไปยังระบบอวัยวะ หรือหากจะจำเพาะกว่านั้นก็เช่น ระบบประสาท

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เซลล์

เซลล์เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต เพื่อจะให้เข้าใจว่าเซลล์มีหน้าตาเป็นอย่างไร ก็ให้ลองนึกภาพไข่ไก่ดู มันมีเยื่อหุ้มชั้นนอก (ในกรณีของไข่ ก็คือเปลือกแข็ง แต่สำหรับเซลล์ส่วนใหญ่แล้วจะไม่เป็นเช่นนั้น) และภายในเต็มไปด้วยของเหลวที่มีสารอาหารมากมาย (ไข่ขาว เทียบกับไซโตพลาสซึม- cytoplasm ของเซลล์) และมีนิวเคลียส (ไข่แดง)

เซลล์ไม่ได้มีหน้าตาเหมือนกันไปทั้งหมด เซลล์ประสาทมีรูปร่างผอมยาว และมี myelin ห่อหุ้ม ซึ่งเป็นฉนวนตามธรรมชาติ เซลล์กล้ามเนื้อจะหนาและยาว เซลล์เม็ดเลือดแดงจะแบนและเป็นรูปไข่ รูปร่างของเซลล์จะช่วยในการทำงานของพวกมัน แต่ละเซลล์จะมีหน้าที่ต่างกันไป เซลล์กล้ามเนื้อหดตัว เซลล์ประสาทส่งกระแสประสาท เซลล์เม็ดเลือดแดงจับกับออกซิเจน ในขณะที่เซลล์เม็ดเลือดขาวต่อต้านการติดเชื้อ

เนื้อเยื่อ

เมื่อเซลล์ชนิดหนึ่ง ๆ มาอยู่รวมกัน โครงสร้างที่ได้จะเรียกว่าเนื้อเยื่อ เช่น เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มของเซลล์กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อไขมัน เป็นชั้นหนึ่งของผิวหนังที่ประกอบมาจากเซลล์ไขมัน เนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นคำที่ใช้เรียกเนื้อเยื่อหลายชนิดที่มีความแข็งเหนียว เช่น เส้นเอ็น (tendon) หรือเอ็นยึดกระดูก (ligaments) โดยส่วนใหญ่แล้วในเรื่องของการปฐมพยาบาล เรามักจะกล่าวถึงเนื้อเยื่อมากกว่าเซลล์ เซลล์จะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในขณะที่เนื้อเยื่อสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าและจัดการได้ เมื่อคุณกำลังพิจารณาแผลฉีกขาดเพื่อตัดสินใจว่าจำเป็นต้องเย็บแผลหรือไม่ คุณกำลังมองเนื้อเยื่อไขมันในแผล แน่นอนว่าการเย็บจะเป็นการยึดเนื้อเยื่อเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ใช่เซลล์แต่ละเซลล์

อวัยวะ

เมื่อเนื้อเยื่อชนิดต่าง ๆ มาอยู่ด้วยกันอย่างเป็นระบบเพื่อทำหน้าที่ซับซ้อนจะเรียกว่าอวัยวะ หัวใจเป็นอวัยวะ ซึ่งมีเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และเนื้อเยื่อประสาท ซึ่งทั้งหมดทำงานร่วมกันเพื่อสูบฉีดเลือด อวัยวะสามารถทำงานได้มากกว่าหนึ่งอย่าง และงานแต่ละอย่างที่ทำก็ค่อนข้างซับซ้อน ตาสามารถรับรู้สี การเคลื่อนไหว และแสงได้ มันขยับและปรับโฟกัส อวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายคือผิวหนัง ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของชั้นเนื้อเยื่อที่มาทำงานร่วมกันเพื่อทำหน้าที่หลายอย่าง

  • กักเก็บของเหลว
  • ควบคุมความร้อน
  • รับรู้ความร้อนและแรงกด

การจัดระบบทางกายวิภาคเริ่มต้นจากสามสิ่งนี้ ไม่ว่าคุณจะกำลังพูดถึงเนื้อเยื่อที่ละเอียดอ่อนของสมองหรือความแข็งของกระดูก ทั้งหมดก็ประกอบขึ้นจากเซลล์ที่มาอยู่รวมกัน กลายเป็นเนื้อเยื่อ และจัดระบบจนกลายเป็นอวัยวะ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Rod Brouhard, Understanding Cells, Tissues, and Organs (https://www.verywellhealth.com/cells-tissues-and-organs-1298169)
medlineplus.gov, Aging changes in organs, tissues, and cells (https://medlineplus.gov/ency/article/004012.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
พอกันทีกับการซิทอัพ ถึงเวลาเล่นโยคะและพีลาทีสเพื่อกล้ามเนื้อหน้าท้อง
พอกันทีกับการซิทอัพ ถึงเวลาเล่นโยคะและพีลาทีสเพื่อกล้ามเนื้อหน้าท้อง

หลากหลายวิธีเพื่อช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหน้าท้อง

อ่านเพิ่ม
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน

ใช้เทคนิคต่อไปนี้มาช่วยเผาผลาญพลังงานระหว่างการเดินกันเถอะ

อ่านเพิ่ม