กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาการเวียนหัวจากการตั้งครรภ์ มีสาเหตุมาจากอะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 22 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการเวียนหัวจากการตั้งครรภ์ มีสาเหตุมาจากอะไร?

ในระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะช่วงไตรมาสแรก ว่าที่คุณแม่กว่า 75% คงประสบกับอาการแพ้ท้อง อย่างเวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน กันเป็นเรื่องธรรมดา แต่หลังจากผ่าน 3 เดือนแรกไปแล้ว คุณแม่หลายคนก็ยังคงมีอาการมึนหัว วิงเวียนอยู่ จนบางครั้งรู้สึกหน้ามืดคล้ายจะเป็นลมบ่อยๆ สงสัยกันไหมว่า อาการเวียนหัวนั้นเกิดจากอะไร ผิดปกติหรือไม่ และอันตรายแค่ไหน?

สาเหตุของอาการเวียนหัว

  • ความดันโลหิตต่ำลง เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรนที่หลั่งออกมามากในระยะแรกของการตั้งครรภ์ไปขยายผนังหลอดเลือด ทำให้ความดันเลือดต่ำลงได้ รวมถึงเลือดปริมาณมากจะไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณมดลูก ทำให้ส่วนอื่นๆ ของร่างกายมีเลือดไปเลี้ยงน้อยลง จนทำให้มีอาการเวียนหัวและอ่อนเพลียได้
  • น้ำตาลในเลือดต่ำลง เนื่องจากการเผาผลาญพลังงานในร่างกายแปรปรวน อีกทั้งคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ยังเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร เนื่องจากร่างกายต้องการอาหารและพลังงานมากขึ้นสำหรับทารกในครรภ์ ทำให้บางครั้งพลังงานที่ร่างกายได้รับปกตินั้นไม่เพียงพอ รวมถึงอาจมีน้ำตาลและแร่ธาตุบางส่วนที่สูญเสียไปจากการอาเจียนด้วย ดังนั้น หากทานอาหารไม่เพียงพอก็อาจเกิดอาการเวียนหัวเนื่องจากน้ำตาลต่ำและขาดพลังงานได้
  • มีภาวะโลหิตจาง ในระหว่างที่ทารกในครรภ์เจริญเติบโต ทารกจะต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น ทำให้บางครั้งร่างกายของแม่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ จนเกิดการขาดธาตุเหล็ก มีการสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง และเกิดภาวะโลหิตจาง จนมีอาการหน้ามืด อ่อนเพลีย และเวียนหัวได้ โดยเฉพาะในคุณแม่ที่เป็นโรคโลหิตจางอยู่แล้ว  
  • รู้สึกร้อนขึ้น ในระหว่างตั้งครรภ์ร่างกายของแม่จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น บวกกับน้ำหนักตัวที่มากขึ้น ทำให้บางครั้งรู้สึกอึดอัดกว่าปกติ โดยเฉพาะหากต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อากาศร้อนและไม่ถ่ายเท จะมีโอกาสเกิดอาการวิงเวียนหน้ามืดได้ง่าย

อาการเวียนหัวจากการตั้งครรภ์ อันตรายไหม?

อาการเวียนหัวเป็นอาการปกติที่ไม่ใช่สัญญาณอันตรายสำหรับการตั้งครรภ์ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือคุณแม่อาจรู้สึกเวียนหัวจนเป็นลม หมดสติ หรือหกล้ม จนร่างกายได้รับบาดเจ็บ หรืออาจรุนแรงถึงขนาดแท้งบุตรได้ นอกจากนี้ หากมีอาการเวียนหัวร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น หายใจติดขัด หอบเหนื่อย ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง ใจสั่น ตาพร่ามัว ควรรีบไปพบแพทย์และติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

จะป้องกันอาการเวียนหัวขณะตั้งครรภ์ได้อย่างไร?

  • พยายามไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ก้มเงย หรือลุกนั่งเร็วเกินไป เพราะอาจทำให้วิงเวียน หน้ามืด จนเกิดอุบัติเหตุได้
  • หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี เกิดการเกร็งกล้ามเนื้อ จนมีอาการเวียนหัวและอ่อนแรงได้
  • ควรอยู่ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเท อุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป
  • ทานอาหารให้เพียงพอ และอย่าปล่อยให้รู้สึกหิว ในช่วงที่ตั้งครรภ์ร่างกายของแม่จะต้องการสารอาหารและพลังงานมากเป็นพิเศษ ดังนั้น การหิวบ่อยๆ จึงเป็นเรื่องปกติ อีกทั้งต้องทานอาหารให้ตรงเวลาเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำตาลในเลือดต่ำด้วย
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารไขมันสูง เพราะจะทำให้รู้สึกเวียนศีรษะ และคลื่นไส้ยิ่งกว่าเดิม
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ และควบคุมให้ความดันโลหิตเป็นปกติ

หากรู้สึกวิตกกังวลกับอาการที่เกิดขึ้น อาจไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ และเพื่อเฝ้าระวังไม่ให้อาการดังกล่าวส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการตั้งครรภ์ได้


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What causes pregnancy dizziness (feeling faint)?. WebMD. (https://www.webmd.com/women/qa/what-causes-pregnancy-dizziness-feeling-faint)
Why Do Pregnant Women Get Vertigo?. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/why-do-pregnant-women-get-vertigo/)
Dizziness in pregnancy. BabyCentre UK. (https://www.babycentre.co.uk/a228/dizziness-in-pregnancy)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม