คุณสะพายกระเป๋าหนักเกินไปหรือเปล่า? ชวนอ่านปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและวิธีแก้ไข

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คุณสะพายกระเป๋าหนักเกินไปหรือเปล่า? ชวนอ่านปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและวิธีแก้ไข

เมื่อถึงคราวที่ต้องออกไปนอกบ้าน สิ่งที่หลายคนมักพกติดตัวไปด้วยก็คงหนีไม่พ้นกระเป๋าสะพายนั่นเอง สำหรับคนที่ใส่ของในกระเป๋ามากเกินไป การทำเช่นนี้ไม่เพียงแต่ทำให้คุณรู้สึกไม่คล่องตัวเท่านั้น แต่มันยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกด้วย กล่าวโดย Dr. Sabrina Strickland แพทย์ศัลยกรรมกระดูก

"เมื่อคุณสะพายกระเป๋าที่หนักบนไหล่ คุณจำเป็นต้องยกไหล่ หรือสะพายกระเป๋าชิดเข้ามายังลำตัวมากขึ้น มิเช่นนั้นกระเป๋าก็จะร่วงหล่นจากไหล่" กล่าวโดย Strickland นอกจากนี้เขายังเสริมด้วยว่าการถือกระเป๋าหนักสามารถทำให้กระดูกสันหลังงอ ทำให้ปวดหลัง คอ ไหล่ และกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังทำให้ปวดข้อต่อ และทำให้อาการของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทแย่ลง ยิ่งไปกว่านั้น การสะพายกระเป๋าที่หนักยังทำให้เด็กเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกสันหลังคด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ทั้งนี้มีงานวิจัยขนาดเล็กเมื่อปี ค.ศ.2013 ที่ถูกเผยแพร่ใน Journal of Physical Therapy Science พบว่า การสะพายกระเป๋าเพียงข้างเดียวจนเป็นนิสัยสามารถส่งผลต่อการเดิน ทำให้นักวิจัยถึงกับต้องเตือนว่าคนที่ถือกระเป๋าหนักควรหลีกเลี่ยงนิสัยการถือกระเป๋าข้างเดียว สำหรับวิธีถือกระเป๋าที่ไม่ทำร้ายสุขภาพมีดังนี้

1.ถือกระเป๋า 2 ใบ

การกระจายน้ำหนักของกระเป๋าไว้ที่ไหล่ทั้งสองข้างจะช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความไม่สมมาตร ซึ่งสามารถทำให้เกิดปัญหาตามมา ทั้งนี้ให้คุณสะพายกระเป๋า 2 ใบที่ไหล่แต่ละข้างพร้อมกับกระจายน้ำหนักของสิ่งของในกระเป๋าแต่ละใบให้เท่าๆ กัน

2.อย่าใส่ของมากเกินไป

ตามหลักทั่วไปแล้ว กระเป๋าของคุณไม่ควรมีน้ำหนักมากกว่า 10% ของน้ำหนักตัว ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงที่มีน้ำหนัก 140 ปอนด์ ไม่ควรถือกระเป๋าที่มีน้ำหนักมากกว่า 14 ปอนด์ หากคุณจำเป็นต้องหิ้วของที่มีน้ำหนักมากกว่านี้ ถ้าไม่อยากให้หัวไหล่ข้างเดียวรับน้ำหนักมากเกินไป คุณก็ควรใช้กระเป๋า 2 ใบ

3.ลองใช้กระเป๋าแบบอื่นๆ

การใช้กระเป๋าสะพายหลังถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ส่วนกระเป๋าแบบพาดบ่าก็นับว่าดีกว่ากระเป๋าสะพายไหล่เล็กน้อย แต่มันก็สามารถทำให้คอตึงได้ หากคุณใช้กระเป๋าสะพายไหล่ การสลับข้างสะพายกระเป๋าก็สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาได้ค่ะ

4.เสริมความแข็งแรงให้แกนกลางของร่างกาย

หากไม่ได้คำนึงว่ากระเป๋าของคุณหนักมากเพียงใด การมีแกนกลางของร่างกายที่แข็งแรงจะช่วยให้คุณยืนตัวตรงและป้องกันไม่ให้ร่างกายโค้งงอ สำหรับวิธีออกกำลังกายที่ช่วยได้ เช่น แพลงค์ ซิทอัพ Oblique Exercise การบริหารกล้ามเนื้อหลัง ฯลฯ

ไม่น่าเชื่อเลยใช่ไหมคะว่า สิ่งที่เราพกติดตัวทุกวันอย่างกระเป๋านั้นแอบแฝงไปด้วยอันตรายหากเราสะพายไม่ถูกวิธีหรือใส่ของมากเกินไป แต่การนำวิธีที่เราแนะนำข้างต้นมาปรับใช้ก็สามารถลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ

ที่มา: http://time.com/5053206/heavy-...


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Backpack Basics (for Teens). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/teens/backpack.html)
7 Tips for a Lighter, Safer School Backpack. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/7-tips-to-a-lighter-safer-school-backpack/)
The Impact of Backpack Loads on School Children: A Critical Narrative Review. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6267109/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
พอกันทีกับการซิทอัพ ถึงเวลาเล่นโยคะและพีลาทีสเพื่อกล้ามเนื้อหน้าท้อง
พอกันทีกับการซิทอัพ ถึงเวลาเล่นโยคะและพีลาทีสเพื่อกล้ามเนื้อหน้าท้อง

หลากหลายวิธีเพื่อช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหน้าท้อง

อ่านเพิ่ม
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน

ใช้เทคนิคต่อไปนี้มาช่วยเผาผลาญพลังงานระหว่างการเดินกันเถอะ

อ่านเพิ่ม