การสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Catheterization) เป็นวิธีที่แพทย์นิยมใช้ในการวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจชนิดต่างๆ
สำหรับหัตถการนี้แพทย์จะใส่สายสวน (Catheter) ซึ่งมีขนาดเล็ก สามารถโค้งงอได้เข้าไปในหลอดเลือดแดง หรือหลอดเลือดดำ บริเวณขาหนีบ แขน หรือลำคอของผู้ป่วย ซึ่งแพทย์จะค่อยๆ ใส่สายสวนและเคลื่อนสายสวนไปตามหลอดเลือดเพื่อไปยังหัวใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ประโยชน์ของการสวนหัวใจและหลอดเลือดในการวินิจฉัย
- สามารถระบุตำแหน่งหลอดเลือดที่พบการตีบ หรือตัน โดยการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ
- สามารถตัดชิ้นเนื้อหัวใจไปตรวจได้ (Biopsy)
- สามารถประเมินการเต้นของหัวใจ
- สามารถวัดความดันและระดับออกซิเจนภายในหัวใจและปอด
- สามารถวินิจฉัยความผิดปกติของหัวใจ หรือความผิดปกติของลิ้นหัวใจ
ประโยชน์ของการสวนหัวใจและหลอดเลือดในการรักษาโรค
- สามารถขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Angioplasty) เป็นการขยายหลอดเลือดแดงที่อุดตัน โดยการใส่บอลลูนขนาดเล็กเข้าไปถ่างขยายหลอดเลือด
- สามารถใส่ขดลวดค้ำยัน (Stent) เพื่อขยายหลอดเลือดแดง
- สามารถปิดรูรั่วภายในหัวใจในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
- สามารถรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Defect)
- สามารถเปลี่ยน หรือซ่อมลิ้นหัวใจ
ขั้นตอนการสวนหัวใจและหลอดเลือด
ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจและหลอดเลือดจะทำการสวนหัวใจในโรงพยาบาล โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ผู้ป่วยจะได้รับยาเพื่อระงับอาการปวดบริเวณที่แพทย์ใส่สวนเข้าไป (บริเวณต้นขา แขน หรือลำคอ) และยาลดความกังวลผ่านทางหลอดเลือดดำบริเวณแขน
- แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กแทงลงไปบริเวณผิวหนังของผู้ป่วย เข้าไปยังเส้นเลือดใหญ่ และใส่ปลอกพลาสติกตามเข็มเข้าไปยังเส้นเลือด แล้วจึงใส่สายสวนเข้าไปยังหัวใจผ่านทางปลอกพลาสติกนั้น
- แพทย์จะใช้เครื่องเอกซเรย์ถ่ายภาพขณะสวนหัวใจ เพื่อให้เห็นตำแหน่งที่เหมาะสมในการวางสายสวน
- แพทย์อาจฉีดสารทึบรังสีผ่านทางสายสวน เพื่อตรวจดูตำแหน่งของหลอดเลือดที่ตีบตัน
- เมื่อสายสวนหัวใจอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการแล้ว แพทย์จึงจะสามารถตรวจหัวใจ หรือทำหัตถการอื่นๆ ที่จำเป็นต่อไป
ก่อนทำการสวนหัวใจและหลอดเลือดต้องเตรียมตัวอย่างไร?
- งดน้ำ งดอาหาร เป็นเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนทำหัตถการ
- แจ้งแพทย์ล่วงหน้าเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่ผู้ป่วยใช้และควรถามแพทย์ว่า ควรรับประทานยาเหล่านั้นในวันที่ทำการสวนหัวใจหรือไม่
- แจ้งแพทย์ให้ทราบถึงโรคประจำตัวของผู้ป่วย
- หากตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่า ตั้งครรภ์ กรุณาแจ้งแพทย์ก่อนทำการสวนหัวใจ
ภายหลังการสวนหัวใจและหลอดเลือด
- ปกติจะใช้เวลาพักฟื้นไม่กี่ชั่วโมง แต่อาจจะมีผู้ป่วยบางคนที่ต้องนอนราบเป็นเวลาหลายชั่วโมงหลังการสวนหัวใจ
- สามารถรับประทานอาหารและน้ำดื่มน้ำได้หลังการตรวจสวนหัวใจ
- ผู้ป่วยอาจมีอาการไม่สบายตัวเกิดขึ้น เป็นเรื่องปกติที่พบได้ทั่วไป
- ผู้ป่วยบางรายอาจสามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวกับที่ทำการสวนหัวใจ
- หากได้รับการรักษาโดยหัตถการอื่นด้วย เช่น การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Angioplasty) อาจจะต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล โดยระยะเวลาการพักรักษาตัวขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายและการรักษาที่ได้รับ
ความเสี่ยงของการสวนหัวใจและหลอดเลือด
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการสวนหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่
- เลือดออก หรือมีรอยช้ำ
- หัวใจวายเฉียบพลัน หรือเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
- หลอดเลือดบริเวณที่ใส่สายสวนได้รับบาดเจ็บ
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- แพ้สารทึบรังสี หรือแพ้ยาที่ใช้
- ไตวาย
- เกิดการติดเชื้อ
- เกิดลิ่มเลือด
- เนื้อเยื่อหัวใจ หรือหลอดเลือดฉีกขาด
ค่าใช้จ่ายในการสวนหัวใจและหลอดเลือดแต่ละโรงพยาบาลราคาเท่าไหร่?
ค่าใช้การสวนหัวใจและหลอดเลือดจะขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาลและตำแหน่งในการสวนหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงหัตถการรักษาอื่นๆ ที่ต้องทำร่วมด้วย
โดยโรงพยาบาลรัฐบาลจะมีสิทธิประกันสังคม สิทธิประกันสุขภาพ หรือบัตรทอง ในการช่วยเหลือค่าใช้จ่าย ผู้ป่วยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้กับโรงพยาบาลที่ไปรักษา
ส่วนโรงพยาบาลเอกชนจะมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 30,000–400,000 บาท ขึ้นอยู่กับตำแหน่งการสวนหลอดเลือด และการทำหัตถการรักษาอื่นๆ เพิ่มเติม
หากคุณกำลังสับสนและกังวลที่จะตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ควรศึกษาเรื่องกระบวนการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น และการดูแลติดตามผลให้ดีเสียก่อน โดยสามารถปรึกษาแพทย์ประจำตัวที่กำลังดูแลคุณอยู่นั่นเอง
ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android