การท่องเที่ยวเป็นเรื่องที่สนุกและช่วยเติมเต็มชีวิตให้มีสีสัน แต่ถ้าคุณกำลังเป็นโรคมะเร็ง คุณจะมีบางสิ่งบางอย่างที่อาจต้องคิดเมื่อคุณกำลังวางแผนการท่องเที่ยว
สิ่งสำคัญคือคุณต้องแน่ใจว่าร่างกายคุณแข็งแรงและมีความพร้อมมากเพียงพอสำหรับการท่องเที่ยว แพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำกับคุณและแจ้งให้คุณทราบหากสภาวะร่างกายของคุณยังไม่พร้อมที่จะเดินทางไปเที่ยวอย่างปลอดภัย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คุณอาจได้รับคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงการโดยสารเครื่องบิน ถ้าคุณ:
- มีภาวะหายใจหอบเหนื่อย
- มีภาวะโลหิตจาง
- มีความเสี่ยงของการเกิดสมองบวม
- เพิ่งได้รับการผ่าตัด
ในการรักษาโรคมะเร็งด้วยรังสีรักษา (การฉายแสง) และการให้ยาเคมีบำบัด อาจทำให้เกิดปัญหาในระยะสั้นกับร่างกาย เช่น บางการรักษาจะทำให้ผิวหนังมีความไวต่อแสงแดดมากกว่าปกติ ผลที่เกิดขึ้นนี้ทำให้จำนวนครั้งของการเดินทางไปเที่ยวถูกจำกัดลง หรือ ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้หรือถูกจำกัดไม่ให้ทำกิจกรรมบางอย่างระหว่างการไปเที่ยว
เมื่อการรักษาโรคมะเร็งดำเนินมาถึงครึ่งทางของการรักษาแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเดินทางไปเที่ยวไม่ได้เสมอไป แต่จริงๆ แล้วในช่วงเวลานี้คุณอาจไปเที่ยวได้ในช่วงระหว่างรอบของการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด เป็นต้น ดังนั้นก่อนการเดินทางไปเที่ยวขอให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งเกี่ยวกับเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่จะท่องเที่ยวได้อย่างปลอดภัย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับสิ่งของจำเป็นที่คุณต้องพกไปด้วย รวมถึงประเด็นเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่คุณควรรับประทานด้วย หากมีการวางแผนเป็นอย่างดี จะทำให้คุณหลีกเลี่ยงกับปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการท่องเที่ยวได้
Checklist- สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนการท่องเที่ยว
สำหรับนักท่องเที่ยวทุกคน:
- ร่างกายคุณแข็งแรงพอสำหรับการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยหรือไม่?
- คุณต้องมีเพื่อนร่วมเดินทางหรือผู้ช่วยเหลือเดินทางไปพร้อมกับคุณหรือไม่?
- คุณจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์พิเศษหรือไม่?
- คุณได้แจ้งให้บริษัทท่องเที่ยวและที่พักของคุณทราบเกี่ยวกับความต้องการพิเศษใดๆ หรือไม่?
- คุณจำเป็นต้องฉีดวัคซีนเฉพาะโรคสำหรับการเดินทางไปยังประเทศจุดหมายปลายทางของคุณหรือไม่ เมื่อคุณได้ฉีดแล้ว อย่าลืมพกเอกสารใบรับรองการฉีดวัคซีนไว้กับตัว
- คุณมียา/เวชภัณฑ์ทางการแพทย์เพียงพอสำหรับการเดินทางไปเที่ยวในครั้งนี้หรือไม่? ขอแนะนำให้พกเวชภัณฑ์ไปมากกว่าปกติเผื่อในกรณีเดินทางกลับล่าช้าด้วยสาเหตุใดๆ ก็ตาม
- อย่าลืมพกหนังสือเดินทาง (passport) ไว้กับตัวเสมอ
- คุณได้ซื้อประกันการเดินทางแล้วหรือยัง?
- คุณได้เก็บยา เวชภัณฑ์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ ไว้ในกระเป๋าถือแล้วหรือไม่ ซึ่งคุณสามารถสังเกตเห็นและหยิบใช้ได้ง่ายเมื่อจำเป็น
หากจำเป็นต้องพกพายาติดตัวเพื่อเดินทางไปต่างประเทศมากกว่า 30 วัน:
- หากจำเป็นต้องพกยาติดตัวเพื่อรักษาตนเองมากกว่า 30 วัน ขอแนะนำให้คุณพกใบสั่งยาจากแพทย์/ใบรับรองแพทย์เป็นภาษาอังกฤษติดตัวไปด้วยเสมอ
- ราคาเบี้ยประกันภัยสูงกว่าปกติ
- มีค่าความเสียหายส่วนแรก (excess) หมายถึง จำนวนเงินที่ต้องจ่ายให้กับบริษัทประกันภัยเมื่อคุณมีการเคลมประกัน
- ประกันภัยชนิดไม่ครอบคลุมโรคที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง
การดูแลสุขภาพของตนเองในต่างประเทศ
คุณควรมีการทำประกันภัยการเดินทาง ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญระหว่างการเดินทางไปต่างประเทศ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน/เจ็บป่วยจนต้องรักษาตัวในสถานพยาบาล คุณอาจจำเป็นต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลขณะอยู่ต่างประเทศไปก่อนและเมื่อกลับมาประเทศไทยแล้วค่อยทำเรื่องขอเคลมเงินประกันคืน ซึ่งบริษัทประกันภัยสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ ให้กับคุณได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โรคมะเร็งสามารถส่งผลต่อการประกันการเดินทางได้อย่างไร?
การป่วยเป็นโรคมะเร็งอาจส่งผลต่อการซื้อประกันการเดินทาง ปัญหาทางสุขภาพที่เกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ หรือ โรคที่เป็นอยู่ก่อน (pre-existing conditions) บริษัทประกันภัยจะประเมินข้อมูลส่วนบุคคลของคุณเพื่อประเมินแนวโน้มที่คุณอาจยกเลิกโปรแกรมวันหยุดอันเนื่องมาจากโรคที่กำลังเป็นอยู่ และบริษัทประกันภัยยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อคาดการณ์ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นในต่างประเทศด้วย
ในการซื้อประกันภัยการเดินทาง ขอให้คุณแจ้งข้อมูลทางสุขภาพให้กับบริษัทอย่างครบถ้วนและสอบถามบริษัทเกี่ยวกับคำแนะนำในการซื้อประกันการเดินทาง ซึ่งคำแนะนำสำหรับแต่ละคนอาจแตกต่างกันไปขึ้นกับสภาวะทางสุขภาพของแต่ละคน และมีความเป็นไปได้ที่บริษัทอาจปฏิเสธการรับประกันภัยให้กับคุณ หรือบริษัทอาจเสนอแผนการรับประกันภัยชนิดมีเงื่อนไขให้กับคุณเช่น
ประกันภัยชนิดไม่ครอบคลุมโรคที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งหมายถึงคุณจะไม่สามารถเคลมประกันอันมีสาเหตุมาจากโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งได้ ขอแนะนำให้ศึกษาข้อกำหนดและเงื่อนไขของการรับประกันภัยให้ละเอียดก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยการเดินทาง
การดูแลตนเองจากแสงแดด
การปกป้องผิวหนังตนเองจากแสงแดดคือสิ่งสำคัญสำหรับคนทุกคน แต่ในการรักษามะเร็งบางวิธี เช่น การใช้ยาเคมีบำบัด การใช้รังสีรักษา และการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (biological therapy)สามารถส่งผลให้ผิวหนังไวต่อแสงแดด ดังนั้นคุณจะต้องดูแลตนเองเป็นพิเศษทั้งในช่วงระหว่างและหลังการรักษาโรคมะเร็ง
ต่อไปนี้คือเคล็ดลับบางประการในการปกป้องตนเองจากแสงแดด:
- สวมหมวกปีกว้าง
- ใช้ครีมกันแดดที่มีค่าป้องกันแสงแดดสูง (SPF สูง)
- สวมเสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้าย (ผ้าคอตตอน) หรือเส้นใยธรรมชาติ
- พยายามนั่งในที่ร่ม
- หลีกเลี่ยงแสงแดดช่วงเวลา 11.00 – 15.00 น.
หากคุณรักษาด้วยรังสีรักษา (การฉายแสง) คุณจะต้องปกปิดบริเวณที่รักษาไว้ด้วยเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนแสงแดด
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ชนิดของการรักษาและขนาดยาของการรักษาจะส่งผลต่อความไวของผิวหนังต่อแสงแดด ให้ปรึกษาแพทย์ถึงวิธีในการดูแลและปกป้องตนเองเป็นพิเศษ
หลีกเลี่ยงไม่ให้ตนเองป่วยเป็นโรค
หากคุณมีอาการเจ็บป่วยขณะอยู่ต่างประเทศ:
ถ้าคุณมีอาการเจ็บป่วยขณะพักอาศัยอยู่ในโรงแรม ขอให้สอบถามพนักงานต้อนรับของโรงแรมถึงคำแนะนำในการเข้าพบแพทย์ แต่ถ้าเป็นเรื่องเร่งด่วนฉุกเฉิน ขอให้คุณไปยังห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด
ติดต่อญาติ:
ให้เขียนชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของเพื่อนและญาติติดไว้กับหนังสือเดินทางเสมอ และต้องเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉินที่จำเป็นต้องติดต่อเพื่อนหรือญาติของคุณ
การรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม:
เมื่อคุณท่องเที่ยวอยู่ที่ใดในโลกนี้ โปรดระวังระวังเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม
การติดเชื้อหลายชนิดติดต่อผ่านการปนเปื้อนในอาหารและน้ำ ซึ่งรวมถึงน้ำในสระว่ายน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ และทะเล และให้หลีกเลี่ยงการกลืนน้ำขณะกำลังว่ายน้ำด้วย
เคล็ดลับในการหลีกเลี่ยงอาการเจ็บป่วยทางระบบทางเดินอาหาร:
- ถ้าคุณไม่มั่นใจว่าน้ำดื่มของคุณสะอาด ขอแนะนำให้คุณทำการฆ่าเชื้อโรคโดยการต้มเป็นเวลา 1 นาที หรือใช้ระบบการกรองน้ำ หากคุณอาศัยอยู่ในที่สูง คุณอาจจำเป็นต้องต้มน้ำนานกว่าปกติเพื่อให้ฆ่าเชื้อโรคในน้ำอย่างเหมาะสม
- หากไม่แน่ใจว่าน้ำดื่มที่รับประทานสะอาดพอ ขอให้ซื้อน้ำดื่มขวดมารับประทานแทน
- ต้องแน่ใจว่าซีลที่ฝาขวดน้ำไม่แตกหักหรือฉีดขาดก่อนการเปิดขวดน้ำรับประทาน
- หลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำแข็ง เว้นแต่คุณแน่ใจว่าน้ำแข็งนั้นผลิตจากน้ำที่ปลอดภัยเพียงพอ
- รับประทานเฉพาะอาหารสดที่ผ่านการปรุงสุกใหม่ๆ และยังร้อนอยู่
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารไม่สุก
- หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจสัมผัสกับแมลงวัน เช่น อาหารข้างทาง
- หลีกเลี่ยงไอศกรีมที่มาจากแหล่งผลิตที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น จากร้านรถเข็นไม่ระบุยี่ห้อ
- หลีกเลี่ยงการรับประทานนมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ หรือให้ต้มนมเพื่อฆ่าเชื้อก่อนรับประทาน
- ระมัดระวังเมื่อต้องรับประทานหอย เพราะอาจประกอบด้วยแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้นต้องแน่ใจว่าหอยได้รับการปรุงสุกอย่างทั่วถึง หรือหากไม่มั่นใจ ให้หลีกเลี่ยงการรับประทานเลยจะเป็นการดีกว่า