วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
ภญ.สุภาดา ฟองอาภา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ภญ.สุภาดา ฟองอาภา

รู้จักเนยหลากชนิดพร้อมประโยชน์ต่อสุขภาพ

รวมประโยชน์ของเนยที่ดีสุขภาพ มาดูกันว่ามีอะไรบ้างนอกจากความหอมอร่อย
เผยแพร่ครั้งแรก 19 เม.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 ก.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
รู้จักเนยหลากชนิดพร้อมประโยชน์ต่อสุขภาพ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เนยคือ ผลิตภัณฑ์จากไขมันนมซึ่งผ่านการปั่นจนกลายเป็นเนยก้อน นิยมนำมาใช้ปรุงอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทเบเกอรี
  • เนยที่ให้คุณประโยชน์ต่อสุขภาพที่สุดคือ เนยแท้ เพราะเป็นเนยประเภทที่ผ่านกรรมวิธีดัดแปลง ใส่สารเคมี หรือสารปรุงแต่งน้อยที่สุด ส่วยเนยเทียมคือ เนยประเภทที่ได้รับความนิยมในการใช้ตามท้องตลาด เพราะราคาถูก ไม่ละลายง่าย
  • เนยมีคุณประโยชน์ต่อระบบของร่างกายแทบทุกๆ ด้าน เพียงแต่ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และผู้ที่มีอาการแพ้อาหารประเภทนม ต้องระมัดระวังในการรับประทานเนยด้วย
  • การรับประทานเนยมากเกินไปอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวาน ภาวะอ้วน คุณจึงควรรับประทานเนยแต่พอดี และออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญไขมันจากเนย รวมถึงตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากไขมันส่วนเกิน 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคเบาหวาน

เนย เป็นผลิตภัณฑ์จากนมชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากผู้คนทั่วโลก ทั้งยังเป็นอีกส่วนประกอบสำคัญในการปรุงรสอาหาร หลายคนเข้าใจว่า เนยเป็นอาหารที่ให้ไขมันสูง ทำให้อ้วนง่าย ผู้ที่ลดน้ำหนักควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนย

แต่ความจริงแล้ว เนยมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ หากรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ

เนยคืออะไร?

เนย (Butter) คือ ผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากนม ผ่านกรรมวิธีปั่นเพื่อแยกไขมันนมมาทำเป็นเนยก้อน ซึ่งไม่ใช่เฉพาะนมวัวเท่านั้นที่นำมาทำเนยได้ ยังรวมถึงนมแกะ แพะ หรือควายก็ได้เช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผู้คนนิยมนำเนยมาใช้ปรุงอาหารหลายแบบ ตั้งแต่การทาลงบนขนมปังปิ้งกับแยม หรือนำมาปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนสูงอย่างการผัด หรือทอด นอกจากนี้เนยยังช่วยลดความเหนียวหนืดของอาหาร ให้สามารถรับประทานได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

อีกประเภทของอาหารที่มีการใช้เนยเป็นส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ อาหารประเภทเบเกอรี เพราะทำให้สีและเนื้อขนมปังดูน่ารับประทาน

เนย 1 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 14 กรัม ให้พลังงานทั้งหมด 102 แคลอรี ไขมัน 11.5 กรัม และวิตามินที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินอี

ประเภทของเนย

เนยที่ขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปแบ่งออกได้หลายชนิด สามารถจำแนกได้หลักๆ เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. เนยแท้ (Butter)

เป็นเนยที่มีกรรมวิธีมาจากที่กล่าวไปข้างต้นในส่วนความหมายของเนยคือ เป็นเนยที่ทำจากนม เก็บรักษาได้ดีในอุณหภูมิประมาณ 4 องศาเซลเซียส มีจำหน่ายอยู่หลายขนาด

ส่วนประกอบของเนยแท้ ได้แก่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ไขมันจากนม 80% 
  • น้ำประมาณ 16% 
  • เกลือประมาณ 1.5-2.0% 
  • ของแข็งที่อยู่ในนม เช่น โปรตีน เกลือแร่ วิตามินอีก 2%

เนยแท้ที่มีคุณภาพจะต้องมีไขมันจากนม 85% ขึ้นไป

เนยแท้แบ่งออกได้ 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่

  1. เนยเค็ม (Salted butter) เป็นเนยที่มีการใส่เกลือลงไปเป็นส่วนผสมในปริมาณไม่เกิน 1.5-2% เพื่อเพิ่มรสชาติไม่ให้จืด เลี่ยน และเก็บรักษาได้นานขึ้น นิยมนำมาใช้ทำเค้กเนยสด คุกกี้ บิสกิต
  2. เนยจืด (Unsalted butter) เป็นเนยที่ไม่มีการเติมส่วนผสมใดๆ ลงไป หรืออาจมีเกลือผสมเพียงครึ่งเดียวของเนยเค็มเท่านั้น เนยชนิดนี้ที่มักถูกนำไปใช้ทำเบเกอรีมากกว่าเนยเค็ม เพราะให้รสชาติหวาน มีกลิ่นหอม

2. เนยเทียม (Magarine)

หลายคนอาจคุ้นชื่อเนยเทียมในชื่อ "มาการีน" มากกว่า โดยเนยประเภทนี้ไม่ได้ผลิตขึ้นจากไขมันในนมสัตว์ แต่ผลิตมาจากไขมันพืช เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง

ไขมันพืชดังกล่าวจะถูกนำไปผ่านกระบวนการไฮโดรจีเนชัน (Hydrogenation) ซึ่งเป็นการเติมก๊าซไฮโดรเจนเข้าไป ทำให้ไขมันพืชมีกรดไขมันชนิดอิ่มตัวสูงขึ้นจนแปรสภาพกลายเป็นของแข็งกึ่งเหลว ซึ่งก็คือ ก้อนเนยเทียม 

จากนั้นจะมีการนำไปแต่งกลิ่นและเจือสีให้หอมเหมือนเนยแท้ต่อไป

เนยเทียมราคาถูกกว่าเนยแท้ ทั้งยังเก็บรักษาในอุณหภูมิห้องได้โดยไม่ละลาย (แต่ในประเทศไทยซึ่งมีอากาศร้อนอาจจะยังต้องแช่ไว้ในตู้เย็น) จึงได้รับความนิยมจากผู้ประกอบการหลายราย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม ความหอมและรสชาติของเนยเทียมจะไม่เหมือนเนยแท้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัตถุดิบที่นำมาทำเป็นเนยเทียมด้วย

อาหารที่มักนิยมใช้เนยเทียมเป็นส่วนประกอบได้แก่ ขนมปัง เค้ก คุกกี้ เอแคลร์

3. เนยขาว (Shortening)

เป็นผลิตภัณฑ์เนยที่ทำมาจากการแยกน้ำมันจากสัตว์ (Oleostearin) หรือน้ำมันจากพืช (Stearin) แทนการใช้ไขมันจากนม แล้วนำไปผ่านกระบวนการไฮโดรจีเนชันจนมีกรดไขมันอิ่มตัวมากพอจนกลายเป็นเนยขาว

เนยขาวเป็นเนยไม่มีกลิ่น ไม่มีสี เป็นไขมันล้วน 100% นิยมนำมาใช้ในการทำขนมเบเกอรีที่ต้องการให้มีเนื้อกรอบ หรือขนมที่ต้องใช้แม่พิมพ์สำหรับอบ เพราะเนยขาวจะช่วยไม่ให้ขนมติดก้นแม่พิมพ์เมื่อสุกแล้ว

นอกจากนี้เนยขาวยังนิยมนำมาใช้ทำเป็นครีมแต่งหน้าเค้ก หรือขนม เพราะมีคุณสมบัติฟูเป็นสีขาว ไม่มีกลิ่น หรือรสที่อาจไม่ถูกปากผู้รับประทาน รวมถึงนำมาใช้เป็นน้ำมันทอด เพราะเมื่อทอดแล้ว ขนมจะไม่มีกลิ่นน้ำมันติดมาด้วย

นอกจากเนยทั้ง 3 ประเภทนี้ ยังมีเนยชนิดอื่นๆ ที่นิยมนำมาใช้ประกอบอาหาร เช่น เนยใส (Clarified butter) หรือกี (Ghee) เนยที่มีแต่ไขมันเนย 99% ไม่มีน้ำผสมอยู่ (Butter concentrate)

ประโยชน์ของเนย

เนยมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมายหลายด้าน เช่น

  • เป็นแหล่งรวมของกรดไขมัน CLA (Conjugated Linoleic Acid) เป็นไขมันที่พบได้ในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมอื่นๆ ซึ่งมีคุณสมบัติต่อต้านเชื้อมะเร็งได้เป็นอย่างดี

  • มีสารอาหารบิวทีเรท (Butyrate) เป็นกรดไขมันสายสั้น (Short chain fatty acid) ที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้และมีประโยชน์ในการบำรุงระบบทางเดินอาหาร ลดโอกาสการเกิดลำไส้อักเสบ อาการปวดท้อง และท้องร่วง

  • บำรุงระบบหลอดเลือดหัวใจ เพราะในเนยมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่จะช่วยกำจัดกรดไขมันโอเมกา 6 ซึ่งเป็นไขมันไม่ดีในร่างกายหากบริโภคมากเกินไปและมีส่วนทำให้หลอดเลือดอุดตันได้

  • บำรุงและรักษาโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ เพราะวิตามินในเนยที่มีปริมาณมากที่สุดคือ วิตามินเอ และวิตามินนี้มีความจำเป็นในการรักษาผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับไทรอยด์

  • บำรุงระบบสืบพันธุ์ ทั้งวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอีในเนย ล้วนเป็นวิตามินสำคัญในการบำรุงระบบประสาทและการทำงานของสมอง นอกจากนี้ไขมันละลายได้ในเนยยังมีส่วนสำคัญในการบำรุงสมรรถภาพทางเพศทั้งในผู้หญิงและผู้ชายด้วย

  • บำรุงสายตา ในเนยมีสารเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารสำคัญในการบำรุงสุขภาพดวงตา ลดโอกาสเกิดโรคต้อหินในกระจกตา รวมถึงลดการเสื่อมสภาพของระบบกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อตาและระบบกล้ามเนื้อหัวใจในภายหลัง

  • บำรุงระบบกระดูก ในเนยมีแร่ธาตุหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการบำรุงซ่อมแซมกระดูก ทั้งยังช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดให้เพียงพอและเสริมภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง เช่น แมงกานีส สังกะสี ทองแดง เซเลเนียม

นอกจากเหนือจากประโยชน์ที่กล่าวไปข้างต้น เนยยังมีประโยชน์อื่นๆ ต่อสุขภาพ เช่น

  • บำรุงระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยป้องกันความเสื่อมของเซลล์ และชะลอการอักเสบภายในร่างกาย
  • เป็นไขมันจำเป็นสำหรับพัฒนาสมองเด็ก
  • ป้องกันโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ

ข้อควรระวังในการรับประทานเนย

แม้เนยจะมีคุณประโยชน์มากมาย แต่ไม่ได้หมายความว่า จะสามารถรับประทานเนยมากเท่าไรก็ได้ เนื่องจากบางครั้งการรับประทานเนยก็ก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน ดังนี้

1. อาการแพ้นม

เพราะเนยเป็นผลิตภัณฑ์ทำมาจากนม หากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อาหารเกี่ยวกับนมก็เสี่ยงที่จะแพ้เนยได้ด้วย ดังนั้นถ้ามีโรคดังกล่าวจึงควรหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของเนยจะปลอดภัยที่สุด

อาการแพ้อาหารสามารถรุนแรงได้ถึงขั้นอาการภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต

อาการที่เกิดหลัง หรือขณะรับประทานอาหาร ซึ่งบ่งชี้ว่า อาจมีภาวะแพ้อาหาร ได้แก่

  • เวียนศีรษะ
  • รู้สึกคันลิ้นและปาก
  • ลิ้นบวม หรือบวมทั้งใบหน้า
  • กลืนน้ำลายลำบาก
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • หายใจไม่สะดวก
  • มีผื่นลมพิษขึ้นตามตัวและรู้สึกคันระคายเคือง

2. อาการแพ้น้ำตาลแลคโตส

เช่นเดียวกับอาการแพ้นม ผู้ที่มีอาการแพ้น้ำตาลแลคโตสก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนยเช่นกัน

หรือหากต้องการรับประทานเนยจริงๆ การรับประทานเนยใส หรือเนยหมัก (Cultured butter) ซึ่งมีปริมาณน้ำตาลแลคโตสน้อยมาก อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

3. เกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูง

อย่างที่รู้กันดีว่า เนยเป็นอาหารที่มีไขมันสูง หากรับประทานมากเกินไปก็จะทำให้คอเลสเตอรอลในร่างกายมีมากเกินจำเป็นจนเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) ซึ่งเกิดจากไขมันไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดจนหนาตัวขึ้นเรื่อยๆ

ในที่สุดหลอดเลือดก็จะอุดตันทำให้เลือดไม่สามารถไหลไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ และยังทำให้เกิดอาการค้างเคียงร้ายแรงตามมา เช่น

  • เจ็บหน้าอก (Chest pain)
  • หัวใจวาย (Heart attack)
  • เป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • หลอดเลือดแดงแข็งตัว (Hardened arteries)
  • หลอดเลือดส่วนปลายอุดตัน (Peripheral arterial disease)
  • เป็นโรคไต (Kidney disease)

นอกจากนี้เนยยังเป็นอาหารที่ให้แคลอรีสูง หากรับประทานเนยแล้วไม่ได้ออกกำลังกาย ก็จะส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้และอาจเกิดภาวะอ้วนตามมา

ควรรับประทานเนยประเภทใดจึงจะดีต่อสุขภาพที่สุด?

เนยที่เหมาะสำหรับรับประทานและดีต่อสุขภาพที่สุด คือ เนยแท้

เพราะเนยแท้ ถือเป็นเนยที่ผ่านสารปรุงแต่ง สารเคมี สารเลียนกลิ่นธรรมชาติ รวมถึงกระบวนการถนอมอาหารน้อยที่สุด จึงยังคงมีคุณค่าทางสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายคุณมากที่สุดเมื่อเทียบกับเนยประเภทอื่น

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะรับประทานเนยชนิดใดก็ล้วนเป็นการบริโภคไขมันเข้าสู่ร่างกายเหมือนกันทั้งนั้น

ดังนั้นการรับประทานเนยเพื่อสุขภาพที่แท้จริงจึงไม่ได้อยู่ที่เนยประเภทใด แต่อยู่ที่ปริมาณการรับประทาน การจำกัดปริมาณไขมันที่บริโภคเข้าสู่ร่างกายในแต่ละวันมากกว่า

อย่างไรก็ตาม วิธีรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่สุดคือ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่ใช่เน้นไปที่อาหารประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้นเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน และทำให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคเบาหวาน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชันเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ดร.ปิยวรรณ ศุภวิทิตพัฒนา, เทคโนโลยีนมและผลิตภัณฑ์ (http://elearning.psru.ac.th/courses/104/บทที่%2011/27_บทที่่%2011.pdf), 29 มิถุนายน 2563.
นสภ.มลธิรา ชัยชนะ,"Trans Fat" ไขมันตัวร้าย (http://www.pharmacy.up.ac.th/PHAR1/Newsletter/Guest/Aug.58/1.pdf), 29 มิถุนายน 2563.
Rachel Link, Is Butter Bad for you, or good? (https://www.healthline.com/nutrition/is-butter-bad-for-you#what-it-is), 14 June 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เครื่องดื่มชูกำลังคืออะไร ช่วยบำรุงสุขภาพได้จริงหรือ?
เครื่องดื่มชูกำลังคืออะไร ช่วยบำรุงสุขภาพได้จริงหรือ?

เครื่องดื่มชูกำลัง มีส่วนผสมสำคัญคือคาเฟอีน ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า แต่อาจส่งผลเสียต่อเด็ก สตรีมีครรภ์ได้

อ่านเพิ่ม
องุ่น ผลไม้ที่ให้ประโยชน์มากกว่ารสหวาน
องุ่น ผลไม้ที่ให้ประโยชน์มากกว่ารสหวาน

รวมข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหาร ประโยชน์ขององุ่น รับประทานยังไงให้ดีต่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม
ตรวจไตสำคัญอย่างไร อ่านค่าอย่างไร ควรตรวจอะไรบ้าง
ตรวจไตสำคัญอย่างไร อ่านค่าอย่างไร ควรตรวจอะไรบ้าง

รวมข้อมูลการตรวจไต อวัยวะไตสำคัญอย่างไร อ่านค่าไตอย่างไร รายการตรวจไตส่วนมากมีอะไรบ้าง

อ่านเพิ่ม