ตุ่มน้ำที่เท้า

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ตุ่มน้ำที่เท้า

ตุ่มน้ำนั้นเป็นกระเปาะเล็กๆ ที่มีสารน้ำอยู่ภายในซึ่งพบตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย ตุ่มน้ำนั้นมีได้หลายขนาดและอาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นหลังจากอาบแดด จากการติดเชื้อราหรือแบคทีเรีย การถูกแมลงกัดหรือการบาดเจ็บ ตุ่มน้ำนั้นสามารถขัดขวางการทำกิจวัตรประจำวันของเราได้ขึ้นกับตำแหน่งที่เกิด ตัวอย่างเช่น หากมีตุ่มน้ำที่เท้า อาจจะมีปัญหาในการเดิน ออกกำลังกายหรือยืนนานๆ

ตุ่มน้ำที่เท้านั้นพบได้บ่อย แต่โชคดีที่มีหลายวิธีที่สามารถรักษาที่บ้านที่สามารถช่วยบรรเทาอาการและลดความเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุ

หากคุณมีตุ่มน้ำที่เท้า อาจจะเกิดจากการเสียดสี การเดินหรือยืนเป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมงต่อวันนั้นจะเพิ่มความเครียดให้ลงที่ส้นเท้า ฝ่าเท้าและนิ้วเท้า ยิ่งยืนนานเท่าไหร่ในระหว่างวัน ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดตุ่มน้ำที่เท้ามากขึ้น

แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่เดินหรือยืนเป็นเวลานานแล้วจะเกิดตุ่มน้ำ ในหลายกรณีพบว่าตุ่มน้ำเหล่านี้นั้นเกิดจากการใส่รองเท้าที่ไม่พอดี การใส่รองเท้าที่คับเกินไปหรือหลวมเกินไปนั้นจะทำให้เกิดการเสียดสีที่ผิวหนัง และทำให้เกิดตุ่มน้ำขึ้นในชั้นใต้ผิวหนังชั้นบนได้

การที่มีความชื้นหรือเหงื่อออกมากเกินไปนั้นก็สามารถกระตุ้นให้เกิดตุ่มน้ำได้เช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนในหมู่นักกีฬา โดยเฉพาะนักวิ่ง ตุ่มน้ำเล็กๆ จะเกิดจากการที่ต่อมเหงื่อที่เท้านั้นเกิดการอุดตัน

ตุ่มน้ำที่เท้านั้นยังเกิดได้จากหลังถูกแดดเผา นอกจากนั้นยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดตุ่มน้ำที่เท้าได้เช่น

  • Frostbite
  • ปฏิกิริยาภูมิแพ้
  • การสัมผัสกับสารเคมี (เครื่องสำอางหรือน้ำยาซักผ้า)
  • การติดเชื้อรา
  • โรคอีสุกอีใส
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย
  • การติดเชื้อ herpes
  • Dyshidrotic eczema

การวินิจฉัย

ตุ่มน้ำที่เท้าที่เกิดจากการเสียดสีนั้นมักจะหายได้เองในเวลาไม่กี่วันด้วยการรักษาที่บ้าน

แต่ตุ่มน้ำบางตุ่มนั้นอาจจะไม่ตอบสนองต่อการรักษาดังกล่าวหรืออาจจะมีอาการรุนแรงขึ้นได้ ควรไปพบแพทย์หากตุ่มน้ำนั้นทำให้เกิดาอาการเจ็บที่รุนแรงหรือทำให้ไม่สามารถเดินได้ และควรไปพบแพทย์หากมีไข้ คลื่นไส้ หรือหนาวสั่นเกิดร่วมกับตุ่มน้ำ เพราะเป็นอาการที่แสดงว่ามีการติดเชื้อ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แพทย์สามารถเจาะระบายตุ่มน้ำได้ด้วยการใช้เข็มปราศจากเชื้อ หากสงสัยว่ามีการติดเชื้อ จะมีการเก็บตัวอย่างสารน้ำดังกล่าวนั้นไปตรวจเพื่อหาสาเหตุ

การรักษาที่บ้าน

คุณอาจจะอยากเจาะตุ่มน้ำดังกล่าว แต่ไม่ควรทำเช่นนั้นเพราะแผลที่เปิดนั้นจะติดเชื้อได้ ควรปิดแผลด้วยพลาสเตอร์เพื่อช่วยป้องกันตุ่มน้ำในระหว่างที่กำลังรักษาตัวเอง

หากปล่อยตุ่มน้ำไว้โดยไม่ปิดแผล ตุ่มน้ำก็อาจจะแข็งขึ้นและหายไปเองได้ แต่ในระหว่างนั้นอาจจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัว ขึ้นกับขนาดของตุ่มน้ำ ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ควรเจาะตุ่มน้ำดังกล่าว แต่การเจาะระบายน้ำอย่างปลอดภัยในบางครั้งก็อาจจะช่วยลดอาการได้ ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนที่เหมาะสมในการเจาะระบายน้ำจากตุ่มน้ำที่บ้าน

  • ล้างมือด้วยน้ำอุ่นและสบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • ใช้ไม้พันสำลีฆ่าเชื้อที่เข็มด้วยการทาแอลกอฮอล์ที่เข็ม
  • ทำความสะอาดบริเวณตุ่มน้ำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
  • นำเข็มมาเจาะที่ตุ่มน้ำเป็นรูเล็กๆ
  • ปล่อยให้น้ำนั้นระบายออกมาจนหมด
  • ทำความสะอาดและทาขี้ผึ้งหรือครีมฆ่าเชื้อแบคทีเรียเป็นประจำทุกวัน
  • ปิดแผลไว้จนกว่าจะหาย

การป้องกัน

การป้องกันการเกิดตุ่มน้ำที่เท้านั้นต้องรวมถึงการแก้ปัญหาที่เป็นสาเหตุ หากเกิดจากการเสียดสี ควรเปลี่ยนไปใส่รองเท้าที่มีขนาดเหมาะสม หากเท้านั้นถูกับรองเท้าบริเวณใดบริเวณหนึ่งเป็นพิเศษ ควรใส่ที่รองเท้าเพื่อช่วยรองเท้าเพิ่มขึ้นและลดแรงเสียดสีที่เกิดขึ้น

หากคุณเป็นนักกีฬา ควรดูแลเท้าให้แห้งอยู่เสมอ อาจจะใช้ผงทาเท้าเพื่อลดเหงื่อที่ออกหรือใส่ถุงเท้าที่ช่วยลดความชื้นที่ออกแบบมาสำหรับนักกีฬา ถุงเท้าลักษณะนี้นั้นจะแห้งได้เร็วกว่าและช่วยลดความชื้น หากผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเช่นแป้ง โลชั่น หรือสบู่หรือมีสารก่อภูมิแพ้กระตุ้นให้เกิดตุ่มน้ำที่เท้า ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารดังกล่าวเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดตุ่มน้ำอันใหม่ หากตุ่มน้ำนั้นเกิดจากโรค ควรปรึกษาวิธีการรักษากับแพทย์ หากสามารถรักษาโรคที่เป็นสาเหตุได้ ก็อาจจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดตุ่มน้ำลดลง


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Blisters on the feet: Causes, treatment, and prevention. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319878)
Dyshidrotic Eczema: Overview, Causes, Diagnosis, and Pictures. Healthline. (https://www.healthline.com/health/dyshidrotic-eczema)
Blisters on Feet: Causes and Treatments. Healthline. (https://www.healthline.com/health/blisters-on-feet)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)