ตาฟกช้ำดำเขียว หมายถึง การมีรอยช้ำรอบดวงตา โดยปกติมักเกิดจากอาการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือใบหน้าแล้วทำให้มีเลือดออกใต้ผิวหนัง เมื่อเส้นเลือดเล็กๆ หรือเส้นเลือดฝอยภายใต้ผิวหนังแตกออก เลือดก็จะซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อรอบๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีรอบดวงตาหรืออาการช้ำรอบๆ ขึ้นมา
อาการตาฟกช้ำดำเขียว
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว บางครั้ง อาการตาฟกช้ำดำเขียวอาจเกิดขึ้นภายหลังการเข้ารับกระบวนการผ่าตัดบางอย่าง เช่น การผ่าตัดเสริมจมูก หรือศัลยกรรมตกแต่งต่างๆ เนื่องจากเลือดจากหน้าผากหรือจมูกไหลมาตกตะกอนบริเวณตาด้วยแรงโน้มถ่วง แต่ถ้าหากมีการแตกหักของกระดูกบริเวณฐานของกะโหลกศีรษะจะพบเลือดขังใต้ตาเป็นขอบเขตชัดเจน ซึ่งเรียกว่า ตาแรคคูน (Raccoon Eye)
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ภายในเวลาสองสัปดาห์ รอยฟกช้ำสีดำหรือออกสีน้ำเงินรอบดวงตาจะค่อยๆ จางหายไปเป็นสีเหลืองหรือสีเขียว เพราะเลือดใต้ผิวหนังเกิดการสลายตัวและถูกดูดซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อรอบๆ ซึ่งแต่ละคนจะใช้เวลามากน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปริมาณเลือดที่สะสมภายในผิวหนังเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าว
ภาวะแทรกซ้อนของอาการตาฟกช้ำดำเขียว
บางครั้งอาการตาฟกช้ำสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับอาการบาดเจ็บต่อดวงตา เช่น เป็นโรคภูมิแพ้อากาศ ผู้ที่เป็นโรคนี้อาจพบว่าบริเวณดวงตามีรอยช้ำรอบๆ อาการนี้เกิดขึ้นจากการไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มมากขึ้นจากอาการแพ้ จึงทำให้เส้นเลือดดำขนาดเล็กใต้ตาของคั่งไปด้วยเลือดมากมาย
และอีกกรณีหนึ่งที่แม้จะพบได้น้อยมาก แต่อาการตาฟกช้ำในเด็กที่ไม่ได้รับการบาดเจ็บใดๆ อาจเป็นอาการเริ่มแรกของมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีลอยด์ (Myeloid Leukemia)
หากมีอาการตาฟกช้ำควรไปพบแพทย์เมื่อใด
อาการตาฟกช้ำดำเขียวอาจเป็นผลกระทบจากการแตกหักของกระดูกในบริเวณใบหน้า หากพบอาการเหล่านี้ร่วมอยู่ด้วย ภายหลังจากได้รับการกระทบกระแทก หรือเกิดอุบัติเหตุ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
-
มองเห็นไม่ชัดเท่าเดิม
แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
กด -
วิงเวียนศีรษะ
-
อิดโรย
-
หลงๆ ลืมๆ
แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
กด -
มีเลือดหรือของเหลวใสๆ ไหลออกจากจมูกหรือหู
-
มีเลือดออกบนผิวลูกตา
การวินิจฉัยโรคจากอาการตาฟกช้ำดำเขียว
หากคุณไปพบแพทย์เพื่อรักษาตาฟกช้ำ แพทย์ของคุณจะทำการตรวจร่างกายพื้นฐาน พวกเขาจะซักถามว่ามีการบาดเจ็บเกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไร และสอบถามเกี่ยวกับการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้อง แพทย์จะทดสอบการมองเห็นของคุณโดยส่องแสงเข้าตา และให้คุณทำตามนิ้วของพวกเขาจากการมองเห็นของคุณ
หากสงสัยว่ามีการแตกหักของกะโหลกศีรษะ คุณจะจำเป็นต้องทำการถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) และภาพเอกซเรย์บริเวณใบหน้าและศีรษะ หากสงสัยว่ามีการบาดเจ็บที่ตาคุณจะถูกส่งต่อไปยังจักษุแพทย์ ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจตรวจโดยใช้สีย้อมตาของคุณเพื่อทดสอบการถลอกของลูกตา (Eyeball abrasion)
หากสงสัยว่ามีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะคุณจะถูกส่งไปยังศัลยแพทย์ระบบประสาท (Neurosurgeon) หากสงสัยว่ามีการแตกหักของบริเวณใบหน้าคุณจะถูกส่งต่อไปยังแพทย์ด้านหูคอจมูก (ENT)
การวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องกับอาการตาฟกช้ำดำเขียว
ภาวะที่มักเกี่ยวข้องกับอาการดังกล่าว ได้แก่
-
จมูกหักหรือแตก
-
การกระแทก
-
โรคฮีโมฟีเลีย A (Hemophilia A)
-
โรคฮีโมฟีเลีย B (Hemophilia B)
-
ภาวะเลือดออกบริเวณเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (Epidural Hematoma)
-
ภาวะฉุกเฉินของดวงตา
-
การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ
-
โรคขาดสารแข็งตัวของเลือด Factor II
-
โรคขาดสารแข็งตัวของเลือด Factor V
-
โรคขาดสารแข็งตัวของเลือด Factor VII
-
โรคขาดสารแข็งตัวของเลือด Factor X
-
กลุ่มอาการทารกถูกเขย่า (Shaken Baby Syndrome)
-
กะโหลกศีรษะแตกหัก
-
ภาวะเลือดคั่งบริเวณใต้เยื่อหุ้มสมอง (Subdural Hematoma)
-
โรคความผิดปกติในการแข็งตัวของเกล็ดเลือด (Von Willebrand Disease)
การรักษาอาการตาฟกช้ำดำเขียว
อาการตาฟกช้ำที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย สามารถรักษาได้ด้วยการ
ประคบเย็นหรือประคบน้ำแข็ง : เป็นเวลา 20 นาที สลับกับหยุดพักเป็นเวลา 20 นาที เมื่ออาการบวมลดลงอาจใช้การประคบอุ่นเพื่อช่วยส่งเสริมการดูดซึมเลือด และทำให้อาการตาฟกช้ำและรอยดำหายเร็วขึ้น
พักผ่อนให้เพียงพอ
รับประทานยาแก้ปวด เช่น ยาไอบูโพรเฟนหรือยาพาราเซตามอล
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือกดในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ
การรับประทานวิตามินซีและวิตามินเค จะช่วยรักษาและลดอาการบวมได้เร็วขึ้นได้เช่นกัน
การรักษาอาการตาฟกช้ำดำเขียวในเด็กและทารก
หากพบอาการตาฟกช้ำดำเขียวในเด็กเล็กและทารก ควรได้รับการรักษาด้วยการประคบเย็นที่ตาเป็นเวลา 15 นาทีต่อครั้งตลอดทั้งวัน หากพบอาการบวมจนทำให้ตาปิด หรือมองเห็นได้ไม่สะดวก ก็ควรสวมผ้าปิดตาเอาไว้ และพยายามอย่าให้เด็กยกมือขยี้ตา
ที่มาของข้อมูล
J. C. Jones and Justin Sarachik, What Causes Black Eye? (https://www.healthline.com/symptom/black-eye), November 1, 2016.