กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ผู้ป่วยไบโพลาร์กับความสัมพันธ์เรื่องเพศ

รวมคำตอบเกี่ยวกับปัญหาเรื่องเพศของผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ มากเกินไปหรือน้อยเกินไป แก้อย่างไรดี
เผยแพร่ครั้งแรก 8 ม.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ผู้ป่วยไบโพลาร์กับความสัมพันธ์เรื่องเพศ
  • โรคไบโพลาร์สามารถส่งผลกระทบทั้งทำให้ผู้ป่วยมีความต้องการทางเพศมากเกินไป และทำให้ขาดความต้องการทางเพศ
  • โรคไบโพลาร์เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมทางเพศ เสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และทำให้เกิดปัญหาชีวิตคู่
  • ทางออกที่ดีที่สุดของการแก้ไขปัญหาความต้องการทางเพศในผู้ป่วยไบโพลาร์ คือ การพูดคุยและปรึกษาอย่างตรงไปตรงมากับแพทย์
  • ผู้ที่คบหากับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ สามารถอยู่เคียงข้างคนรักได้ เพียงแค่ทำความเข้าใจ และมีการพูดคุยกันตรงๆ เกี่ยวกับปัญหาอาการของโรค รวมถึงแนวทางการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน
  • การปรึกษาจิตแพทย์สามารถช่วยคัดกรองโรคไบโพลาร์ได้ (ดูแพ็กเกจต่างๆ ได้ที่นี่)

เมื่อพูดถึงโรคไบโพลาร์ หลายคนคงจะนึกถึงผู้ที่มีอาการอารมณ์แปรปรวน 2 ด้าน หรือผู้ที่อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ไม่สามารถคาดเดาได้ถูก และมักจะมีปัญหาในการเข้าสังคมหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 

ซึ่งหากเราได้ลงลึกไปถึงปัญหาด้านความสัมพันธ์กับผู้ป่วยไบโพลาร์แล้ว โรคไบโพลาร์สามารถส่งผลกระทบไปถึงเรื่องความต้องการทางเพศได้ทีเดียว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาหย่อนสมรรถภาพ วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 70%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความเกี่ยวข้องระหว่างโรคไบโพลาร์กับความต้องการทางเพศ

เพราะผู้ป่วยโรคไบโพลาร์จะมีอาการอารมณ์ดีผิดปกติ (Mania หรือ Hypomania) สลับกับอาการซึมเศร้า (Major depressive episode) ซึ่งทั้ง 2 อาการนี้เอง ที่เป็นต้นเหตุของปัญหาเรื่องความต้องการทางเพศที่เปลี่ยนไปของผู้ป่วย 

ภาวะความต้องการทางเพศที่มากเกินไปของผู้ป่วยไบโพลาร์

สำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการทางเพศสูงกว่าปกติ (Hypersexuality) หรือมีความสนใจ และหมกมุ่นกับกิจกรรมทางเพศมากเกินไปนั้น จะมาจากอาการในช่วงที่อารมณ์ดีผิดปกตินั่นเอง 

และเพราะภาวะความผิดปกติดังกล่าว จึงทำให้ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์บางรายมีความเสี่ยงที่จะเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ผิดศีลธรรม และมีโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ เช่น

  • เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • นอกใจคนรักหรือคู่สมรสของตนเอง
  • ล่วงละเมิดทางเพศหรือบังคับขืนใจผู้อื่น
  • มักจะไปใช้บริการสถานบริการทางเพศบ่อยครั้ง
  • ดูสื่อลามกอนาจารบ่อย
  • หมกมุ่นอยู่กับการช่วยตัวเอง
  • มีพฤติกรรมถ้ำมอง 
  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัย

นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ที่มีพฤติกรรมหมกมุ่นเรื่องเพศมากเกินไป ยังเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดเซ็กส์ได้ด้วย และผู้ป่วยอาจมีพฤติกรรมเพิกเฉยต่อสังคม ซึ่งเป็นอาการที่จะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ผู้ป่วยไบโพลาร์ทุกคนที่จะมีความต้องการทางเพศสูงกันหมด โดยอัตราเฉลี่ยของผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมหมกมุ่นเรื่องเพศนั้น จะมีอยู่ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยไบโพลาร์ทั้งหมด และพบได้มากในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

ภาวะความต้องการทางเพศที่ลดลงของผู้ป่วยไบโพลาร์

อย่าเข้าใจผิดว่า ผู้ป่วยไบโพลาร์จะมีความต้องการทางเพศมากกว่าปกติเท่านั้น เพราะยังมีผู้ป่วยอีกหลายรายที่มีอาการความต้องการทางเพศลดลง บางรายถึงขั้นมีสมรรถภาพทางเพศต่ำลงด้วย หรือไม่มีความต้องการทางเพศเหลืออยู่เลย โดยภาวะนี้จะเกิดขึ้นในช่วงอารมณ์ซึมเศร้าเป็นส่วนมาก 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาหย่อนสมรรถภาพ วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 70%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สำหรับตัวอย่างพฤติกรรมเกี่ยวกับความต้องการทางเพศที่ลดลง จะได้แก่

  • รู้สึกเบื่อหน่าย ไม่สนใจและขาดความต้องการทางเพศ
  • ไม่ดูแลตนเอง ไม่ทำความสะอาดร่างกาย หรือไม่สนใจเรื่องรูปลักษณ์ของตนเอง
  • รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เฉื่อยชา ทำให้ระยะเวลาและความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์ลดลง

ภาวะความต้องการทางเพศที่ลดลงนี้ สามารถก่อปัญหาได้ไม่ต่างจากภาวะความต้องการทางเพศมีมากเกินไป เพราะแน่นอนว่าต้องมีคนไม่เข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศที่เปลี่ยนไปของผู้ป่วย โดยเฉพาะคนรักหรือคู่สมรส

ซึ่งผลที่ตามมานั้น อาจเป็นการทะเลาะเบาะแว้ง ความรู้สึกสับสนในชีวิตคู่ หรือโกรธเมื่อจู่ๆ ผู้ป่วยก็อารมณ์ดีและเกิดความต้องการทางเพศสูงขึ้นมาโดยคาดเดาไม่ได้ แต่จู่ๆ หลังจากนั้นก็กลับไปซึมเศร้าและไม่สนใจเรื่องเพศอีกครั้ง

นอกจากนี้ ยารักษาโรคไบโพลาร์บางชนิดยังส่งผลกระทบทำให้เกิดผลข้างเคียงเรื่องแรงขับทางเพศที่น้อยลงด้วย หากคุณเป็นผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ และสงสัยว่ายาเป็นต้นเหตุทำให้เกิดภาวะที่ผิดปกติดังกล่าว ให้ลองปรึกษาแพทย์เพื่อขอเปลี่ยนยา และอย่าเปลี่ยนยาหรือหยุดยาเองเป็นอันขาด

วิธีแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์เรื่องเพศกับผู้ป่วยไบโพลาร์

การปรึกษาแพทย์อย่างตรงไปตรงมาเรื่องปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศ คือทางออกที่ดีที่สุด และช่วยแก้ปัญหาได้ดีที่สุด อย่าอายหากคุณจะต้องพูดคุยกับแพทย์ว่า อาการหรือการรักษาโรคไบโพลาร์ในขณะนั้นส่งผลกระทบต่อเรื่องความต้องการทางเพศของตนเอง

นอกจากนี้ การเปิดอกพูดคุยกับคนรักหรือคู่สมรสว่า อาการของโรคอาจทำให้เรื่องความต้องการทางเพศของคุณเปลี่ยนไป ก็เป็นอีกทางแก้ปัญหาที่จะช่วยลดความขัดแย้งหรือการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างกันได้ และยังจะทำให้คู่ชีวิตของคุณเกิดความเข้าอกเข้าใจในอาการของโรคที่เกิดขึ้นมากกว่าเดิมด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาหย่อนสมรรถภาพ วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 70%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การคบหากับผู้ป่วยโรคไบโพลาร์

บางคนอาจมีคำถามว่า หากตนเองกำลังคบหากับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์อยู่ แล้วควรจะรับมือกับอารมณ์หรืออาการของอีกฝ่ายอย่างไร ซึ่งเรามีคำแนะนำให้ได้ต่อไปนี้

  • ตอบคำถามตนเองให้ได้ว่า คุณรักเขาจริงๆ หรือไม่ และสามารถอยู่ข้างๆ เขาได้ไหม หากเขาเกิดอารมณ์แปรปรวนหรือหงุดหงิดขึ้นมาอย่างควบคุมไม่ได้
  • แสดงให้คนรักของคุณเห็นว่า คุณเข้าใจความทุกข์ทรมานของเขา และคุณซาบซึ้งต่อสิ่งดีๆ ที่เขามีให้
  • พูดคุยทำข้อตกลงกับคนรักของคุณว่า เมื่อเขาเกิดอาการของโรคขึ้นมา อยากจะให้คุณรับมืออย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน และลดโอกาสการเลิกรา
  • เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมากขึ้น เพื่อให้คุณเข้าใจในตัวคนรักมากกว่าเดิม
  • กล่าวชื่นชมเมื่อคุณเห็นถึงความพยายาม และความตั้งใจที่จะเอาชนะโรคไบโพลาร์ให้ได้ เพื่อให้เขามีกำลังใจและรู้สึกดีต่อตนเอง
  • เตรียมคำพูดไว้สำหรับสถานการณ์เมื่อคนรักของคุณเกิดอาการอารมณ์ซึมเศร้า และอารมณ์ดีผิดปกติ เพื่อให้คุณรับมือได้ถูกต้องทันเวลา คุณสองคนอาจเตรียทรหัสลับไว้เพื่อเตือนสติกันและกัน หรือเพื่อแสดงความรัก ความห่วงใย หรือเพื่อป้องกันไม่ให้อีกฝ่ายทำพฤติกรรมอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น

การตั้งครรภ์ในผู้ป่วยโรคไบโพลาร์

ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์สามารถตั้งครรภ์ได้ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ อาการของโรคอาจแย่ลงในระหว่างนั้น รวมถึงมีความเสี่ยงต้องเข้าโรงพยาบาลในระหว่างตั้งครรภ์บ่อยกว่าคุณแม่ทั่วไปด้วย

หากคุณเป็นโรคไบโพลาร์และต้องการมีบุตร หรือเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นในระหว่างที่กำลังรักษาโรคไบโพลาร์ คุณควรปรึกษาสูตินรีแพทย์หรือจิตแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงของการใช้ยารักษาโรคไบโพลาร์ เพราะยาบางตัวอาจเพิ่มความเสี่ยงให้ลูกของคุณพิการแต่กำเนิดได้

ทั้งนี้ คุณอย่าเพิ่งหยุดใช้ยาเองเป็นอันขาด เพราะการหยุดใช้ยาอย่างกะทันหันอาจทำให้เกิดอันตรายต่อตัวคุณแม่ และทารกในครรภ์ได้ โดยคุณจะต้องพูดคุยปรึกษากับแพทย์ เพื่อชั่งน้ำหนักว่า การรับประทานยาหรือหยุดรับประทานยาจะส่งผลดีต่อการตั้งครรภ์มากกว่ากัน

ในปัจจุบันมีผู้คนมากมายที่กำลังคบหา หรือมีคู่สมรสเป็นผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ และอาการของโรคก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์มากขนาดนั้น เพียงแต่อาจต้องอาศัยความรัก ความเข้าใจ และการมีสติในระหว่างที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน เพื่อให้ความสัมพันธ์ของคุณและคนรักยั่งยืน ไม่เกิดการทะเลาะเบาะแว้งบ่อยจนระหองระแหง

ไม่ว่าคุณจะเป็นตัวผู้ป่วยเอง หรือเป็นคนรักของผู้ป่วย เพียงคุณเข้าใจถึงอาการของโรค และอยากจะเอาชนะโรคไปพร้อมๆ กับคนรัก เพียงเท่านี้ โรคไบโพลาร์ก็จะไม่เป็นอุปสรรคต่อความสัมพันธ์ของคุณอีกต่อไป

สนใจแพ็กเกจปรึกษาจิตแพทย์ คลิกได้ที่นี่


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Bipolar Disorder: When Sexuality Is in Overdrive. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/bipolar-disorder/bipolar-disorder-and-sex.aspx)
The Impact of Bipolar Disorder on Sex. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/bipolar-disorder-and-sex-380585)
Bipolar and sex: What's the connection?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324595)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ตัวอย่างของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (BPD) ในแบบของจอร์แดน
ตัวอย่างของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (BPD) ในแบบของจอร์แดน

เรียนรู้เพิ่มจากอีกตัวอย่างของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง

อ่านเพิ่ม
อาการของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง Borderline Personality Disorder (BPD) Symptoms
อาการของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง Borderline Personality Disorder (BPD) Symptoms

เข้าใจถึงอาการของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder (BPD))

อ่านเพิ่ม