การดื่มแบบบินจ์ (Binge Drinking) คือ การดื่มสุราอย่างหนักภายในช่วงเวลาอันสั้นหรือการดื่มแบบ “เมาหัวราน้ำ” นักวิจัยระบุว่าการดื่มแบบบินจ์ คือ การดื่มสุราปริมาณ 8 ดื่มมาตรฐานหรือมากกว่าต่อการดื่ม 1 ครั้ง สำหรับผู้ชาย และการดื่มสุราปริมาณ 6 ดื่มมาตรฐานหรือมากกว่าต่อการดื่ม 1 ครั้ง สำหรับผู้หญิง อย่างไรก็ตามการกำหนดปริมาณดื่มมาตรฐานดังกล่าวข้างต้นอาจไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน ขึ้นอยู่กับความทนของร่างกายต่อแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไปและความเร็วในการดื่มของแต่ละบุคคล
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%
ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้การดื่มสุราส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แนะนำให้พยายามควบคุมปริมาณการดื่ม ดังนี้
- ทั้งหญิงและชาย ไม่ควรดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เกินกว่า 14 ดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์
- หากต้องการลดปริมาณการดื่มลงเรื่อยๆ แนะนำให้มีการกำหนดวันปลอดสุรา 2-3 วันในแต่ละสัปดาห์
- หากดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เกินกว่า 14 ดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์ แนะนำว่าไม่ควรดื่มหนักในคราวเดียวแต่ควรแบ่งปริมาณการดื่มออกเป็นหลายๆ วัน
โดย 14 ดื่มมาตรฐานเทียบเท่ากับเบียร์สดที่มีความเข้มข้นระดับกลางจำนวน 6 ไพนต์หรือไวน์ที่มีความเข้มข้นต่ำจำนวน 10 แก้วเล็ก
และเพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ แนะนำให้พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่ม ดังนี้
และเพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ แนะนำให้พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่ม ดังนี้
- ควรกำหนดปริมาณการดื่มสุราในแต่ละครั้ง
- ดื่มให้ช้าลง
- ดื่มร่วมกับการทานอาหาร
- ดื่มสลับกับน้ำหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ต่างๆ
- วางแผนการดื่มล่วงหน้าเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากอาการมึนเมา เช่น หาวิธีการกลับบ้านอย่างปลอดภัยเมื่อเมา หรือมีใครสักคนที่คุณไว้วางใจสามารถส่งคุณกลับบ้านได้ เป็นต้น
การติดตามและคอยสังเกตพฤติกรรมการดื่มของตนเองมีความสำคัญอย่างยิ่ง หากคุณอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการดื่ม อาจเกิดความเสี่ยงจากการชักชวนจากผู้อื่นและเมื่อเมาก็ไม่สามารถดูแลเพื่อนได้ ไม่เพียงเท่านี้คุณยังอาจขาดสติ ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมหรือคำพูดของตน จนอาจเป็นเหตุทำให้คุณตัดสินใจทำอะไรที่อาจเสี่ยงและเป็นอันตราย
การดื่มในปริมาณมากในช่วงเวลาอันสั้นส่งผลกระทบหลายๆ ด้าน ดังนี้
- อาจเกิดอุบัติเหตุอันเป็นสาเหตุของอาการบาดเจ็บหรืออาจเสียชีวิตได้
- ขาดการควบคุมตนเองหรือการยับยั้งชั่งใจ อย่างการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
- การตัดสินใจผิดพลาดอาจส่งผลทำให้เกิดสถานการณ์อันเลวร้ายและคาดไม่ถึงได้
คำแนะนำและผลข้างเคียงจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่แตกต่างกัน คำแนะนำการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อไปนี้ ได้ยึดปริมาณมาตรฐานที่ 175 มล.ของไวน์ขาวที่มีระดับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อยู่ที่ 12% และเบียร์สดที่มีระดับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อยู่ที่ 4% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ที่ส่งผลต่อร่างกายและสมอง
ไวน์ขาว 1 แก้ว หรือเบียร์สด 1 ไพนต์ ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ 2 ดื่มมาตรฐาน ส่งผลต่อร่างกายและสมอง ดังนี้
- คุยเก่งขึ้นและรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
- ความสามารถในการขับขี่ลดลง จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเมื่อต้องขับรถคุณไม่ควรดื่มสุรา
ไวน์ขาว 2 แก้ว หรือเบียร์สด 2 ไพนต์ ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ 4 ดื่มมาตรฐาน ส่งผลต่อร่างกายและสมอง ดังนี้
- อัตราการไหลเวียนของเลือดเพิ่มสูงขึ้น
- เริ่มเข้าสู่ภาวะที่ร่างกายขาดน้ำอันเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเมาค้าง
- การควบคุมตนเองและการยับยั้งชั่งใจน้อยลง นอกจากนี้ช่วงของความสนใจยังสั่นลงด้วย
ไวน์ขาว 3 แก้ว หรือเบียร์สด 3 ไพนต์ ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ 6 ดื่มมาตรฐาน ส่งผลต่อร่างกายและสมอง ดังนี้
- การตอบสนองของร่างกายช้าลง
- มีความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้น ในขณะที่การคิดและการตัดสินใจลดลง
- ตับทำงานหนักมากขึ้น
ไวน์ขาว 4 แก้ว หรือเบียร์สด 4 ไพนต์ ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ 8 ดื่มมาตรฐาน ส่งผลต่อร่างกายและสมอง ดังนี้
- รู้สึกสับสน งุนงง
- ความต้องการทางเพศลดลง ทั้งยังส่งผลทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
- มีอารมณ์แปรปรวนอย่างเห็นได้ชัด
พึงระลึกเสมอว่า สำหรับบางราย (ผู้หญิงหรือเด็กหนุ่มสาว) แอลกอฮอล์อาจส่งผลต่อร่างกายและพฤติกรรมได้แม้ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่หากร่างกายของคุณเริ่มดื้อแอลกอฮอล์ ผลกระทบและพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้นอาจไม่เกิดขึ้นเลยก็เป็นได้ และหากเป็นเช่นนี้ คุณอาจต้องเริ่มคิดถึงการลดปริมาณการดื่มลงบ้างหรืออาจต้องขอความช่วยเหลือเพื่อการเลิกดื่มสุราเสียที