องุ่น ผลไม้ที่ให้ประโยชน์มากกว่ารสหวาน

รวมข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหาร ประโยชน์ขององุ่น รับประทานยังไงให้ดีต่อสุขภาพ
เผยแพร่ครั้งแรก 5 มิ.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
องุ่น ผลไม้ที่ให้ประโยชน์มากกว่ารสหวาน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • องุ่น คือ พืชไม้เลื้อยที่มีผลขนาดเล็กหลายสี เช่น สีเขียว สีแดงอมม่วง
  • องุ่นมีจุดเด่นด้านเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ เช่น ป้องกันโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง บำรุงระบบการมองเห็น ช่วยให้ผิวหนังสุขภาพดี
  • องุ่นสีแดงอมม่วงจะมีสารต้านอนุมูลอิสระหลากหลายกว่าองุ่นสีเขียว เช่น สารแอนโทไซยานิน สารเรสเวอราทรอล สารคาเทชิน
  • คุณต้องระมัดระวังในการรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นองุ่น และมีการเติมน้ำตาล น้ำเชื่อม หรือสารให้ความหวานลงไป เพราะจะทำให้ร่างกายรับน้ำตาลมากจนเกิดภาวะอ้วน หรือเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคเบาหวาน

องุ่น เป็นผลไม้ที่หลายคนนิยมรับประทานเป็นของว่าง เพราะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย มีเม็ดเล็กหยิบกินได้ง่าย

หลายคนคงทราบกันดีว่า องุ่นมีประโยชน์ต่อร่างกายเช่นเดียวกับผักผลไม้ชนิดอื่นๆ แต่จะมีประโยชน์อย่างไร ดีต่ออวัยวะส่วนไหน HD มีคำตอบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

องุ่นคืออะไร?

องุ่น (Grape) เป็นพืชไม้เลื้อย อยู่ในวงศ์องุ่น (Vitaceae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vitis vinifera L. พื้นผิวลำต้นองุ่นมีขนปกคลุมทั่วทั้งต้น ตัวเถามีมือจับเป็นลักษณะช่อดอกสำหรับยึดเกาะ มีผิวอ่อนเรียบ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ขององุ่น

ใบของต้นองุ่นเป็นใบเดี่ยวทรงกลมรี มีหยักเป็นแฉกคล้ายรูปฝ่ามือ ปลายใบแหลม ส่วนโคนใบเว้าเข้าหากันเป็นรูปหัวใจ เนื้อใบบาง ใต้ใบมีขนปกคลุม

ดอกของต้นองุ่นเป็นช่อกลมขนาดยาวและใหญ่ มีสีเหลืองอมเขียว มีกลีบย่อย 5 กลีบแตกออกเป็น 5 แฉก มีรังไข่ 2 อัน ในรังไข่มีไข่อ่อน 2 เมล็ด

ผลของต้นองุ่นจะออกเป็นพวง เป็นทรงกลมรีขนาดเล็ก หรือทรงกลม มีสีเขียว แดงอมม่วง ม่วงเข้มแล้วแต่สายพันธุ์ เปลือกผิวมีผงสีขาวผิวสากเคลือบอยู่ ในผลมีน้ำฉ่ำรสหวาน

สายพันธุ์องุ่นส่วนมากจะมีเม็ดอยู่ในผล บางสายพันธุ์ก็ไม่มี โดยตัวเม็ดมักมี 1-3 เม็ดต่อ 1 ผล รูปทรงยาวรี

องุ่นเป็นผลไม้ที่สามารถออกผลผลิตได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่ผลผลิตมีคุณภาพสูงและไร่องุ่นบนที่สูงมักนิยมเก็บเกี่ยวองุ่น ก็คือ ช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม และช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สารอาหารในองุ่น

องุ่นสีเขียวหรือสีแดงอมม่วงปริมาณ 151 กรัม ให้พลังงาน 104 แคลอรี ประกอบไปด้วยสารอาหารสำคัญ ได้แก่

  • คาร์โบไฮเดรต 27.3 กรัม
  • โปรตีน 1.1 กรัม
  • ไฟเบอร์ 1.4 กรัม

นอกจากนี้ องุ่นยังประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ เช่น วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินเค แร่ธาตุโพแทสเซียม แมงกานีส ทองแดง

ประโยชน์ขององุ่น

ไม่ว่าจะเป็นองุ่นสีเขียว สีแดงอมม่วง หรือสีม่วงคล้ำ ต่างก็ให้ประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น

1. ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและคุมระดับน้ำตาลในเลือด

องุ่นเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อเรื่องอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งพบมากในส่วนเนื้อผลองุ่น โดยเฉพาะองุ่นสีแดงอมม่วง

สารอนุมูลอิสระเด่นๆ ที่พบได้ในองุ่น คือ สารโพลีฟีนอล (Polyphenol) ชื่อว่า เรสเวอราทรอล (Resveratrol) ซึ่งมีประโยชน์ด้านการป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ช่วยเรื่องการปรับระดับน้ำตาลในเลือด

นอกจากนี้ เรสเวอราทรอลยังช่วยต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

แร่ธาตุโพแทสเซียมในองุ่นมีส่วนช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้

ดังนั้นจึงเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิต

หากร่างกายของใครขาดโพแทสเซียม ก็จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง

3. บำรุงระบบการมองเห็น

สารต้านอนุมูลอิสระในองุ่นอย่างสารลูทีน (Lutein) ซีแซนทิน (Zeaxanthin) สามารถช่วยบำรุงสุขภาพดวงตาของคุณให้ดียิ่งขึน

อีกทั้งสารต้านอนุมูลอิสระทั้ง 2 ตัวนี้ ยังช่วยลดการเกิดภาวะ Oxidative stress ซึ่งเป็นภาวะที่มีสารอนุมูลอิสระมีมากเกินไป จนทำให้เกิดการทำลายชีวโมเลกุล และทำให้เรตินาของดวงตาเสื่อมสภาพลง

นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการเกิดโรคต้อกระจก (Cataract) และโรคอื่นๆ เกี่ยวกับดวงตาด้วย

4. บำรุงระบบผิวหนัง

องุ่นอุดมไปด้วยวิตามินซี ซึ่งขึ้นชื่อด้านการบำรุงผิวพรรณให้สุขภาพดี ทั้งยังช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วย

5. ลดระดับคอเลสเตอรอล

สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ชื่อว่า สารลูทีน ในองุ่นในส่วนช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด (Blood clots) ได้ จึงช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอาการหัวใจวายได้

นอกจากนี้ สารฟลาโวนอยด์ชนิดอื่นๆ ในองุ่น ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดให้น้อยลงด้วย

6. บำรุงระบบย่อยอาหาร

ไฟเบอร์ในองุ่นมีประโยชน์ต่อการกระตุ้นระบบย่อยอาหารให้ทำงานอย่างคล่องตัว และยังช่วยบำรุงการทำงานของลำไส้ใหญ่ ลดโอกาสการเกิดโรคริดสีดวงทวาร และถุงผนังลำไส้อักเสบได้

เมนูแนะนำจากองุ่น

ปัจจุบันมีการนำองุ่นมาแปรรูปทำเป็นอาหารมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น

  • ไอศกรีมรสองุ่น
  • ไวน์องุ่น
  • องุ่นอบแห้ง
  • แยมรสองุ่น
  • เจลลี่รสองุ่น
  • น้ำผลไม้รสองุ่น มีทั้งองุ่นม่วงแดงและองุ่นเขียว
  • สลัดอกไก่ใส่องุ่น
  • องุ่นแช่แข็ง
  • องุ่นสดปั่น

นอกจากนี้ องุ่นยังมักถูกนำมาใช้ในเครื่องดื่มค็อกเทล หรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เช่น ไวน์องุ่น องุ่นผสมโซดา น้ำพันช์องุ่น

คำแนะนำในการรับประทานองุ่น คือ ควรรับประทานแบบสดๆ หรือเลือกผลิตภัณฑ์อาหารเกี่ยวกับองุ่นที่ไม่ใส่น้ำตาลมากเกินไป เพื่อไม่ให้คุณต้องรับน้ำตาลมากเกินควร

ความแตกต่างระหว่างองุ่นแดงอมม่วงกับองุ่นเขียว

คุณอาจสงสัยว่า ควรเลือกรับประทานองุ่นแดงอมม่วง หรือองุ่นเขียวดีกว่ากัน ความจริงแล้ว องุ่นทั้งสองสีต่างก็มีประโยชน์ต่อร่างกายเหมือนกัน เพียงแต่อาจมีรสชาติ สารอาหาร หรือวิตามินบางชนิดที่แตกต่างกันไปบ้าง ดังนี้

1. ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ

องุ่นแดงอมม่วงมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่า และหลากหลายกว่าองุ่นเขียวหรือผลไม้ที่มีสีสว่าง เช่น

  • สารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ป้องกันโรคมะเร็งกับอาการอักเสบได้ ซึ่งองุ่นเขียวไม่มี
  • สารเรสเวอราทรอล ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ โรคมะเร็งลำไส้ โรคกระดูกสันหลังเสื่อม สารนี้ในองุ่นเขียวก็มีเช่นกัน แต่มีปริมาณน้อยกว่า
  • สารคาเทชิน พบได้ทั้งในองุ่นเขียวและแดง มีส่วนช่วยบำรุงการทำงานของสมอง ระบบความจำ การแก้ปัญหา และการเรียนรู้ ทั้งยังช่วยลดการอักเสบของเซลล์ในสมอง

นอกจากนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์อื่นๆ ซึ่งพบได้ในองุ่นสีแดงอมม่วง หรือผลไม้สีเข้มเท่านั้น เช่น สารไมริเซติน (Myricetin) สารแคมป์เฟอรอล (Kaempferol) กรดเอลลาจิก (Ellagic acid)

2. รสชาติ

องุ่นสีแดงอมม่วงมักจะรสชาติหวานกว่าองุ่นสีเขียว อีกทั้งเนื้อผลองุ่นจะหนากว่า แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบในรสชาติของผู้บริโภค และยังมีองุ่นสีเขียวอีกหลายสายพันธุ์ที่ให้รสชาติหวานไม่ต่างจากองุ่นสีเข้ม

จากข้อมูลข้างต้น คุณอาจคิดว่า องุ่นสีแดงอมม่วงเป็นตัวเลือกในการรับประทานที่ดีกว่า แต่ย้ำอีกครั้งว่า องุ่นทั้งสองสีล้วนอุดมไปด้วยสารอาหาร และวิตามินที่มีประโยชน์หลักๆ เหมือนกันทั้งคู่ ไม่ว่าจะเป็น

  • วิตามินเอ
  • วิตามินซี
  • เหล็ก
  • สังกะสี
  • แมงกานีส
  • แมกนีเซียม

ดังนั้นไม่ว่าจะรับประทานองุ่นสีอะไร คุณก็ควรได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์เหมือนกันทั้งนั้น

ข้อควรระวังในการรับประทานองุ่น

องุ่นอาจส่งผลข้างเคียงและเป็นอันตรายในกลุ่มผู้บริโภคบางกลุ่ม รวมถึงมีข้อควรระวังบางอย่างในการรับประทานที่คุณควรรู้ เช่น

1. ควรระมัดระวังในกลุ่มผู้รับประทานยาเบตาบล็อกเกอร์

ผู้ที่รับประทานยากลุ่มเบตาบล็อกเกอร์ (Beta blockers) ควรระมัดระวัง เพราะยาตัวนี้สามารถเพิ่มระดับปริมาณแร่ธาตุโพแทสเซียมได้ และองุ่นก็มีแร่ธาตุโพแทสเซียมมากอยู่แล้ว

ดังนั้นการรับประทานองุ่นจึงอาจไปเพิ่มระดับแร่ธาตุโพแทสเซียมในกระแสเลือดมากเกินไปจนเกิดอันตรายได้

2. ระดับน้ำตาลสูง

คุณต้องระมัดระวังผลิตภัณฑ์อาหารเกี่ยวกับองุ่นบางชนิดที่มักเติมน้ำตาล น้ำเชื่อม หรือสารให้ความหวานในปริมาณมาก

เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจทำให้คุณเกิดพฤติกรรมติดกินหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดสูง น้ำหนักตัวมากขึ้น และเกิดภาวะอ้วน หรือโรคเบาหวานตามมาทีหลังได้

3. อาจเกิดอาการแพ้

องุ่นก็สามารถทำให้เกิดอาการแพ้ได้ไม่ต่างจากอาหารชนิดอื่นๆ โดยอาการภูมิแพ้จากองุ่นจะเหมือนกับอาการภูมิแพ้อาหาร ได้แก่ มีผื่นขึ้นตามตัว มีอาการตัวบวม ใบหน้า ปาก หรือลิ้นบวม หายใจลำบาก รู้สึกมีก้อนจุกอยู่ในลำคอ ซึ่งต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

4. ทำให้การแข็งตัวของเลือดช้าลง

ลิ่มเลือดอาจเป็นอันตรายต่อระบบหัวใจ และหลอดเลือด แต่การแข็งตัวของเลือดก็มีความสำคัญในแง่ของการรักษาบาดแผลฉีกขาด ทำให้เลือดหยุดไหล ไม่ทำให้ร่างกายเกิดอาการเลือดออกผิดปกติ

แต่องุ่นเป็นผลไม้อุดมไปด้วยวิตามินเค ซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้การแข็งตัวของเลือดช้าลงได้ คุณจึงควรรับประทานองุ่นแต่พอดี อย่ารับประทานมากเกินไปในครั้งเดียว

องุ่นอาจให้รสชาติที่อร่อย เป็นผลไม้รสหวานกินเล่นที่มีประโยชน์มากมาย แต่ก็อย่าลืมว่า ผลไม้ชนิดนี้มีระดับน้ำตาลค่อนข้างสูง ทั้งยังสามารถทำให้เกิดอาการแพ้ได้

คุณจึงควรรับประทานองุ่นแต่พอดี ควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารชนิดอื่นให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ตนเองมีสุขภาพแข็งแรง และร่างกายได้รับสารอาหารอย่างสมบูรณ์ครบถ้วน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคเบาหวาน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชันเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Natalie Olsen, What are the health benefits of grapes? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/271156#benefits), 15 November 2017.
Melissa Groves, Top 12 Health Benefits of Eating Grapes (https://www.healthline.com/nutrition/benefits-of-grapes#section1), 22 August 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เครื่องดื่มชูกำลังคืออะไร ช่วยบำรุงสุขภาพได้จริงหรือ?
เครื่องดื่มชูกำลังคืออะไร ช่วยบำรุงสุขภาพได้จริงหรือ?

เครื่องดื่มชูกำลัง มีส่วนผสมสำคัญคือคาเฟอีน ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า แต่อาจส่งผลเสียต่อเด็ก สตรีมีครรภ์ได้

อ่านเพิ่ม
ชานมไข่มุก เครื่องดื่มยอดฮิตกับปริมาณแคลอรีที่คุณควรระมัดระวัง
ชานมไข่มุก เครื่องดื่มยอดฮิตกับปริมาณแคลอรีที่คุณควรระมัดระวัง

ชานมไข่มุก 1 แก้วให้พลังงานเท่าไร มีประโยชน์ต่อร่างกายหรือไม่ มาดูพร้อมๆ กัน

อ่านเพิ่ม
ตรวจไตสำคัญอย่างไร อ่านค่าอย่างไร ควรตรวจอะไรบ้าง
ตรวจไตสำคัญอย่างไร อ่านค่าอย่างไร ควรตรวจอะไรบ้าง

รวมข้อมูลการตรวจไต อวัยวะไตสำคัญอย่างไร อ่านค่าไตอย่างไร รายการตรวจไตส่วนมากมีอะไรบ้าง

อ่านเพิ่ม