ประโยชน์ของการงดดื่มน้ำอัดลม

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ประโยชน์ของการงดดื่มน้ำอัดลม

น้ำอัดลมทั้งหวานทั้งซ่าสดชื่นสุดๆ ยิ่งได้ใส่น้ำแข็งลงไปให้เย็นเจี๊ยบ แค่นี้ชีวิตก็สุขสุดๆแล้ว แต่เดี๋ยวก่อนถ้าใครที่มีอาการติดน้ำอัดลมต้องกินทุกวันหรือกินบ่อยๆแล้วหล่ะก็...ลองมาอ่านสิ่งดีๆ ข้างล่างนี้อาจเปลี่ยนใจไม่อยากกินน้ำอัดลมอีกก็ได้

ประโยชน์ของการงดดื่มน้ำอัดลม

1. รสชาติอาหารดีขึ้น

เนื่องจากในน้ำอัดลมมีน้ำตาลอยู่มาก และมากกว่าน้ำตาลตัวจริงถึง 400-8,000 เท่า ซึ่งความหวานขนาดนี้จะทำให้เข้าไปควบคุมต่อมรับรสหวานภายในสมอง และสั่งให้อยากกินอาหารรสหวาน หรือติดรสหวานมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ต่อมรับรสผิดเพี้ยนไป เมื่อรับประทานอาหารอื่นๆ ก็จะไม่ได้รับรสที่แท้จริงของอาหารนั้น แต่ถ้าเลิกดื่มน้ำอัดลมได้ ร่างกายก็จะค่อย ๆ ปรับเข้าสู่ระบบปกติ ทำให้สามารถรับรสชาติของอาหารทุกจานได้ดีเหมือนเดิม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. ลดน้ำหนักง่ายขึ้น

หากใครต้องการลดน้ำหนัก อย่าได้คิดดื่มน้ำอัดลม เพราะน้ำอัดลมขนาด 12 ออนซ์ มีน้ำตาลมากถึง 39 กรัม กับแคลอรีอีก 90 กิโลแคลอรีเลยทีเดียว

3. ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

จากผลการวิจัย มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่า น้ำอัดลมสามารถกระตุ้นให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจล้มเหลว เพราะน้ำอัดลมจะทำให้ความดันโลหิตสูง และด้วยปริมาณน้ำตาลที่มากยังอาจเพิ่มความเสี่ยงอื่น ๆ ต่อทั้งหลอดเลือดและหัวใจได้

4. ไตทำงานไม่หนัก

เมื่อเราดื่มน้ำอัดลมเท่าไร ไตก็จะทำงานหนักและเสี่ยงโรคมากขึ้นเท่านั้น ทั้งเสี่ยงต่อการตกตะกอนในไตจนนำไปสู่โรคนิ่วในไต โรคไต และอาการไตล้มเหลว

5. ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผลการวิจัยของสถาบัน Diabetes Care พบว่า ผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำทุกวันมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มประมาณ 26% ถึงแม้ว่าจะเลือกดื่มน้ำอัดแบบน้ำตาลน้อย หรือน้ำอัดลมชนิดปราศจากน้ำตาล ก็ตาม อีกทั้งยังพบว่า 2 ใน 3 ของผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมก่อนมื้ออาหาร ร่างกายจะไปกระตุ้นให้ตับอ่อนปล่อยอินซูลินออกมามากกว่าคนปกติ จึงยิ่งเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากขึ้น

6. ฟันขาวขึ้น

เนื่องจากในน้ำอัดลมมีน้ำตาลมากจึงอาจไปทำลายเคลือบฟันและเนื้อฟันได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความถี่และปริมาณน้ำอัดลมที่ดื่มเป็นประจำด้วย ดังนั้นถ้าอยากให้ฟันขาวขึ้นก็ควรลดหรืองดการดื่มน้ำอัดลม ซึ่งจะทำให้น้ำตาลหลุดจากเคลือบฟันไปทีละนิดละหน่อยจนฟันขาวขึ้นได้

7. ฉลาดขึ้น

หากรู้สึกสมองตื้อๆคิดอ่านอะไรไม่ลื่นไหลลองงดน้ำอัดลมดู เพราะการดื่มน้ำอัดลมต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานจะทำให้เกิดผลข้างเคียงกับการทำงานของสมองได้ และถ้าเลิกดื่มน้ำอัดลม สมองก็เหมือนได้ปรับปรุงตัวเองใหม่ เส้นเลือดในสมองสะอาดขึ้น ไหลเวียนดีและลำเลียงสารอาหารได้ดีขึ้น และอย่าได้คิดว่าดื่มน้ำอัดลมประเภทปราศจากน้ำตาลจะทำให้ดีขึ้น เพราะสารแอสปาร์แตมในน้ำอัดลมประเภทนี้จะไปก่อกวนสารเคมีในสมองและเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ใจสั่น และนอนไม่หลับได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

8. กระดูกแข็งแรง

การดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคกระดูกเสื่อมในผู้หญิงมากกว่าไม่ดื่มถึง 14% ซึ่งหากหยุดดื่มน้ำอัดลม ความเสี่ยงต่อโรคไขข้อกระดูกต่าง ๆ ก็จะลดลงไปด้วย

9. เข้าห้องน้ำลดลง

เนื่องจากน้ำอัดลมมีฤทธิ์ขับปัสสาวะไม่ต่างจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลย ดังนั้นถ้าดื่มน้ำอัดลมน้อยลงหรือไม่ดื่มก็จะได้ไม่ต้องเข้าห้องน้ำบ่อยๆ

10. ภูมิต้านทานดีขึ้น

ในน้ำอัดลมมีสารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่ไปทำลายแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ และยังมีน้ำตาลปริมาณมากเกินกว่าร่างกายจะเผาผลาญได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินไป จึงเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และเป็นโรคอ้วนได้ง่าย เมื่อมีโรคภัยมากมายขนาดนี้ ภูมิต้านทานร่างกายก็จะอ่อนแอ ดังนั้นหากอยากให้ภูมิต้านทานไม่แย่ไปกว่านี้ก็ควรเลิกดื่มน้ำอัดลม

เห็นไหมว่าเลิกดื่มน้ำอัดลมแล้วร่างกายดีขึ้นขนาดนี้ ดังนั้นมาเลิกดื่มน้ำอัดลมกันเถอะ!!


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Is diet soda bad for you? Everything you need to know. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/325919)
What's The Real Story About the Danger of Soft Drinks?. AARP® Official Site. (https://www.aarp.org/health/healthy-living/info-2019/soda-health-studies.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป