การปฏิสนธิทางธรรมชาติของมนุษย์เกิดจากเซลล์สืบพันธ์ุของเพศชายคือ “อสุจิ (Sperm)” เข้าไปปฎิสนธิกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงคือ “ไข่ (Oocyte)” ที่บริเวณท่อนำไข่ของเพศหญิง จากนั้นเซลล์ที่ได้รับการปฎิสนธิจะเคลื่อนตัวไปฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกและเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนต่อไป ภาวะการมีบุตรยากคือภาวะที่คู่สมรสมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอและไม่มีการคุ้มกำเนิด แต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ภายในเวลา 1 ปี หรือ 6 เดือนในกรณีที่ฝ่ายหญิงอายุเกิน 35 ปี หลายคู่ที่ต้องการมีบุตรจึงจำเป็นต้องหาเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์มาเป็นตัวช่วย
สาเหตุของการมีบุตรยาก
สาเหตุของการมีบุตรยากจากฝ่ายหญิงและฝ่ายชายแตกต่างกัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ฝ่ายหญิงอาจมีปัญหาเหล่านี้
- การสร้างเซลล์ไข่ที่ผิดปกติ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น การสร้างฮอร์โมนผิดปกติทำให้การสร้างเซลล์ไข่และการตกไข่ผิดปกติ หรือภาวะที่รังไข่ทำงานไม่สมบูรณ์ ทำให้การสร้างเซลล์ไข่ลดน้อยลง
- ท่อนำไข่อุดตัน ส่งผลต่อการปฎิสนธิและการฝังตัวของตัวอ่อน
- การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อ Neisseria gonorrhoeae หรือ Chlamydia trachomatis ทำให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic inflammatory disease) รอยโรคจะเกิดบริเวณท่อนำไข่ หรือเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งจะขัดขวางการเคลื่อนที่ของเซลล์ไข่หรือตัวอ่อน ทำให้มีผลต่อการปฏิสนธิและการฝังตัวได้
ฝ่ายชายอาจมีปัญหาเหล่านี้
- การสร้างอสุจิที่ผิดปกติ เมื่อตรวจคุณภาพของอสุจิว่ามีปริมาณน้อยกว่าเกณฑ์หรือมีรูปร่างที่ผิดปกติ ผู้ป่วยอาจได้รับบาดเจ็บที่บริเวณอัณฑะหรือเป็นโรคทางพันธุกรรม เช่น ไคลน์เฟลเตอร์ซินโดรม (Klinefelter syndrome - กลุ่มอาการที่อัณฑะมีขนาดเล็กและมีการทำงานที่ผิดปกติ ทำให้มีการสร้างอสุจิได้ปริมาณน้อยหรือไม่มีการสร้างเลย)
- การอุดตันของท่อนำอสุจิ สามารถสร้างอสุจิได้ แต่อสุจิที่สร้างไม่สามารถเคลื่อนที่มาบริเวณองคชาตได้
- ภาวะหลั่งอสุจิกลับสู่กระเพาะปัสสาวะ มีปัญหาเรื่องการหลั่งน้ำเชื้อ หรือเมื่อตรวจน้ำเชื้อแล้วไม่พบอสุจิ แต่สามารถตรวจเจออสุจิได้ในปัสสาวะ
- หย่อนสมรรถภาพทางเพศ คือองคชาตไม่สามารถแข็งตัวอย่างสมบูรณ์ขณะมีเพศสัมพันธ์
การประเมินภาวะมีบุตรยาก
การประเมินภาวะมีบุตรยากของฝ่ายหญิงกับฝ่ายชายจะมีทั้งซักประวัติและตรวจสุขภาพเบื้องต้น โดยมีรายละเอียดแตกต่างกัน ดังนี้
- ฝ่ายหญิง แพทย์จะซักประวัติเกี่ยวกับการมีบุตร การตั้งครรภ์ การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ หรือการผ่าตัด ส่วนการตรวจสุขภาพเบื้องต้นจะตรวจระดับฮอร์โมนเพศ ตรวจภายในเพื่อดูความผิดปกติของระบบสืบพันธ์ ตรวจส่องกล้องผ่านทางหน้าท้อง และตรวจการอุดตันของท่อนำไข่
- ฝ่ายชาย แพทย์จะซักประวัติเกี่ยวกับการบาดเจ็บหรือติดเชื้อ ส่วนการตรวจสุขภาพเบื้องต้นจะเป็นการตรวจวิเคราะห์คุณภาพของน้ำเชื้อ ตรวจดูการแตกหักของ DNA ในอสุจิ และตรวจการอุดตันภายในของท่อนำอสุจิ
4 เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted reproductive technology: ART)
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์จะแบ่งเป็น 4 วิธีใหญ่ๆ ดังนี้
1. การฉีดน้ำเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (Intrauterine insemination: IUI)
IUI เป็นเทคนิคที่จำลองการปฏิสนธิที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด โดยการฉีดเชื้อน้ำเชื้อที่คัดเลือกอสุจิแล้วเข้าสู่โพรงมดลูก
ภายในน้ำเชื้อที่ผ่านการเตรียมจากห้องปฏิบัติการจะมีอสุจิที่แข็งแรงและเคลื่อนที่ได้ดี เป็นการเพิ่มโอกาสให้อสุจิสามารถวิ่งไปปฎิสนธิกับเซลล์ไข่ได้ดีขึ้น
เทคนิค IUI ใช้รักษาภาวะมีบุตรยากที่เกิดจากฝ่ายชายมีปัญหาเรื่องการหลั่งน้ำเชื้อออกมาแล้วมีลักษณะเหนียว ซึ่งเป็นการขัดขวางอสุจิในการปฏิสนธิกับไข่ วิธี IUI นี้เป็นวิธีการรักษาที่ไม่ทำให้ฝ่ายหญิงได้รับบาดเจ็บมาก
2. การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (In vitro fertilization: IVF) หรือ เด็กหลอดแก้ว
IVF เป็นเทคนิคที่นำเซลล์ไข่กับอสุจิมาปฏิสนธิกันภายนอกร่างกาย โดยจะนำเซลล์ไข่และอสุจิมาวางในจานเพาะเลี้ยง จากนั้นปล่อยให้อสุจิกับไข่ปฏิสนธิกันเองจนได้เป็นตัวอ่อน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เทคนิคนี้ใช้รักษาในฝ่ายหญิงที่มีปัญหาเรื่องท่อนำไข่อุดตัน หรือฝ่ายชายมีปริมาณอสุจิน้อย
3. การทำอิ๊กซี่ (ICSI: Intracytoplasmic sperm injection)
การทำ ICSI เป็นการฉีดอสุจิ 1 ตัวเข้าไปในเซลล์ของไข่ 1 ใบโดยตรง เหมาะสำหรับฝ่ายชายที่มีปริมาณอสุจิน้อยและคุณภาพไม่ดี เช่น การเคลื่อนที่ไม่ดี ทำให้ไม่มีความสามารถที่จะวิ่งเคลื่อนที่ไปปฏิสนธิกับไข่ เทคนิคนี้นิยมทำในคู่สมรสที่เคยล้มเหลวในการทำ IVF หลายรอบ
4. การทำอิมซี่ (IMSI : Intracytoplasmic morphologically selected sperm injection)
เทคนิค IMSI คล้ายกับการทำ ICSI ต่างกันที่ขั้นตอนในการคัดเลือกอสุจิก่อนจะนำมาปฏิสนธิกับเซลล์ไข่
คือจะมีเพิ่มกำลังขยายของเลนส์เป็นกำลังขยาย 6,000 เท่าเพื่อดูรูปร่างและลักษณะของอสุจิได้ชัดเจนมากขึ้นขึ้น
มีงานวิจัยกล่าวว่า อัตราการการตั้งครรภ์และอัตราการฝังตัวของตัวอ่อนในการทำ IMSI สูงกว่าการทำ ICSI อาจเพราะการใช้กำลังขยายที่สูงขึ้น ทำให้เห็นลักษณะของอสุจิ เห็นช่องว่างภายในของอสุจิ (Vacuole)
การมีช่องว่างภายในเซลล์ (Vacuole) มีโอกาสที่อสุจิตัวนั้นจะมีการแตกหักของสายพันธุกรรม DNA ภายในเซลล์ซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพของตัวอสุจิด้วย การทำ IMSI เหมาะสำหรับคู่ที่ล้มเหลวในการรักษาด้วยการทำ ICSI หลายครั้ง หรือรูปร่างอสุจิที่ผิดปกติจำนวนมาก
ตรวจภาวะมีบุตรยากวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 392 บาท ลดสูงสุด 63%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ดูรูปการทำอิ๊กซี่ (ICSI) และอิมซี (IMSI) ได้ ที่นี่
ขั้นตอนการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วย IVF, ICSI และ IMSI
วิธีทำ IUI ได้กล่าวถึงไปข้างต้นในหัวข้อเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์แล้ว ต่อไปนี้คือขั้นตอนหลักๆ ของการรักษาภาวะมีบุตรยาก ด้วยวิธี IVF, ICSI และ IMSI
1. การกระตุ้นไข่ (Ovarian stimulation)
แพทย์จะใช้ยาโกนาโดโทรปิน (Gonadotropins) ในการกระตุ้นไข่ให้ได้จำนวนไข่มากกว่า 1 ใบ เพื่อจะนำเซลล์ไข่มาปฏิสนธิ ระหว่างช่วงการกระตุ้นไข่ แพทย์จะอัลตราซาวนด์บริเวรณหน้าท้อง และเจาะเลือดติดตามระดับฮอร์โมนในร่างกาย เพื่อติดตามผลการกระตุ้นไข่ว่าได้ผลหรือไม่
2. การเก็บไข่ (Oocyte retrieval)
ฝ่ายหญิงจะได้รับยาสลบ จากนั้นแพทย์จะใช้เครื่องมือสำหรับการเจาะเก็บเซลล์ไข่สอดเข้าไปบริเวณช่องคลอด หาตำแหน่งของรังไข่ จากนั้นใช้เข็มดูดเซลล์ไข่ออกมา
ระยะเวลาเก็บไข่อย่างน้อยจะอยู่ที่ 30 นาที ขึ้นอยู่กับจำนวนไข่ที่สุก และอาจมีอาการแทรกซ้อนหลังการเก็บไข่ได้ เช่น ปวดท้องเล็กน้อย มีเลือดออกปริมาณช่องคลอดเล็กน้อย หรือพบการตกขาวได้ ดูรูปวิธีการเก็บไข่ ที่นี่
3. การปฏิสนธิและการเลี้ยงตัวอ่อน (Fertilization and Embryo culture)
อสุจิที่จะนำมาปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ได้มาจาก 3 วิธีต่อไปนี้
- การหลั่งน้ำเชื้อ ฝ่ายชายสามารถหลั่งน้ำเชื้อและนำส่งห้องปฏิบัติการ เพื่อทำการคัดแยกอสุจิออกจากน้ำเลี้ยงอสุจิ อสุจิที่ตายแล้ว เซลล์เม็ดเลือดขาวและเซลล์อื่นที่ปนออกมา อสุจิที่คัดแล้วจะเป็นอสุจิที่แข็งแรงและมีการเคลื่อนที่ที่ดี
- การทำพีซ่า (PESA : Percutaneous Epididymal Sperm Aspiration) เป็นการใช้เข็มเจาะบริเวณอัณฑะแล้วดูดตัวอสุจิมาจากท่อพักน้ำเชื้อ
- การทำทีซ่า (TESA : Testicular Sperm Aspiration) ใช้เข็มเจาะบริเวณอัณฑะแล้วดูดตัวอสุจิมาจากภายในเนื้อเยื่ออัณฑะ
ดูรูปการทำพีซ่าและทีซ่า ที่นี่
เมื่อได้เซลล์ไข่และอสุจิแล้ว นักเทคนิคการแพทย์จะนำเซลล์ดังกล่าวมาปฏิสนธิตามเทคนิคต่างๆ ได้แก่ IVF, ICSI และ IMSI แล้วนำไปเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติต่อไป - การย้ายกลับตัวอ่อน (Embryo transfer) เมื่อทางห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อนจนสมบูรณ์แล้ว แพทย์จะย้ายตัวอ่อนกลับเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อให้ตัวอ่อนได้ฝังตัวในมดลูกตามธรรมชาติ
จำนวนตัวอ่อนที่ย้ายกลับขึ้นอยู่กับอายุของฝ่ายหญิงและคุณภาพของตัวอ่อน เพราะตัวอ่อนทุกตัวที่ย้ายกลับเข้าไปมีโอกาสที่จะฝังตัวและเจริญเติบโตได้ ซึ่งมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะครรภ์แฝด (Multi fetal pregnancy) เป็นการเพิ่มภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ทั้งในแม่และทารก
ภาวะที่สามารถเกิดได้ เช่น สายสะดือพันกัน มีโอกาสแท้งสูงกว่าการครรภ์ปกติ และภาวะครรภ์เป็นพิษ
สิ่งสำคัญในการเลือกเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์คือ การวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยากให้ได้ เทคนิคแต่ละแบบใช้ในการแก้ไขปัญหาแตกต่างกัน เทคนิคที่จะใช้รักษาส่วนใหญ่จะเริ่มจากเทคนิคที่ใกล้เคียงกับวิธีการฏิสนธิทางธรรมชาติให้ได้มากที่สุด ยิ่งใช้เทคนิคที่สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายในการรักษายิ่งสูงขึ้นตามเท่านั้น