February 02, 2017 18:16
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
วิธีป้องกันตากุ้งยิง
1. รักษาความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้าให้สะอาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะสุขอนามัยบริเวณใบหน้า ขนตา ขอบตา มือ และควรระวังอย่าให้เส้นผมแยงตา รวมถึงรักษาความสะอาดของเส้นผมด้วยการสระผมอยู่บ่อย ๆ
2. หากมีแนวโน้มจะติดเชื้อได้ง่าย ควรล้างเปลือกตาวันละ 1 ครั้ง เพื่อรักษาความสะอาดของรูขุมขน หรือประคบอุ่นที่เปลือกตาทุก ๆ 2 วัน เพื่อเป็นการป้องกันการอุดตันของต่อมไขมันบริเวณเปลือกตา
3. หากใช้เครื่องสำอางบริเวณขอบตา ควรเช็ดทำความสะอาดอย่างเคร่งครัดก่อนนอนทุกครั้ง และไม่ใช้เครื่องสำอางร่วมกับผู้อื่น
4. เลิกนิสัยชอบขยี้ตา ไม่ใช้มือขยี้ตาบ่อย ๆ หรือใช้ผ้าเช็ดหน้าที่ไม่สะอาดเช็ดตา
5. หลีกเลี่ยงการถูกฝุ่น ถูกลม แสงแดดจ้า ๆ และควันบุหรี่ หากจำเป็นก็ควรใช้แว่นกันแดดหรือหมวกช่วยด้วย เนื่องจากการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีฝุ่นละอองที่สกปรกจะช่วยทำให้มีเชื้อโรคมาสัมผัสที่บริเวณดวงตาได้น้อยลง
6. ใช้สายตาให้พอดีกับความสามารถ อย่าฝืนใช้สายตามากหรือนานจนเกินไป เพราะจะทำให้ปวดกระบอกตา ตาเมื่อยล้า และแสบเคืองตาได้ ซึ่งจะเป็นผลทำให้ภูมิคุ้มกันลดน้อยลง โอกาสไวต่อเชื้อก็มีมากขึ้น
7. ควรรักษาสุภาพทั่วไปให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อดหลับอดนอน เพราะร่างกายที่แข็งแรงจะเป็นด่านป้องกันการติดเชื้อได้ดี ทำให้มีโอกาสเกิดตากุ้งยิงได้น้อย
8. ควรดูแลร่างกายให้ได้รับวิตามินเออย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง ๆ เช่น ไข่แดง เครื่องใน เนย และผักผลไม้สีเหลือง ส้ม แดง หรือสีเขียวเข้ม หรืออาจจะทานวิตามินเสริมที่มีวิตามินเอหรือวิตามินซีเพื่อช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันร่วมด้วยก็ได้
9. ควบคุมโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ไซนัสอักเสบ ฟันผุ ฯลฯ หากควบคุมโรคได้ดีจะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ดียิ่งขึ้น
10. ผู้มีประวัติเป็นตากุ้งยิงบ่อย ๆ ควรงดการใช้เครื่องสำอางบริเวณขอบตา หมั่นทำความสะอาดบริเวณโคนขนตา (ด้วยการใช้สำลีชุบน้ำสะอาด เช็ดขอบตาจากหัวตาไปหางตา) และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมา นอกจากนั้นควรไปพบแพทย์เสมอเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด
11. ควรเริ่มรักษาตากุ้งยิงทันทีเมื่อเริ่มขึ้นเป็นตุ่มใหม่ ๆ ด้วยการประคบด้วยน้ำอุ่นจัด ๆ และใช้ยาปฏิชีวนะชนิดป้ายหรือหยอดตา เพราะถ้าปล่อยไว้นานจนกลัดหนอง การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวจะไม่ได้ผล อาจต้องใช้วิธีสะกิดหรือผ่าเพื่อระบายเอาหนองออก
12. หากมีโรคประจำตัวหรือเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ (เช่น ติดเชื้อเอชไอวี โรคเลือด หรือกำลังได้รับยาเคมีบำบัด ฯลฯ) ควรไปพบแพทย์เพื่อหาทางรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงทีเมื่อสงสัยว่าเป็นตากุ้งยิง ผู้ป่วยไม่ควรลองรักษาด้วยตนเอง เพราะอาจทำให้เชื้อลุกลามรวดเร็วยิ่งขึ้น
Reference:
Medthai
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ตากุ้งยิงทำยังไงให้ไม่กลับมาเป็นอีกค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)