January 25, 2017 10:17
ตอบโดย
Danuchar Chaichuen (พว.)
ไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตในผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยทั่วไปก็ควรดูแลตนเองในแบบเดียวกันค่ะ เพียงแต่ผู้สูงอายุอาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นง่ายกว่าจากความเสื่อมของร่างกายค่ะ
โรคความดันโลหิตสูง แม้เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด แต่การดำเนินชีวิตอย่างดี ก็ช่วยควบคุมโรคนี้ได้อย่างดี ดังนั้น คุณจึงควรปฏิบัติตนตาม 9 ข้อ ดังนี้
1. ควรงดอาหารที่มีรสเค็ม หรือปรุงโดยสารที่ให้รสเค็ม เช่น เกลือ น้ำปลา ผงชูรส และผงฟูทำสำหรับขนมปัง เป็นต้น
2. รับประทานผัก ผลไม้ทุกมื้อ เพราะมีแมกนีเซียมและกากใย ช่วยลดความดันโลหิต รวมทั้งรับประทานถั่วและธัญพืชอย่างเพียงพอ
3. งดหรือหลีกเลี่ยงการรับประทานไขมันอิ่มตัวจากสัตว์ น้ำมันสัตว์ และเนื้อสัตว์ติดมัน
4. ควรควบคุมน้ำหนัก โดยลดการรับประทานน้ำมัน ไขมัน น้ำตาล และแป้ง การควบคุมน้ำหนัก มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม ช่วยให้ความดันในร่างกายปกติขึ้นได้
5. ออกกำลังกายเป็นประจำ ในบางรายควรปรึกษาแพทย์ก่อน เนื่องจากอาจต้องควบคุมความดันด้วย ซึ่งอาจต้องออกกำลังกายชนิดเบา ที่ไม่เพิ่มความดันให้สูงขึ้น
6. ความเครียดมีผลต่อความดันโลหิต จึงควรฝึกการผ่อนคลาย โดยการบริหารจิต การมีเมตตา การเจริญสติ สมาธิ
7. งดสูบุหรี่ เนื่องจากสารพิษในบุหรี่ทำให้เกิดการอักเสบของผนังเส้นเลือด หลอดเลือดแข็งตัวเร็วขึ้น
8. งดดื่มสุรา ยาดองของมึนเมาที่มีแอลกอฮอล์ ทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจวายได้
9. รับประทานยา ให้สม่ำเสมอและต่อเนื่องตามที่แพทย์กำหนด ไม่ปรับเพิ่มหรือลดยาเอง พร้อมทั้งวัดความดันโลหิตเป็นระยะ ถ้าเรารู้จักดูแลตนเองเป็นอย่างดี โรคความดันโลหิตสูงก็ไม่ใช่โรคที่ต้องกังวล และคุณเองก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอนค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อยากทราบว่าโรคความดันโลหิตสูงในคนชราข้อควรระมัดระวังมีอย่างไรบ้างคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)