May 18, 2018 13:53
ตอบโดย
สารินทร์ สีหมากสุก (นพ.)
สำหรับโรค Hashimoto นั้น เป็นชื่อโรคที่ตั้งตามแพทย์ชาวญี่ปุ่นที่ได้ทำการอธิบายโรคเอาไว้ครับ โดยโรคนี้เกิดจาก การเกิดภูมิคุ้มกันหรือAutoimmune ต่อต่อมไทรอยด์ โดยการไปทำลายเซลล์ของต่อมไทรอยด์ครับ และอาจจะมี autoantibody ไปจับกับ receptor จึงทำให้ follicular cell มีการปล่อยฮอร์โมน thyroxine ออกมาในช่วงแรก ดังนั้นในระยะแรกๆของโรคนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการของ Hyperthyroid ได้ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป follicular cell มีการถูกทำลายมากขึ้น ผู้ป่วยจึงมีอาการชนิด Hypothroid ได้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
พัชราภรณ์ พรหมพันธกรณ์ (พญ.)
โรค Hashimoto เป็นโรคที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อต่อมไทรอยด์ค่ะ ทำให้ร่างกายรับรู้ว่าไทรอยด์เป็นสิ่งแปลกปลอม ต้องให้เม็ดเลือดขาวเข้ามาทำลายเซลล์ของต่อมไทรอยด์
ซึ่งเมื่อเกิดการทำลายระยะแรกๆ ฮอร์โมนที่ถูกเก็บไว้จะถูกปล่อยออกมาในกระแสเลือดทำให้มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษได้ อาจมีอาการฉุนเฉียว หงุดหงิด ขี้ร้อน ทานจุ น้ำหนักลด
แต่เมื่อเกิดการทำลายไประยะหนึ่ง ฮอร์โมนที่เก็บไว้จะหมดและไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้เพียงพอจะเกิดภาวะขาดไทรอยด์ ต้องทานฮอร์โมนเสริมค่ะ
ดังนั้นที่กล่าวว่าระยะไทรอยด์น่าจะเป็นระยะแรกที่ฮอร์โมนถูกปล่อยออกมามากเกินไปจำเป็นต้องรับประทานยาลดฮอร์โมนไทรอยด์และไปตรวจติดตามตามนัดอย่างสม่ำเสมอค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
จะรักษาหายไหมค่ะ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เป็นไทรอยลดน้ำหนักได้มั้ยค่ะ ลดลงมั้ยค่ะ
โรคฮาชิโมโต้ ระยะไทรอยด์ คืออะไรคะ // ตรวจพบว่าเป็นไฮเปอร์ไทรอยด์
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)