July 01, 2018 02:37
ตอบโดย
พิมพกา ชวนะเวสน์ (สูตินรีแพทย์)
ประจำเดือนปกติ จะมีลักษณะดังนี้ค่ะ
1. มาสม่ำเสมอ ทุก 24-35 วัน โดยส่วนใหญ่ จะมาทุก 28 - 30 วันค่ะ
2. มาครั้งละ 3-7 วันค่ะ
3. ใช้ผ้าอนามัย วันละ ประมาณ 2-3 แผ่นค่ะ
4. มีอาการปวดท้องน้อยได้เล็กน้อย ช่วงวันแรกๆ ไม่ปวดรุนแรง
ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ โดยสาเหตุหนึ่งที่พบบ่อย คือ เกิดจากภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังค่ะ เมื่อไข่ไม่ตก เมนส์ก็ไม่มา บางครั้งมีเศษของเยื่อบุโพรงมดลูกหลุดออกมา (แต่ไม่ใช่ประจำเดือน) ก็จะมีลักษณะเป็นเลือดออกกระปริยกระปรอย หรือเป็นเลือดสีดำๆได้ค่ะ
อย่างไรก็ตาม อันนี้เป็นแค่สาเหตุที่พบส่วนใหญ่นะคะ การจะรู้ได้แน่นอน ต้องได้รับการตรวจภายใน ตรวจอัลตราซาวด์ หรือบางรายตรวจเลือดร่วมด้วย เพื่อหาสาเหตุก่อนค่ะ และรักษาตามสาเหตุ
บางสาเหตุ อย่างไข่ไม่ตกเรื้อรัง ใช้การรักษาด้วยยาฮอร์โมนได้ค่ะ แต่บางสาเหตู อาจต้องตรวจเพิ่มเติม และรักษามากกว่านั้น
เพราะฉะนั้น แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกาย ตรวจภายใน เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดค่ะ
ส่วนอาการปวดบริเวณท้อง เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ
ถ้าเป็นบริเวณท้องน้อย จะเกิดได้จาก
1. ลำไส้ใหญ่
2. กระเพาะปัสสาวะ และ ระบบสืบพันธุ์
3. ปวดกล้ามเนื้อ หน้าท้อง
การจะแยกว่า เกิดจากอะไรนั้น ต้องดูจากลักษณะที่ปวดค่ะ
เช่น ถ้าปวดเป็นพักๆ ปวดมาก สลับ ปวดน้อย หายปวด ไม่กี่นาที กลีบมาปวดใหม่ ลักษณะแบบนี้ เหมือนอาการของลำไส้ มักมีการขับถ่ายผิดปกติร่วมด้วย
ถ้าปวด ร่วมกับ ปัสสาวะผิดปกติ เช่น แสบขัด มักเกิดจากทางเดินปัสสาวะ
ถ้าปวด และปวดมากขึ้น เวลาขยับ มักเป็นอาการปวด ของกล้ามเนื้อค่ะ
อย่างไรก็ตาม ถ้าอาการปวด ไม่แน่ใจว่าเป็นอย่างไร ควรไปพบแพทย์ค่ะ เพราะส่วนใหญ่ต้องการๆตรวจร่างกายร่วมด้วย
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ปวดท้องน้อยแบบหน่วงๆข้างขวาเวลาเดินหรือยกของและปวดหัวนมเวลาสัมผัส. ประจำเดือนมาไม่ปกติมา2 เดือนขาด3เดือน แบบนี้เป็นอะไรคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)