September 02, 2019 20:27
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
ในกรณีที่มีอาการไอเรื้อรังและได้ตรวจประเมินอาการแล้วว่าไม่ได้มีสาเหตุมาจากความผิดปกติอื่นนอกเหนือจากโรคกรดไหลย้อน การรักษาก็ควรเป็นการควบคุมโรคกรดไหลย้อนให้กี โดยการรับประทานยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังนี้ครับ
- ไม่รับประทานอาหารจนอิ่มเกินไปในแต่ละมื้อ
- ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมัน อาหารทอด
- ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดจัดเปรี้ยวจัด
- ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- หลังรับประทานอาหารอิ่มภายใน 4 ชั่วโมงไม่ควรล้มตัวลงนอน
และในระหว่างที่พยายามควบคุมอาการกรดไหลย้อนอยู่นี้ก็สามารถรับประทานยาเพื่อกดอาการไอได้
ซึ่งในเบื้องต้นนี้หมอก็แนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อให้การรักษาในเรื่องเหล่านี้เพิ่มเติมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
ถ้าตรวจอาการไอเรื้อรังไม่ได้เป็นจากสาเหตุอื่นๆ
เบื้องต้น การปรับพฤติกรรมของกรดไหลย้อนจะมี เช่น นอนศีรษะสูงขึ้นประมาณ15ซม. นอนในท่าตะแคงซ้าย รับประทานอาการให้ตรงเวลา งดรับประทานอาหารมื้อดึก หลีกเลี่ยงอาหารมัน เปรี้ยวจัด กาแฟ น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่ๆ หยุดสูบบุหรี่ และลดความอ้วน ครับ
ดีที่สุด เป็นมานาน และมีอาการไอมากและเรื้อรัง แนะนำให้ไปพบแพทย์ หรืออายุรแพทย์ทางเดินอาหาร เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย อย่างละเอียด จะได้แยกจากโรคอื่นๆ และจะได้รักษาให้ถูกโรค อาการจะได้ดีขึ้นครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ผมมีอาการไอเรื้อรังเป็นๆหายๆ เนื่องจากผมเป็นกรดไหลย้อนคับ อะแหม่จนลำคานบางทีไอแห้ง หอบบ้างครับ สังเกตุจะเป็นตอนกินข้าวอิ่ม เจ็บกลางอกไปตรวจปอดเอ็กซเรย์ปกติ ผมควรทำไงดีคับ ไอเนี่ยลำคานมาก เป็นแบบนี้มาเป็นปีละคับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)