February 11, 2017 21:40
ตอบโดย
วิภา สุวรรณชีวะศิริ (พญ.)
โรคกรดไหลย้อนค่ะคือ ภาวะที่มีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ส่งผลให้มีอาการระคายบริเวณลำคอ และแสบอกหรือจุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่ รวมทั้งมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อร่วมด้วย คล้าย ๆ กับอาการของโรคกระเพาะอาหาร โดยเกิดจาก ความผิดปกติในการทำหน้าที่ของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง เช่น มีการคลายตัวของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างโดยที่ไม่มีการกลืน หรือความดันของหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างลดลง ไม่สามารถต้านแรงดันในช่องท้องและการบีบตัวของกระเพาะอาหารได้ โดยส่วนใหญ่แพทย์มักจะทำการรักษาโดยให้รับประทานยาต้านกรดในกระเพาะอาหารร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ไม่ควรรับประทานอาหารแต่ละมื้อในปริมาณมากเกินไป ควรรับประทานบ่อยครั้งๆละน้อย หลีกเลี่ยงอาหารประเภททอด อาหารไขมันสูง อาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด/เผ็ดจัด หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ และทำการตรวจติดตามเป็นระยะ หาดไม่ดีขึ้นก็มีการส่งตรวจเพิ่มเติ่ม เช่น ส่องกล้องในหลอดอาหารเพื่อช่วยในการวินิฉัยค่ะ นอกจากนี้สมุนไพรในปัจจุบันที่นำมาช่วยบรรเทาอาการ ได้แก่ ขมิ้นชัน ซึ่งมีรูปแบบแคปซูล แต่ตัวยาหลักๆ ในการรักษาคือยาต้านกรด กลุ่ม PPIs ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
วิภา สุวรรณชีวะศิริ (พญ.)
โรคกรดไหลย้อนค่ะคือ ภาวะที่มีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ส่งผลให้มีอาการระคายบริเวณลำคอ และแสบอกหรือจุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่ รวมทั้งมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อร่วมด้วย คล้าย ๆ กับอาการของโรคกระเพาะอาหาร โดยเกิดจาก ความผิดปกติในการทำหน้าที่ของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง เช่น มีการคลายตัวของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างโดยที่ไม่มีการกลืน หรือความดันของหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างลดลง ไม่สามารถต้านแรงดันในช่องท้องและการบีบตัวของกระเพาะอาหารได้ โดยส่วนใหญ่แพทย์มักจะทำการรักษาโดยให้รับประทานยาต้านกรดในกระเพาะอาหารร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ไม่ควรรับประทานอาหารแต่ละมื้อในปริมาณมากเกินไป ควรรับประทานบ่อยครั้งๆละน้อย หลีกเลี่ยงอาหารประเภททอด อาหารไขมันสูง อาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด/เผ็ดจัด หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ และทำการตรวจติดตามเป็นระยะ หาดไม่ดีขึ้นก็มีการส่งตรวจเพิ่มเติ่ม เช่น ส่องกล้องในหลอดอาหารเพื่อช่วยในการวินิฉัยค่ะ นอกจากนี้สมุนไพรในปัจจุบันที่นำมาช่วยบรรเทาอาการ ได้แก่ ขมิ้นชัน ซึ่งมีรูปแบบแคปซูล แต่ตัวยาหลักๆ ในการรักษาคือยาต้านกรด กลุ่ม PPIs ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
สมุนไพรแก้โรคกรดไหลย้อนคืออะไรค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)