February 28, 2017 17:35
ตอบโดย
พิศุทธิกาญจญ์ รังคกูลนุวัฒน์ (พญ.)
ตกขาวมีสองแบบค่ะ คือ ตกขาวที่ปกติ กับตกขาวที่ไม่ปกติ
1.ตกขาวที่ปกติ เป็นอิทธิพลจากฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงค่ะ ลักษณะตกขาว จะเป็นสีขาวคล้ายมูก บางครั้งเหลืองปริมาณไม่มาก ลักษณะจะไม่เหมือนหนองนะคะ เป็นการหบุดลอกของบริเวณผิวเยื่อบุช่องคลอดค่ะ
2.ตกขาวที่ผิดปกติ คือตกขาวที่มีปริมาณมาก ลักษณะสีขาว/เหลืองเหมือนนมบูด อาจพบร่วมกับอาการคันช่องคลอดได้ หรือนกขาวมีสีต่างๆ เช่น เป็นน้ำสีเหลือง สีเขียว มีกลิ่นเหม็นหรือไม่มีกลิ่น แสบหรือเจ็บช่องคลอด ยางคนอาจปวดท้องมีไข้ได้ ซึ่งสาเหตุที่เป็นไปได้ได้แก่
1)สุขอนามัยไม่ดี
2)การระคายเคือง
3)ภูมิแพ้
4)การติดเชื้อ เช่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรียต่างๆ
5)ภาวะช่องคลอดอักเสบ
6)โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองไนแท้/เทียม เริม หูดหงอนไก่
7)ปากมดลูกหรือมดลูกอักเสบ
8)สิ่งแปลกปลอมในช่องคลอด
9)การบาดเจ็บ
10)มะเร็งอวัยวะสืบพันธ์
สำหรับการดูแลสุขอนามัยที่ดี คือ การรักษาความสะอาดอยู่เสมอค่ะ เวลาล้าง ล้างด้วยน้ำสะอาดก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์หรือการสวนล้างช่องคลอดใดๆ ไม่แนะนำให้สวนล้างบ่อยๆ เนื่องจากช่องคลอดจะเสียสมดุลแบคทีเรียที่มีอยู่ตามปกติ และจะเป็นเชื้อราได้ง่าย, ทำความสะอาดหลังปัสสาวะและหลังจากมีเพศสัมพันธ์ , เวลาเช็ดอวัยวะเพศหลังขับถ่าย ควรเช็ดจากหน้าไปหลัง ,กางเกงในไม่ควรคับ และแห้งไม่อับชื้น , มีคู่นอนแค่คนเดียว และถ้าหากมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ควรป้องกันทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เช่น การใส่ถุงยางอนามัย ค่ะ
อย่างไรก็ตาม หากมีอาการตกขาวบ่อยๆ มีลักษณะคล้ายกับตกขาวผิดปกติที่ว่ามา ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกายหาสาเหตุของอาการตกขาวนั้นๆนะคะ จะได้รับการรักษาให้อาการดีขึ้นค่ะ และตกขาวที่เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรรักษาคู่นอนทุกคนด้วยนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตกขาวและอาการคัน รักษาอย่างไรดีค่ะ??
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)