กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

10 เรื่องที่คุณแม่ต้องรู้ ในการดูแลร่างกาย ระหว่างตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
10 เรื่องที่คุณแม่ต้องรู้ ในการดูแลร่างกาย ระหว่างตั้งครรภ์

เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นในร่างกายการปฏิบัติตนจึงแตกต่างไปจากตอนปกติ ควรปฏิบัติดังนี้

1. อาหาร

  • เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารเป็นพิษต่อร่างกาย

2. การพักผ่อน

  • ควรนอนอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง ในตอนกลางวันควรนอนพักผ่อนวันละ 1-2 ชั่วโมง หลังจากเสร็จภารกิจต่าง ๆ  แล้ว ควรนอนในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

3. การขับถ่าย

  • ตลอดเวลา 9 เดือน ระบบขับถ่ายของคุณแม่จะผิดไปจากเดิม ท้องผูก อุจจาระแข็งกลม เกิดปัญหาโรคริดสีดวงทวารตามมา คุณแม่ควรหาทางแก้ด้วยการกินผลไม้ที่มีกากอาหารหรือดื่มน้ำสะอาดวันละหลาย ๆ แกล้ว จะช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ ข้อแนะนำ ควรจะนั่งถ่ายส้วมชนิดชักโครก จะช่วยลดอาการรุนแรงของริดสีดวงทวารลง หรือป้องกันโรคริดสีดวงก่อนที่จะเกิดขึ้น

4. การแต่งกาย


 
  • ควรเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะแก่สรีระของร่างกายที่เปลี่ยนไป  กางเกงรัดรูป สเตย์รัดหน้าท้องเก็บไว้ก่อน เสื้อผ้าควรหลวมเพื่อรองรับการขยายของท้อง ลูกในท้องก็จะพัฒนาเต็มที่ ไม่อึดอัด


รองเท้าต้องเป็นรองเท้าส้นเตี้ยมีดอกยางเกาะติดถนน มีความนิ่ม เกิดความสบายในการสวมใส่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

5. การปฏิบัติภารกิจในชีวิตประจำวัน

  • การขึ้นลงบันได : ควรเพิ่มความระมัดระวัง เลี้ยงบันไดสูงชัน ถ้ามีราวบันไดควรจับเพื่อช่วยพยุงตัว
  • การยกสิ่งของ : ไม่ควรยกสิ่งของหนักมากเกินกำลัง หากมีความจำเป็นควรนั่งก่อนแล้วยก ไม่ควรก้มหรือโก้งโค้งหยิบหรือยก
  • การไปจ่ายตลาด : หลีกเลี่ยงการหิ้วตะกร้า ควรใช้รถเข็นมีลูกล้อ
  • การซัก-รีดผ้า : การซักผ้า รีดผ้า ควรทำในท่ายืน ไม่ควรก้มหรือนั่งยอง ๆ ทับท้อง การตากผ้าไม่ควรเอื้อตากผ้าในราวแขวนที่สุงกว่าระดับศีรษะควรทำราวผ้าใหม่ที่สะดวกในการตาก การรีดผ้าควรใช้ที่รองรีดชนิดยืนรีดจะดีกว่า
  • การปรุงอาหาร : ควรเลือกวิธีปรุงอาหารโดยการยืนในระดับที่พอดี

6. ผิวพรรณ

  • ผิวพรรณของคุณแม่จะสดใสมีน้ำมีนวลกว่าปกติ เนื่องจากผลของฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง แต่คุณแม่หลายคนอาจพบกับปัญหาของผิวแห้งคือ เพราะการยึดขยายของบริเวณหน้าท้อง เต้านม คุณแม่ควรดูแลโดยการทาน้ำมันออยล์หรือโลชั่นเพื่อลดการระคายเคือง

7. ฟัน

  • ควรดูแลรักษาความสะอาดในช่องปากและฟันให้มากกว่าเดิมเพราะคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ จะสูญเสียแคลเซียมบางส่วนในร่างกาย ทำให้ฟันผุง่ายขึ้น

8. การอาบน้ำ

  • อาบน้ำได้วันละหลาย ๆ ครั้ง ไม่ควรเป็นน้ำที่เย็นจัดหรืออุ่นจัดน้ำอุ่นจัดจะทำให้ผิวคุณแม่แห้งมากยิ่งขึ้น


ในระยะตั้งครรภ์ ฮอร์โมนจากร่างกายจะมีการสร้างเม็ดสีมากขึ้น คุณแม่จะมีผิวสีเข้มขึ้น ก่อนออกจากบ้านคุณแม่ควรใช้ครีมกันแดด คุณแม่อาจเผชิญกับปัญหาฝ้าบนใบหน้า แต่ไม่ต้องตกใจ หลังคลอดแล้วฝ้าต่าง ๆ ก็จะลบเลือนไป

9. ที่ลับเฉพาะ

  • ฮอร์โมนที่ส่งผลต่อร่างกายทำให้คุณแม่มีตกขาวมาก ลักษณะตกขาวจะเป็นมูก เหนียว หรือใส อาจทำให้มีการอับชื้นในที่ลับ ควรรักษาความสะอาด หลังจากปัสสาวะแล้วใช้กระดาษทิชชูซับ หรือใช้ผ้าอนามัยชนิดบางซึมซัมและเปลี่ยนบ่อย ๆ กางเกงชั้นในควรซักให้สะอาด ตากแดดจัด ๆ ทุกครั้ง กางเกงในควรเป็นผ้าบางเบา มีอากาศถ่ายเท ไม่หนาจนเกินไป


 

การทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ เวลาอาบน้ำควรล้างภายนอกด้วยน้ำ และสบู่อ่อน ๆ ที่ไม่แพ้ วันละ 2 ครั้ง ไม่ควรล้างภายในเพราะอาจติดเชื้อโรคได้ (การเป็นเชื้อราในช่องคลอดจะมีอาการคัน มีตกขาวมาก คล้ายแป้งละลายน้ำ ควรรีบไปพบแพทย์)

10. เต้านม

  • เต้านมของคุณแม่จะเริ่มขยายใหญ่ขึ้นในเดือนที่ 4 คุณแม่ควรเลือกเสื้อชั้นในให้เหมาะสม ทำจากวัสดุนิ่ม ระคายเคืองน้อย มีความแข็งแรง กระชับ และพยุงเต้านมที่มีขนาดและน้ำหนักเพิ่มได้ดีเพื่อป้องกันการหย่อนยานในภายหลัง


ควรนวดเต้านมด้วยออยล์หรือโลชั่นและดึงหัวนมเพื่อป้องกันหัวนมบอด


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Your pregnancy to-do list. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/to-do-list-pregnant/)
10 Tips for Preventing Infections Before and During Pregnancy. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/pregnancy/infections.html)
11 Things to Know About Maintaining a Healthy, Fit Pregnancy. Healthline. (https://www.healthline.com/health/pregnancy/staying-fit-during-pregnancy)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป