November 12, 2017 08:48
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
โรคกระเพาะอาหารและลำไส้แปรปรวน เกิดจากปัจจัยกระตุ้นหลายอย่างที่ทำให้ระบบการทำงานของระบบการย่อยและการขับถ่ายทำงานผิดปกติ เช่น ความเครียด พฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น ทานอาหารไม่ตรงเวลา ทานอาหารรสจัด ชา กาแฟ เป็นต้น วิธีการป้องกันคือ หลีกเลี่ยงจากความเครียด ออกกำลังกายช่วยการเคลื่อนไหวและขยับตัวของลำไส้ ทานอาหารให้ครบ5 หมู่ ทานอาหารตรงเวลา โดยเฉพาะอาหารที่มีกากใย ดื่มน้ำให้เพียงพอ 6-8 แก้ว/วัน จะทำให้อุจาระนิ่มและถ่ายง่ายขึ้น ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา และไม่ควรอั้นอุจาระ เมื่อรู้สึกปวดให้เข้าห้องทันที แต่หากเป็นบ่อยๆก็ควรหาเวลาไปตรวจหาความผิดปกติอื่นๆที่อาจแอบแฝงอยู่เช่น เนื้องอกหรือมะเร็งค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
สารินทร์ สีหมากสุก (นพ.)
โดยทั่วไปแล้วอาการปวดท้องสามารถแบ่งตามบริเวณที่ปวดได้คร่าวๆ เป็น 2 ส่วน คือ ปวดท้องส่วนบนซึ่ง เป็นการปวดบริเวณเหนือสะดือซึ่ง อาจเกี่ยวข้องกับพวกกระเพาะอาหาร ตับ ถุงน้ำดี ม้าม ตับอ่อน เป็นต้น อีกส่วนหนุึ่่งคือ ปวดท้องส่วนล่าง ที่ต่ำกว่าสะดือ มักจะเกี่ยวข้องกับลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก ไส้ติ่ง ไต มดลูกและปีกมดลูก เป็นต้น ดังนั้นโรคกระเพาะมักปวดท้องบริเวณส่วนบนของท้องและเป็นโรคของกระเพาะอาหาร ส่วนอาการท้องผูกสลับท้องเสียมักเป็นสาเหตุของลำไส้ โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่มากกว่า อาจคิดถึงโรคสำไล้แปรปวน (Irritable Bowel Syndrome:IBS) และถ้าหากมีอาการถ่ายเป็นเลือด มีไข้ น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ท้องผูกสลับท้องเสีย อาจจะคิดถึงโรคในกลุ่มมะเร็งมากกว่าครับ หรือในผู้สูงอายุแล้วพึ่งจะมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย ก็อาจจะคิดถึงโรคมะเร็งลำไส้ได้เช่นเดียวกัน ทั้งีน้อาการท้องผูกสลับท้องเสียไม่ได้แปลว่าจะเป็นมะเร็งเสมอไป ควรได้รับการซักประวัติและตรวจร่างกายจากแพทย์เพื่อประเมินก่อนครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปวดท้องเหมือนอยากเข้าห้องน้ำอะครับแต่เข้าไปแล้วมันก็ไม่ออกครับ แต่ปวดเข้าห้องน้ำปกติทุกวันนะครับ ก็อุจาระทุกวัน แต่ออกไม่เยอะครับปวดแถวๆกระเพาะตลอด เหมือนปวดเข้าห้องน้ำอะครับ ก่อนหน้านี้เป็นกรดไหลย้อนมาก่อนครับ ปวดตลอดครับแต่ไม่ปวดมาก ปวดนิดๆบางทีก็จี๊ดๆแถวๆกระเพาะและท้อง เหมือนท้องเสีย ครับ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
กินข้าวไม่ตรงเวลาค่ะ และไม่ค่อยกินข้าวเย็น ทำให้ปวดกระเพาะ ที่หนักที่สุดที่รู้สึกได้ คือ ตอนนั้นก่อนปิดเทอม น้ำหนัก 40 แค่พอปิดเทอมแล้วไม่ค่อยกินข้าวตรงเวลา ทำให้เปิดเทอมมา น้ำหนักลดไป 2โล แล้วก็มีอาการท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด 2ครั้ง แต่จากนั้นก็ไม่มีอีกค่ะ ตอนนี้ก็ยังมีอาการท้องเสีย
ปวดท้องเหมือนจะเป็นโรคกระเพาะแต่ท้องเสีย
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ปวดกระเพาะเเล้วไม่ค่อยถ่ายด้วยอ่ะค่ะ ไม่ใช่ว่าถ่ายไม่ออกนะคะ เเต่เหมือนยังไม่ถึงเวลา
ปวดท้องบ่อยวันละหลายๆครั้งค่ะเป็นๆหายๆมีไข้ด้วยอุจจาระบ่อย
เหมือท้องร่วงอุจจาระเหลวมากค่ะ
มีอาการปวดในกระเพาะ กินอาหารไม่ค่อยได้ แน่นท้องตอนทานอาหาร ไม่ค่อยถ่าย แต่เมื่อเวลาถ่ายแล้วเหมือนถ่ายไม่สุดแล้วจะปวดตรงก้น
คุณหมอคะ เมื่อไม่กี่วันก่อน รู้สึกจุกลิ้นปี่ขึ้นมากลางดึก จุกมากจนต้องทานยาลดกรด เเถมตอนนั้นก็เเน่นท้อง สักพักก็หาย หลังจากนั้นท้องก็ร้องโครกครากเเละท้องเสีย พอทานอาหารเสร็จหิวอีกเเล้ว รู้สึกหิวบ่อย/ตลอดเวลา อาการเเบบนี้เข้าข่ายโรคอะไรคะ
เป็นกรดไหลย้อนค่ะจุกลิ้นปี่ปวดแสบร้อนกลางอกและหลังค่ะถ่ายเหลวถ่ายไม่สุดค่ะ
เป็นกรดไหลย้อนค่ะจุกลิ้นปี่ปวดแสบร้อนกลางอกและหลังค่ะถ่ายเหลวถ่ายไม่สุดค่ะ
ปวดท้องตรงแถวกะเพาะแล้วมีอาการถ่ายท้องด้วยค่ะ เป็นโรคกะเพาะอยู่แล้วด้วยค่ะ
ปวดท้อง ช่วงล่าง ปวดหลังด้วยคะ เวลากินอะไรเข้าไปจะปวดบิด ปวดจี๊ดๆเลยคะ ถ่ายเหลวด้วยคะ แบบนี้เป็นโรคกระเพาะหรือท้องเสียค่ะ
ปวดท้อง ช่วงล่าง ปวดหลังด้วยคะ เวลากินอะไรเข้าไปจะปวดบิด ปวดจี๊ดๆเลยคะ ถ่ายเหลวด้วยคะ แบบนี้เป็นโรคกระเพาะหรือท้องเสียค่ะ
ทำไมเป็นโรคกระเพาะจึงมีอาการท้องผูกกับท้องเสีย
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)