September 06, 2018 21:42
ตอบโดย
พิศุทธิกาญจญ์ รังคกูลนุวัฒน์ (พญ.)
สวัสดีค่ะ อาการเวียนหัวและปวดหัว ต้องได้รับการซักประวัติอย่างละเอียด เกี่ยวกับลักษณะการปวดเพิ่มเติม อาการร่วมกับปวดหัว เช่น ตามัว อาเจียน แขนขาอ่อนแรง การเห็นแสงสิบวับ เป็นต้นค่ะ รวมถึงต้องตรวจร่างกายทางระบบประสาทอย่างละเอียดด้วยค่ะ จึงตะสามารถวินิจฉัยและรักษาได้อยาางตรงจุด
>>โรคไมเกรน (migrain) โรคชนิดหนึ่งซึ่งยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ แต่น่าเชื่อได้ว่าอาจมีจุดกำเนิดจากก้านสมองที่ทำงานผิดปกติ
หรือเกิดจากภาวะที่สารเคมีในสมองไม่สมดุล ส่งผลให้หลอดเลือดมีความไวต่อการกระตุ้นมากเป็นพิเศษกล่าวคือ มีการหด และขยายตัวของหลอดเลือดอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดศรีษะได้
โดยลักษณะอาการปวดศรีษะจะมีลักษณะ ปวดบริเวณขมับโดยอาจจะปวดข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ บางกรณีอาจมีการปวดวนกันไป และมักจะปวดข้างเดิมอยู่ซ้ำ ๆ
ส่วนอีกบริเวณหนึ่งที่พบมาก ได้แก่ บริเวณเบ้าตา ลักษณะของการปวด ก็มักจะปวดตุ้บๆ ตามจังหวะของชีพจร ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
การรักษาโดยการกินยาลดอาการปวด การกินยาป้องกันไม่ให้หลอดเลือดหดและขยายตัวซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเกิดขึ้น
หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคกำเริบซึ่งจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล เช่นความเครียด บางคนเจออาการร้อนหรือที่ๆแสงสว่างมากๆก็กระตุ้นได้ ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชูกำลัง หรือเครื่องดืมที่มีคาเฟอีน
สำหรับในวัยเท่าคนไข้ แนะนำว่า สิ่งที่ทำได้ คือ การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ตามที่กล่าวมาค่ะ
บาที่ทานได้ เช่น พาราเซตามอล หรือ ไอบูโพรเฟน ซึ่ง ยาทุกอย่าง หากใช้ไม่ดีขึ้น หรือค้องใช้บ่อยๆ ควรไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและให้ยาอันตรายอื่นๆ ที่ต้องใช้ภายใต้ควบคุมของแพทย์ เพื่อให้อาการดีขึ้นค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
หมอครับ เด็กผู้หญิงอายุ15 เป็นไมเกรน ทานยาตัวไหนได้บ้างไม่ได้บ้าง กลัวกินละหนักกว่าเดิมช่วยตอบหน่อยคับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)