May 09, 2018 16:48
ตอบโดย
พิศุทธิกาญจญ์ รังคกูลนุวัฒน์ (พญ.)
อาการที่กล่าวมาทั้งสามอาการ ล้วนเป็นอาการของกรดไหลย้อนค่ะ ซึ่งการรักษาโรคกระเพาะและกรดไหลย้อน ประกอบไปด้วยสองอย่างคือ
1.การปรับการใช้ชัวิตประจำวัน
2.การใช้ยา
การปรับชีวิตประจำวัน ควรปรับเรื่อง อาหาร และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการกินค่ะ
-อาหาร ควรเป็นอาหารที่ไม่รสจัด ไม่มัน ไม่หวานจัดเผ็ดจัดเค็มจัด
-ลดของหวานของมัน
-รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
-หลังกินควรยกหัวสูง คือไม่นอนทันทีค่ะ อย่างน้อย 1-3 ชม
-หากมียาที่มีผลข้างเคียง ทำให้ปวดท้อง เช่น ยาแก้ปวดแอสไพริน ควรปรึกษาแพทย์
ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุ อาจจะเปฌนโรคกระเพาะไม่มีสาเหตุ การติดเชื้อเรื้อรังในกระเพาะอาหาร ก้อน นิ่ว เป็นต้น หลังจากตรวจ อาจจะได้นามารับประทาน ให้รับประทานต่อเนื่อง ร่วมกับการปรับชีวิตประจำวันค่ะและไปตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ไปหาแล้วก็ยังไม่หาย
ตอบโดย
พิศุทธิกาญจญ์ รังคกูลนุวัฒน์ (พญ.)
การรักษากรดไหลย้อน นอกจากต้องทานยาอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องอย่างน้อย 8 สัปดาห์แล้ว จะต้องมีวินัยในการปรับวิถีชีวิตประจำวันที่แนะนำไปด้วยค่ะ หากครบ 8สัปดาห์ที่ทานยาต่อเนื่องแล้ว อาการไม่ดีขึ้น อาจต้องไปส่องกล้องเพื่อหาอาการแทรกซ้อนอื่นๆค่ะ แต่ที่สำคัญคือการปรับวิถีชิวิตประจำวันค่ะ ถ้าปรับไม่ได้ อาการก็ไม่ดีขึ้นค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การเป็นกรดไหลย้อนต้องรักษาอย่างไรมีอาการดังนี้ 1. กินอาหารแล้วอยากอาเจียร 2. แสบร้อนหน้าอก 3. เจ็บแน่นตามหน้าอกทั้ง 2 ข้าง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)