June 22, 2019 10:39
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การมีเพศสัมพันธ์โดยการหลั่งรอกนั้นมีโอกาสที่จะมีอสุจิที่ปนอยู่ในน้ำหล่อลื่นของผู้ชายหลุดลอดเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ได้ ทำให้มีโอกาสผิดพลาดตั้งครรภ์ได้ 4-27% ครับ ในกรณีนี้ยาคุมที่ควรหามารับประทานคือ “ยาคุมฉุกเฉิน” เช่น พอสทินอร์ มาดอนน่า เมเปิลฟอร์ท แมรี่พิงค์ ครับ
การรับประทานยาคุมฉุกเฉินนั้นควรรับประทานให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ภายในเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์เพื่อที่จะช่วยลดโอกาสผิดพลาดตั้งครรภ์ลง 75-85% แต่ถ้าหากเลยช่วงเวลาดังกล่าวไปแล้วก็ยังอนุโลมให้รับประทานภายใน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่ประสิทธิภาพของยาก็จะลดลงไปเรื่อยๆตามเวลาที่ผ่านไปครับ
โดยทั่วไปแล้วในยาคุมฉุกเฉิน 1 แผงจะมียา 2 เม็ด สามารถรับประทานได้ 2 วิธี คือ
1. รับประทานพร้อมกันทีเดียว 2 เม็ด
2. รับประทานทีละ 1 เม็ดห่างกัน 12 ชั่วโมง
ซึ่งจะเลือกรับประทานยาด้วยวิธีใดก็ได้เพราะประสิทธิภาพของยาจะเท่ากันครับ แต่การรับประทานในรูปแบบ 2 เม็ดพร้อมกันอาจมีข้อดีเหนือกว่าตรงที่ไม่ต้องกังวลว่าจะลืมรับประทานยาเม็ดที่ 2
แต่ก็อาจมียาคุมฉุกเฉินบางยี่ห้อที่มียา 1 เม็ดในแผงเดียว ก็สามารถรับประทานยาเม็ดนั้นเม็ดเดียวได้เลยครับ
__________________________
ส่วนยาคุมแอนนาซึ่งเป็นยาคุมแบบรายเดือนนั้นจะเหมาะสมสำหรับการรับประทานก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น ถ้าหากได้มีเพศสัมพันธ์ไปแล้วยาคุมแบบรายเดือนจะไม่สามารถช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ครับ
หลังจากรับประทานยาคุมฉุกเฉินไปแล้วหมอก็แนะนำว่าควรงดการมีเพศสัมพันธ์หรือใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยไปก่อนจนกว่าประจำเดือนจะมา และถ้าประจำเดือนมาแล้วและยังต้องการรับประทานยาคุมแอนนาอยู่ก็ให้เริ่มรับประทานภายใน 5 วันแรกของการมีประจำเดือนครับ ซึ่งก็จะมีผลให้สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างปลอดภัยหลังจากนั้นโดยมีโอกาสผิดพลาดตั้งครรภ์ได้เพียง 0.3-8% ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
จินตนา แสงโพธิ์ (เภสัชกร)
การหลั่งนอก โดยทั่วไปถือว่ามีโอกาสตั้งครรภ์ได้ 22% เมื่อเทียบกับการใช้ถุงยางที่ถูกต้องและไม่รั่วซึมหรือฉีกขาดที่จะมีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 2% ก็จะเห็นได้ว่าการหลั่งนอกมีความเสี่ยงสูงกว่ามาก จึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีในการป้องกันการตั้งครรภ์
ยาคุมรายเดือนไม่มีผลป้องกันย้อนหลังค่ะ ต้องใช้ให้ถูกต้องและมีผลคุมกำเนิดจากยาขึ้นมาก่อนจึงจะมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ต้องใช้ถุงยางอนามัยได้นะคะ การใช้หลังมีเพศสัมพันธ์ไปแล้วไม่มีประโยชน์ เพราะไม่ได้ลดความเสี่ยงใด ๆ และยิ่งจะทำให้ประจำเดือนเลื่อนช้าออกไปมากขึ้น
และแม้ว่าจะสามารถรับประทานแอนนาในขนาดที่สูงมากกว่าปกติหลายเท่าเพื่อคุมกำเนิดฉุกเฉินได้ แต่ประสิทธิภาพก็ต่ำกว่ายาคุมฉุกเฉินที่มีใช้ในปัจจุบันมาก อีกทั้งผลข้างเคียงก็สูงกว่า ในขณะที่ราคาไม่แตกต่างกันนัก จึงไม่แนะนำการใช้ยาคุมแอนนาในลักษณะนี้ค่ะ
..
..
..
ดังนั้น หากต้องการป้องกันฉุกเฉินเพื่อลดความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ให้น้อยลง แนะนำ 2 ทางเลือก ดังนี้
1. รับประทานยาคุมฉุกเฉินทันทีที่ทำได้ ยิ่งเร็วยิ่งดี อย่างช้าไม่เกิน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์
โดยสามารถรับประทานแบบครบขนาดในครั้งเดียวได้ค่ะ นั่นคือ ถ้าใช้ยาคุมฉุกเฉินที่มีแผงละ 2 เม็ด ก็รับประทาน 2 เม็ดพร้อมกันในครั้งเดียว หรือถ้าใช้ยาคุมฉุกเฉินที่มีแผงละ 1 เม็ด ก็รับประทานเม็ดเดียวครั้งเดียว
แต่วิธีนี้มีประสิทธิภาพไม่สูงนักนะคะ แม้จะใช้ครบขนาดและทันเวลา ผู้ใช้ก็ยังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ 15 - 25% และไม่มีผลคุมกำเนิดต่อเนื่องหลังรับประทาน หากจะมีเพศสัมพันธ์ซ้ำก็ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งค่ะ
2. ไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อพิจารณาการใส่ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง ภายใน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์
วิธีนี้มีประสิทธิภาพสูงมาก ผู้ใช้มีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 0.6 - 0.8% เท่านั้น และสามารถใช้เป็นวิธีคุมกำเนิดปกติต่อได้เลย ซึ่งจะมีผลคุมกำเนิดได้นาน 3 - 10 ปี ขึ้นกับรุ่นของห่วงอนามัยที่ใช้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
พอดีผมมีอะไรกับแฟนแต่ไม่ได้หลั่งในอะคับแต่แฟนผมอยากชั่วเลยซื้อยาคุมแอนนามากิน คือผมอยากรู้ว่ากินยังไงตอนไหนเวลาไหน และการมีเพศสัมพันธ์แต่ไม่ได้หลั่งในจะมีโอกาศท้องหรือป่าวคับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)