คำแนะนำ 6 ข้อในการมีเพศสัมพันธ์ สำหรับผู้ที่เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ

การถูกล่วงละเมิดทางเพศ อาจเป็นฝันร้ายของใครหลายคนจนกลัวการมีเพศสัมพันธ์ แต่ปัญหานี้แก้ได้ หากทำตามคำแนะนำทั้ง 6 ข้อนี้
เผยแพร่ครั้งแรก 23 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คำแนะนำ 6 ข้อในการมีเพศสัมพันธ์ สำหรับผู้ที่เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ

มีข้อมูลมากมายที่เกี่ยวกับการก้าวข้ามประสบการณ์ที่เคยถูกกระทำรุนแรงทางเพศ ทั้งทางร่างกาย และทางจิตใจ แต่ประเด็นการสร้างความสัมพันธ์หรือการใกล้ชิดผู้อื่นหลังประสบความรุนแรง (Intimacy after abuse) ยังไม่ได้ถูกกล่าวถึงให้เป็นกระแสหลักทั้งในสังคมและสื่อต่างๆ

ผู้ที่เคยผ่านการถูกล่วงละเมิดทางเพศ อาจกังวลหรือกลัวที่จะมีเพศสัมพันธ์อีกครั้ง ซึ่งก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาบางอย่างตามมาในอนาคต เพราะฉะนั้นให้ลองนำคำแนะนำทั้ง 6 ข้อนี้ไปปรับใช้ดู เพื่อให้เกิดความสบายใจและก้าวข้ามเรื่องในอดีตได้ดีมากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. รู้จักขีดจำกัดของตัวเอง
    ควรทำความเข้าใจกับตัวเองว่า ส่วนใดบ้างที่ยังเป็นส่วนหวงห้าม หรือเมื่อมีผู้อื่นมาสัมผัสแล้วทำให้เกิดความไม่สบายใจขึ้นมา เพื่อที่จะได้พูดคุยกับคนรัก หรือคู่นอนเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันมากขึ้น บางครั้งขีดจำกัดอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะทางจิตใจ หากรู้สึกเหนื่อย เครียด กังวล หรืออ่อนแอกว่าปกติ อาจทำให้มีส่วนหวงห้ามมากขึ้นจนใครก็ไม่สามารถสัมผัสตัวคุณได้เลย
  2. เลือกคนที่ไว้ใจได้
    คนรักที่ดี จะรู้สึกได้ถึงความไม่สบายใจของคุณโดยที่ไม่ต้องพูดอะไรออกมา รวมถึงไม่ล่วงเกินใดๆ หากคุณไม่อนุญาต นอกจากนี้ หากคุณรู้สึกไม่ดีที่จะต้องพูดคำที่มีความหมายทางเพศออกมา ก็อาจจะลองตั้งคำศัพท์ส่วนตัวที่มีแค่คุณกับคนรักเท่านั้นที่จะรู้ เช่น พูดคำว่า “แอปเปิ้ล” แทนคำว่า “หยุด”
  3. สร้างบรรยากาศให้ผ่อนคลาย
    เลือกสถานที่ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เช่น ห้องขนาดใหญ่ที่มีการเปิดเพลงคลอ ก่อนจะเริ่มทำอะไรก็ควรพูดคุยกับคนรักก่อน ถ้าหากว่าไม่พร้อมจริงๆ ก็ควรพูดตรง และไม่ควรฝืนมีเพศสัมพันธ์เพราะอาจทำให้คุณรู้สึกแย่มากกว่าเดิม
  4. อย่าเห็นแก่ตัว
    ควรระมัดระวังตัวเองไม่ให้ทำสิ่งใดที่เป็นการล่วงล้ำไปในเขตส่วนบุคคลของคนรัก เช่น การเช็คโทรศัพท์ การเช็ค Social Network หรือการติดตามเขาไปในทุกสถานที่เพียงเพราะหึงหวง หรือกลัวเขาไปมีคนใหม่ เพราะถ้าหากเขารู้สึกไม่ดีจนทนไม่ได้ คราวนี้เขาจะเป็นฝ่ายกดดันคุณในเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์แทน
  5. อย่าทำให้มันจบๆ ไป
    การมีเพศสัมพันธ์ภายหลังจากการถูกละเมิดทางเพศ เพื่อเป็นการเอาใจคนรัก หรือด้วยสาเหตุใดก็ตามแบบ “ทำให้มันจบๆ ไป” อาจทำให้เกิดความเสียหายทั้งจิตใจได้ทั้งสองฝ่าย และอาจทำให้คุณมีทัศนคติที่ไม่ดีกับเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น
  6. ปฏิกิริยาทางลบไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น
    การถูกละเมิดทางเพศ อาจทำให้คุณแสดงอารมณ์บางอย่างออกมาในด้านลบเป็นเวลานาน ซึ่งอารมณ์เหล่านี้ไม่ได้ส่งผลต่อคุณคนเดียว แต่ยังส่งผลต่อคนรอบข้างอีกด้วย และไม่ได้ช่วยให้อดีตของคุณถูกลบเลือนไป

ถ้าคุณรู้สึกไม่ไหวกับทุกเรื่อง ไม่ใช่แค่เรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ ควรปรึกษาบุคคลในครอบครัวและเพื่อนสนิท รวมถึงจิตแพทย์ นักบำบัด และสายด่วนสุขภาพจิต 1323 บุคคลเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถเข้าใจตัวเอง และเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ดีกว่าเดิม

ที่มาของข้อมูล

Kat Wenger, Ada Dubrawska, 6 tips for intimacy after abuse (https://helloclue.com/articles/sex/6-tips-for-intimacy-after-abuse), 8 สิงหาคม 2017


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sexual Abuse. American Psychological Association (APA). (https://www.apa.org/topics/sexual-abuse/)
RESPONDING TO CHILDREN AND ADOLESCENTS WHO HAVE BEEN SEXUALLY ABUSED. World Health Organization (WHO). (https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/259270/9789241550147-eng.pdf)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วงจรของความสัมพันธ์ที่มีการกดขี่ทางเพศ
วงจรของความสัมพันธ์ที่มีการกดขี่ทางเพศ

ทำไมเด็กที่ถูกข่มเหงทางเพศโตมาแล้วกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหาในความสัมพันธ์

อ่านเพิ่ม
เจลหล่อลื่น เพื่อการมีเพศสัมพันธ์
เจลหล่อลื่น เพื่อการมีเพศสัมพันธ์

ตัวช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดขณะมี SEX ได้ดี มีให้เลือกหลายสูตรขึ้นอยู่กับความต้องการ

อ่านเพิ่ม
การใช้ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นขณะมีเพศสัมพันธ์ จะขัดขวางการตั้งครรภ์หรือไม่
การใช้ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นขณะมีเพศสัมพันธ์ จะขัดขวางการตั้งครรภ์หรือไม่

หากต้องการตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์หล่อลื่นขณะมีเพศสัมพันธ์หรือไม่? แล้วอย่างนั้นควรใช้อะไรทดแทน?

อ่านเพิ่ม