August 28, 2019 10:46
ตอบโดย
กอบศักดิ์ ชัยชะแตง (นพ.)
การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์นั้นสิ่งที่สำคัญต่อการอยู่ร่วมกันคือการแก้ไขอารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นปัญหามากที่สุดของผู้ป่วย เนื่องจากจะช่วยทําให้การดูแลผู้ป่วยง่ายขึ้นและเข้าใจตัวโรคที่ผู้ป่วยเป็นได้มากขึ้นครับ
โดยสิ่งใดก้ตามที่ก่อให้เกิดอารมณ์หรือความไม่พอใจแก่ผู้ป่วย ผู้ดูแลควรหาสาเหตุแก้ไขหรือหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นๆ ช่วยลดความเครียดให้แก่ผู้ป่วย เสริมสร้างกิจกรรมระหว่างวันให้ผู้ป่วย เช่น การเดินเล่น ปลูกต้นไม้ หมากรุก เลี้ยงสัตว์ สวดมนต์ เป็นต้น และถ้าผู้ดูแลเข้าใจถึงจุดนี้ ก็จะไม่รู้สึกว่าตนเองดูแลผู้ป่วยได้ไม่ดีพอ ความเครียดในการดูแลคนไข้ก้จะลดลง เนื่องจากเข้าใจทั้งตัวโรคและพฤติกรรมของผู้ป่วยที่มาจากโรคครับ
ในบางครั้งนั้นผู้ป่วยอาจแสดงอารมณ์ที่ก้าวร้าวต่อผู้ดูแล ทั้งที่ผู้ดูแลก้ทำการดูแลอย่างเต็มความสามารถ ทำให้ผู้ดูแลรู้สึกผิดหวัง น้อยใจ ซึ่งผู้ดูแลต้องเข้าใจว่าเป็นผลมาจากอาการของโรคครับ ไม่ใช่ผู้ป่วยไม่พอใจ โกรธ ที่ผู้ดูแลปฏิบัติต่อผู้ป่วยไม่ดีเนื่องจากว่าก่อนป่วยนั้นผู้ป่วยไม่ได้มีบุคลิกภาพอารมณ์ หรือพฤติกรรมก้าวร้าวเช่นนั้นครับ ฉะนั้น ต้องทำความเข้าใจถึงอารมณ์ พฤติกรรมที่เปลี้ยนไป แล้วจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขมากขึ้นครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อยากทราบกรุ๊ปเลือด เอเนกาทีฟ เกิดจากอะไรค่ะหาเลือดยากมั้นค่ะส่งผลดีและเสียยังไงบ้างหาเลือดรึมีลูกยากมั้ยค่ะ พึ่งมารุ้ตอนคลอดลูกว่าเป้นเลือกเอลบค่ะ แต่ลูกเป็นเฮบวก
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
อัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม
อาการของโรค ผู้ป่วยมีความบกพร่องในกระบวนการคิด ความจำ หลงวัน เวลา สถานที่ และบุคคล ความสามารถทางสติปัญญาลดลง เรียนรู้ได้ช้าลง ในด้านการรับรู้ก็จะเปลี่ยนไป ความสนใจและสมาธิลดลง การโต้ตอบและความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมก็ถดถอยลง ฟังก์ชันในการดูแลตัวเองลดลง
การรักษา โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีวิธีรักษาด้วยยาเพื่อชะลอความเสื่อมของสมอง / ใช้ยาเพื่อลดอาการที่ไม่พึงประสงค์ ร่วมกับการดูแลที่ถูกวิธี ซึ่งผู้ดูแลควรทําความเข้าใจกับตัวโรค ตั้งแต่ลักษณะอาการ ระยะเวลา วิธีการรักษา การพยากรณ์โรค ตลอดจนวิธีการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย โดยหาความรู้จากสื่อต่างๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์
สิ่งสำคัญในการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ คือ
1.ไม่ตำหนิ หรือไม่สร้างความเครียดให้กับผู้ป่วย
2.อธิบายเกี่ยวกับสุขภาพที่เปลี่ยนไป ในขณะที่ยังรับรู้และเข้าใจได้ตั้งแต่อาการไม่รุนแรงเพื่อให้เตรียมพร้อมและร่วมมือในการรักษา
3.คอยให้กำลังใจและสนับสนุนให้ผู้ป่วยเข้าใจว่า มีกิจวัตรประจำวันหลายอย่างที่ผู้ป่วยสามารถทำเองได้ เพื่อให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกด้อยค่าหรือเป็นภาระ จะทำให้ผู้ป่วยเกิดความภาคภูมิใจ รู้สึกมีคุณค่า และมีความมั่นใจมากขึ้น
4.กำหนดกิจวัตรประจำวันให้เหมาะสม
-จดรายการกิจวัตรประจำวันหรือประจำสัปดาห์ เพื่อเตือนความจำและให้ผู้ป่วยสามารถทบทวนได้ด้วยตนเอง
-กำหนดรูปแบบกิจวัตรให้เหมือนกันทุกวัน ตรงเวลา ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดความสับสน หรืออาจ เขียนชื่อติดไว้ที่ของใช้ส่วนตัว เช่น แก้วน้ำ แปรงสีฟัน เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ลืมของใช้ของตัวเอง
5.จัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัยและไม่ปรับเปลี่ยนบ่อยๆ กำหนดทางเดินระหว่างห้องพักของผู้ป่วยไปยังจุดต่างๆ ที่ต้องใช้เป็นประจำ ไม่วางของเกะกะหรือมีสิ่งที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ มีราวจับกันลื่น จัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดความหวาดระแวงหรือรู้สึกไม่ปลอดภัยจนเกิดภาพหลอนได้
6.ส่งเสริมให้ผู้ป่วยทํากิจกรรมร่วมกับครอบครัว พาออกไปเที่ยวนอกบ้านเป็นครั้งคราว หรือพาไปพบปะเพื่อนฝูงของผู้ป่วยจะช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย
7.ดูแลช่วยเหลือให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายตามสมควร เพิ่มกำลังของมัดกล้ามเนื้อ ลดอาการข้อติด
8.เวลาพูดคุยกับผู้ป่วย ให้เรียกชื่อผู้ป่วยเสมอ เพื่อความคุ้นเคย และเป็นการเตือนความจำของผู้ป่วยให้จำชื่อตนเองได้
9.พูดให้ช้าลงด้วยคำสั้นๆ ง่ายๆ ตรงไปตรงมา ออกเสียงให้ชัดเจน ไม่ตะโกนหรือพูดเสียงดัง ควรใช้ภาษากายร่วมด้วย เช่น สบตา ยิ้ม รวมถึงใช้สิ่งของประกอบการพูดเพื่อให้เข้าใจในเรื่องที่พูดง่ายขึ้น เช่น นาฬิกา ภาพถ่าย
10.คอยเล่าเรื่องในอดีตที่ผู้ป่วยคุ้นเคยตามลำดับจากอดีตถึงปัจจุบัน เช่น เรื่องลูก เรื่องเพื่อน สถานที่ที่ผู้ป่วยเคยไปเที่ยว หรือเรื่องงานที่ผู้ป่วยเคยทำ
11.ไม่ซักไซ้ถามคำถามที่รู้ว่าผู้ป่วยตอบไม่ได้แน่ จะทำให้ผู้ป่วยวิตกกังวล กล่าวโทษตัวเองว่าเป็นคนที่บกพร่อง
12.ดูแลให้ทานยาสม่ำเสมอ และพาไปพบแพทย์ตามนัด หากผู้ป่วยไม่สามารถเดินทางไปพบแพทย์ได้ ญาติสามารถไปรับยาแทนได้ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
คุณหมอครับ คุณตาของผมเป็นอัลไซเมอร์ครับ ชอบหลงลืมว่าตัวเองทำอะไรอยู่ ลืมเวลา มีพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่รู้ว่าเป็นเพราะการปล่อยให้คุณตานอนอย่างเดียวเลยหรือเปล่าครับ คุณหมอพอจะมีวิธีการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์อย่างถูกวิธีไหมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)