April 10, 2017 14:27
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
โรคความดันโลหิตสูง (hypertension) หมายถึง ระดับความดันโลหิตซิสโตลิก(systolic blood pressure, SBP) > 140 มม.ปรอท และ/หรือ ความดันโลหิตไดแอสโตลิก (diastolic blood pressure,DBP) >90 มม.ปรอท
หากมีโรคความดันโลหิตสูงแพทย์จะทำการตรวจร่างกายหาความผิดปกติ และหาความเสี่ยงในการเกิดโรคอื่นๆตามมาเช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต รวมถึงเบาหวานเป็นต้น
การรักษาโรคความดันโลหิตสูง
1.การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต หมายถึง การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตประจำวันไปสู่ การบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการและการมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม ร่วมกับพฤติกรรมสุขภาพที่ดีเช่น งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นต้น โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตให้ได้ในระยะยาวถือเป็นหัวใจสำคัญของการป้องกัน โรคความดันโลหิตสูงและยังเป็นการรักษาพื้นฐานสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทุกราย ได้แก่
-การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียง โดยให้มีค่า BMI ตั้งแต่18.5-22.9 กก./ม.2
-การออกกำลังกาย แนะนา ให้ประชาชนทุกคนไม่ว่า จะเป็นหรือไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงออกกำลังกายความหนักระดับ ปานกลางอย่างน้อยวันละ 30 นาทีอย่างน้อยสัปดาห์ละ5วัน เพื่อสุขภาพที่ดี
-การจำกัดโซเดียมในอาหาร การบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,300 มก./วัน สามารถช่วยลดความดันโลหิตไดทั้งในผู้ป่วยที่มีและไม่มีโรคความดันโลหิตสูง
-การจำกัดหรืองดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
-งดสูบบุหรี่
2.การรักษาโดยใช้ยาลดความดันโลหิต จะเป็นแพทย์เป็นผู้พิจารณาการใช้ในผู้ป่วยเป็นรายๆไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ความดันโลหิตสูง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)