August 10, 2019 23:03
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
หูอื้อ/เสียงดังในหู สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุครับ
ตั้งแต่
- หูชั้นนอก เช่น หูชั้นนอกอักเสบบวมแดง, ขี้หูอุดตัน, เนื้องอกของหู จนไปถึงเยื่อแก้วหูทะลุ
- หูชั้นกลาง เช่น หูชั้นกลางอักเสบ, ท่อที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลางและโพรงหลังจมูกผิดปกติ, หินปูนในหูชั้นกลาง
- หูชั้นใน เช่น ประสาทหูเสื่อมตามอายุ, เส้นประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันจากการได้ยินเสียงดังมากๆ, การได้รับยาที่มีผลข้างเคียงต่อหู, บาดเจ็บของกระโหลกศีรษะจนกระทบมาถึงหู, น้ำในหูไม่เท่ากัน, มีรูรั่วติดต่อระหว่างหูชั้นกลางกับหูชั้นใน รวมไปถึงการติดเชื้อของหูชั้นใน
- สาเหตุอื่นๆ เช่น เนื้องอกของเส้นประสาทหู, เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก, โรคเรื้อรังอื่นๆ ก็สามารถทำให้เกิดเสียงดังในหูได้ครับ
แนะนำให้ไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านหูคอจมูกจะดีที่สุดครับ จะได้ซักประวัติ และตรวจหูอย่างละเอียด เพื่อวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
การที่หลังเป็นหวัดแล้วยังมีอาการหูอื้ออยู่นั้นก็มีโอกาสที่จะมีการติดเชื้อเข้าไปที่บริเวณหูชั้นในทำให้ยังมีอาการหูอื้ออยู่ได้ครับ
นอกจากนี้อาการหูอื้อก็ยังอาจเกิดได้จากอีกหลายสาเหตุ เช่น
- มีขี้หูอุดตัน
- เยื่อแก้วหูฉีกขาด
- มีน้ำหรือเลือดคั่งในหู
- มีความผิดปกติของเส้นประสาทรับเสียงที่หู
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบแพทย์หู คอ จมูกเพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดก่อนเพื่อที่จะได้ให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไปครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
รู้สึกหูอื้อตอนเป็นหวัดแต่พอหวัดหายก็ยังมีอาการหูอื้อเหมือนเดิมอยากทราบว่าคืออาการอะไรครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)