วิธีป้องกันหูอื้อหลังจากไปคอนเสิร์ต

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีป้องกันหูอื้อหลังจากไปคอนเสิร์ต

การไปคอนเสิร์ตนั้นอาจจะเป็นประสบการณ์ที่สนุกและน่าจะจดจำแต่คุณอาจจะเกิดอาการหูอื้อหลังจากนั้นได้ซึ่งอาจจะแสดงว่าคุณอยู่ใกล้กับลำโพงมากเกินไป อาการนี้มักจะจากการที่เสียงดังนั้นทำลายเซลล์ขนาดเล็กที่บุภายในหู

การได้ยินเสียงที่ดังกว่า 85 เดซิเบลเป็นเวลานานนั้นสามารถทำให้หูหนวกได้ เสียงในคอนเสิร์ตนั้นมักจะอยู่ที่มากกว่า 115 เดซิเบลขึ้นกับตำแหน่งที่อยู่ของคุณ ยิ่งดังมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งใช้เวลาสั้นลงที่จะทำให้เกิดอาการหูหนวกจากการได้ยินเสียงดัง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการหูอื้อที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะเกิดขึ้นเป็นๆ หายๆ หรือเป็นตลอดเลยก็ได้ และอาจจะทำให้ได้ยินเสียงในหูเช่นเสียงหวีด เสียงหึ่งๆ และอื่นๆ ในผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการหูอื้อจากการไปคอนเสิร์ตนั้นมักจะหายได้เองภายในเวลาไม่กี่วัน

วิธีการหยุดอาการดังกล่าว

ถึงแม้ว่าอาการดังกล่าวนั้นจะไม่สามารถรักษาให้หายได้ทันที แต่ก็มีบางอย่างที่คุณสามารถทำได้เพื่อบรรเทาเสียงที่ดังอยู่ในหูรวมถึงความเครียดที่เกิดจากอาการดังกล่าว

เปิดเสียงที่ผ่อนคลาย

การได้ยินเสียงในสภาพแวดล้อมนั้นจะสามารถช่วยบดบังเสียงที่เกิดในหูได้

หันเหความสนใจของตัวเอง

การหันเหความสนใจของคุณออกจากเสียงดังกล่าวนั้นจะช่วยลดความสนใจต่อเสียงที่เกิดขึ้น ลองฟังเพลงหรือ podcast เบาๆ หลีกเลี่ยงการเปิดเสียงในระดับที่ดังที่สุดเนื่องจากอาจจะทำให้เกิดการทำลายหูได้เช่นเดียวกับการไปคอนเสิร์ต

ลดความเครียด

การเล่นโยคะและนั่งสมาธินั้นเป็นวิธีการผ่อนคลายที่ดีและจะช่วยบรรเทาความเครียดหรืออาการกระสับกระส่ายที่เกิดจากหูอื้อได้

วิธีการช่วยรักษาหู

  • หลีกเลี่ยงอะไรก็ตามที่จะทำให้อาการนั้นรุนแรงขึ้นเช่นเสียงดังหรือสารในกลุ่มกระตุ้นประสาทเช่นคาเฟอีน
  • ใส่ที่อุดหัวหากรู้ว่ากำลังจะต้องอยู่ในที่ที่เสียงดัง
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกฮอล์เพราะจะทำให้เลือดนั้นไหลไปยังหูชั้นในและทำให้อาการนั้นมากขึ้น

ระยะเวลาที่มีอาการ

การได้ยินเสียงที่ดังเป็นครั้งคราวนั้นอาจจะทำให้เกิดอาการหูอื้อขึ้นชชั่วคราว หากมีการได้ยินเสียงในหูก่อนตามด้วยการไม่ได้ยินเสียงนั้นแสดงว่าอาจเกิดการสูญเสียการได้ยินจากเสียงที่ดังเกินไป อาการเหล่านี้มักจะหายภายใน 16-48 ชั่วโมง ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจจะต้องใช้เวลาถึง 1-2 สัปดาห์ การได้ยินเสียงที่ดังมากๆ นั้นสามารถกระตุ้นให้เกิดหูอื้อได้อีกครั้ง

บางครั้งอาการนี้อาจจะทำให้เกิดอาการหูอื้อได้นานกว่า 6 เดือนซึ่งพบได้บ่อยแต่มักจะส่งผลในระยะยาว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณกำลังจะหูหนวกหรือมีปัญหาทางการแพทย์แต่อย่างใด

จะสามารถป้องกันอาการหูอื้อได้อย่างไร

  • ควรป้องกันไม่ให้เกิดอาการซ้ำอีก เพราะมีงานวิจัยที่พบว่าแม้ว่าจะไม่มีอาการซ้ำอีกแต่ก็การทำลายที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะทำให้เกิดความเสียหายในระยะยาวได้
  • ควรทำความเข้าใจว่าเสียงแบบไหนที่ทำให้เกิดอันตรายต่อการได้ยินเช่นเสียงจากคอนเสิร์ต จากรถจักรยานยนต์ และการเปิดเพลงที่ความดังมากที่สุด
  • ควรใส่ที่อุดหูในขณะที่อยู่ในคอนเสิร์ต
  • จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มในระหว่างที่ดูการแสดงหรืออยู่ในบริเวณที่มีเสียงดัง เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงที่หูเพิ่มขึ้นและทำให้มีอาการหูอื้อมากขึ้น
  • ตรวจการได้ยินหากสงสัยว่าคุณกำลังสูญเสียการได้ยิน

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

ถึงแม้ว่าจะไม่มีวิธีการรักษาอาการนี้ให้หายขาดในปัจจุบันแต่ก็มีงานวิจัยที่ทำการศึกษาเรื่องนี้ บุคลากรทางการแพทย์สามารถช่วยคุณจัดการกับความเครียดระยะยาวที่อาจจะเกิดจากปัญหาหูอื้อได้ ควรไปพบแพทย์หากอาการหูอื้อนั้นเป็นนานกว่า 1 สัปดาห์ หรือถ้าหากมีอาการร่วมกับการสูญเสียการได้ยินหรือมึนศีรษะ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ผศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน, หูอื้อ (http://www.rcot.org/2016/People/Detail/23), 16.04.2009
รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน, วิ้ง วิ้ง……เสียงอะไรในหู (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=805), 23/11/2553

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)