เยื่อแก้วหู (Tympanic membrane) เป็นแผ่นเนื้อเยื่อบางๆ กั้นระหว่างหูชั้นนอกกับหูชั้นกลาง เมื่อคลื่นเสียงเคลื่อนที่ผ่านเข้ามาทางรูหูกระทบกับเยื่อแก้วหู เยื่อแก้วหูจะสั่น ทำให้พลังงานเสียงที่ผ่านเข้ามานั้นถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานกล ถ่ายทอดไปยังกระดูกค้อน (Malleus) ทั่ง (Incus) และโกลน (Stapes) ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าเยื่อแก้วหูมีความสำคัญและเป็นโครงสร้างที่บอบบาง หลายคนคงกำลังสงสัยว่าเยื่อแก้วหูทะลุที่เคยได้ยินกันมาบ้างแล้วนั้นเกิดจากสาเหตุอะไร อันตรายหรือไม่ มีอาการอย่างไรที่จะรู้ได้ว่าเยื่อแก้วหูทะลุ และมีวิธีการรักษาและดูแลตนเองอย่างไร สามารถหาคำตอบได้จากบทความนี้
สาเหตุของแก้วหูทะลุ หรือ เยื่อแก้วหูทะลุ
เนื่องจากโครงสร้างของเยื่อแก้วหูค่อนข้างบอบบาง จึงมีหลายสาเหตุที่ทำให้เยื่อแก้วหูทะลุได้ เช่น
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- เยื่อแก้วหูได้รับบาดเจ็บจากการใช้คัตตอนบัตหรือไม้แคะหู เนื่องจากขณะกำลังแคะหูนั้นไม่สามาถมองเห็นได้ว่าสิ่งต่างๆ ที่นำเข้าไปในหูนั้นไปโดนอวัยวะใดบ้าง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการทำความสะอาดภายในหูด้วยการใช้สิ่งต่างๆ เข้าไปในหู
การมีขี้หูเป็นสิ่งปกติของร่างกาย หากมีขี้หูอุดตัน (Impacted cerumen) จนทำให้การได้ยินผิดปกติ แนะนำให้ไปพบแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก (Otolaryngologist) เพื่อดูดหรือนำขี้หูที่อุดตันออกมา การทำความสะอาดหูด้วยตนเองควรใช้สำลีเช็ดทำความสะอาดบริเวณภายนอกรูหูเท่านั้น - เสียงที่ดังมาก เช่น เสียงระเบิด เนื่องจากแรงดันและพลังงานเสียงปริมาณมากผ่านเข้ามายังบริเวณเยื่อแก้วหู ทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาด หรือทะลุได้
- การได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ เช่น กะโหลกศีรษะแตก หากบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บอยู่ใกล้หรือมีโครงสร้างที่อยู่ใกล้กับเยื่อแก้วหู จะทำให้เยื่อแก้วหูได้รับบาดเจ็บได้
- การได้รับการกระทบกระเทือนบริเวณหูโดยตรง เช่น โดนตบบริเวณหู ทำให้เยื่อแก้วหูได้รับการกระทบกระเทือนโดยตรงได้
- การได้รับบาดเจ็บของเยื่อแก้วหูจากการเปลี่ยนแปลงความดันบรรยากาศอย่างรวดเร็ว (Barotrauma) พบได้ในระหว่างการนั่งเครื่องบินตอนเครื่องบินกำลังขึ้นหรือลงจอด และการดำน้ำลึก
- การอักเสบติดเชื้อของหูชั้นกลาง (Otitis media) กระบวนการอักเสบและหนองภายในหูชั้นกลางทำให้เกิดการสลายตนเอง (Necrosis) ของเยื่อแก้วหู จนเกิดเป็นรูขึ้นมาได้
- เนื้องอกต่างๆ ภายในหู (Neoplasm) ทำให้เกิดกระบวนการอักเสบและเกิดรูบนเยื่อแก้วหูขึ้นมาได้
เยื่อแก้วหูทะลุ อันตรายหรือไม่?
เยื่อแก้วหูทะลุ ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นอันตรายขนาดที่จะต้องได้รับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูกในทันที แต่ถ้าหากมีอาการต่างๆ หรือประวัติที่สงสัยว่ามีเยื่อแก้วหูทะลุ ควรไปพบแพทย์ทั่วไปเพื่อรับการซักประวัติและตรวจร่างกาย แพทย์จะวินิจฉัยและรักษาเบื้องต้นให้ ก่อนส่งคุณไปพบแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก
ในกรณีที่มีปัญหาภายในหูจริง ไม่ควรปล่อยให้มีอาการผิดปกติไว้นาน เนื่องจากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ภายในหูได้
อาการเยื่อแก้วหูทะลุ
อาการของเยื่อแก้วหูทะลุ ประกอบด้วย
- มีของเหลวไหลออกจากรูหู เช่น เลือด หนอง น้ำใสๆ
- มีอาการปวดหูร่วมกับมีประวัติหูชั้นกลางอักเสบติดเชื้อ
- มีเสียงหึ่งๆ ในหู คล้ายเสียงแมลงบินใกล้บริเวณหู
- เมื่อพยายามหายใจออกขณะที่ปิดปากปิดจมูก (Valsalva maneuver) แล้วได้ยินเสียงลมผ่านออกมาจากรูหู
- การได้ยินเสียงผิดปกติ หรือมีการสูญเสียการได้ยินในหูข้างที่เยื่อแก้วหูทะลุ
นอกจากอาการต่างๆ ที่ทำให้สงสัยว่ามีเยื่อแก้วหูทะลุแล้ว ยังมีประวัติที่ทำให้สงสัยถึงภาวะนี้ด้วยเช่นกัน คือ ประวัติการติดเชื้อในหูชั้นกลางซ้ำๆ บ่อยๆ มีประวัติเคยผ่าตัดบริเวณหูมาก่อน ประวัติการใช้คัตตอนบัตหรือไม้แคะหูแล้วมีเลือดติดออกมา เป็นต้น
วิธีการรักษาเยื่อแก้วหูทะลุเป็นอย่างไร ต้องผ่าตัดหรือไม่?
โดยทั่วไปแล้ว เยื่อแก้วหูสามารถซ่อมแซมตนเองได้ในระดับหนึ่ง หากรูที่ทะลุบนเยื่อแก้วหูมีขนาดเล็ก แพทย์จะปล่อยให้เยื่อแก้วหูได้ซ่อมแซมตนเอง โดยจะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อภายในบริเวณหูชั้นกลาง เนื่องจากการติดเชื้อนี้จะทำให้เยื่อแก้วหูไม่สามารถซ่อมแซมตนเองได้ จากนั้นจะติดตามอาการและขนาดของรูที่ทะลุอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณ 2 เดือน หากรูที่มีขนาดเล็กไม่มีการซ่อมแซมตนเอง หรือซ่อมแซมตนเองได้ไม่ดีพอ
กรณีที่รูบนเยื่อแก้วหูมีขนาดใหญ่ แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเล็กที่เรียกว่า ทีมพาโนพลาสตี (Tympanoplasty) โดยการผ่าตัดนี้จะทำโดยการนำเนื้อเยื่อในบริเวณอื่นมาแปะบนเยื่อแก้วหู จะทำการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ไม่ต้องเข้าห้องผ่าตัด
วิธีการดูแลตนเองเมื่อมีเยื่อแก้วหูทะลุ
วิธีดูแลตัวเองเมื่อเยื่อแก้วหูทะลุ มีดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำเข้าไปในรูหู อาจใส่สำลีชุบวาสลีนอุดรูหูขณะอาบน้ำเพื่อป้องกันน้ำเข้าหู
- ระมัดระวังไม่ให้หูติดเชื้อ เนื่องจากการติดเชื้อจะทำให้เยื่อแก้วหูไม่ซ่อมแซมตนเอง
- หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนบริเวณหู เพราะจะทำให้กระบวนการซ่อมแซมตนเองของเยื่อแก้วหูช้าลง
- ไม่สั่งน้ำมูกแรงๆ เพราะจะทำให้เยื่อแก้วหูได้รับบาดเจ็บ
- อาจทำการประคบอุ่นเพื่อบรรเทาอาการปวดหรือไม่สบายในหูได้
ถ้าเคยแก้วหูทะลุ จะขึ้นเครื่องบินได้ไหม?
สำหรับผู้ที่มีแก้วหูทะลุอยู่ หรือเคยมีแก้วหูทะลุ สามารถโดยสารเครื่องบินได้ตามปกติ แต่ถ้าได้รับการผ่าตัดบริเวณเยื่อแก้วหูที่ทะลุมานั้น ควรจะสอบถามแพทย์ที่ทำการผ่าตัดถึงการโดยสารเครื่องบินก่อนการเดินทาง
อาการแก้วหูทะลุ มีวิธีรักษาอย่างไรบ้างคะ และสามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้หรือไม่คะ