February 04, 2017 18:29
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ขั้นแรกลองสำรวจตัวเองและสิ่งรอบข้างดูว่ามีอะไรที่เป็นสาเหตุให้หลับยาก เช่น ที่นอน เวลาเข้านอน บรรยากาศในห้องนอน ใช้สื่อเทคโนโลยีก่อนนอน ความกังวลกลัวจะไม่หลับ การใช้สารกระตุ้น(ชา กาแฟ บุหรี่ ฯลฯ)
การแก้ปัญหานอนหลับยากต้องแก้ที่สาเหตุ เช่น นอนเป็นเวลาทุกวันและงดงีบหลับระหว่างวัน งดชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายสมำเสมอ ผ่อนคลายร่างกายโดยการอาบน้ำให้สบาย
ไม่ควรทำงานหรือดูทีวีบนที่นอนเด็ดขาด บรรยากาศในห้องนอนไม่ควรมีสิ่งกระตุ้นเร้าเช่น ทีวี คอมฯ มือถือ เกม ฯลฯ
หากลองแล้วยังมีอาการหลับยากหรือมีอาการมานาน ควรไปพบจิตแพทย์ค่ะ คุณหมออาจให้ยาในการรักษา(คนไข้ไม่ควรซื้อยามาใช้เองนะคะ)
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
ปัญหาการนอนไม่หลับ ไม่ว่าจะในวัยทอง ซึ่งฮอร์โมนเริ่มจะหมด แปรปรวน หรือจะเป็นในวัยชรา วัยใดก็ตาม ควรทดลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับสภาพการดำเนินชีวิตประจำวัน ดูเองก่อน
ลองวิธีการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา
1. จัดเวลานอนให้สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน
2. ควรเลิกสูบบุหรี่ และเลิกการดื่มเหล้าจัด
3. บางรายการเปลี่ยนฟูกเป็นสิ่งจำเป็น จากอย่างแข็งเป็นอย่างอ่อน หรือสลับกัน ควรเอาใจใส่ ผ้าคลุมเตียง ไม่ให้ร้อน หรือเย็นมากเกินไป รวมทั้งเสื้อผ้าที่ใส่นอน ควรนุ่ม สบาย อุณหภูมิห้องควรอยู่ในระดับพอดี แต่บางคนต้องการเพียงแค่นี้ก็เพียงพอแล้ว
4. การเปลี่ยนท่านอนอาจจำเป็นโดยเฉพาะ ถ้าเคยนอนในท่าที่ไม่สบาย บางคนเชื่อว่าไม่ควรนอนตะแคงซ้ายเพราะจะเป็นอันตรายต่อหัวใจ ควรจะแก้ความเข้าใจผิดเพราะบางคนชอบนอนตะแคงซ้าย พวกปฏิบัติธรรม นิยมนอนตะแคงขวา (สีห-ไสยาสน์) ผู้ป่วยโรคหอบหืดหรือหายใจลำบาก ควรนอนในลักษณะนั่งมากกว่านอนราบ คือยกศีรษะและลำตัวท่อนบนให้สูง
5. อาหารว่างที่ไม่หนักเกินไป อาจช่วยในการนอนหลับ เช่น น้ำส้ม นมอุ่น น้ำผลไม้อื่น ๆ มื้อเย็นควรงดน้ำชา กาแฟ รวมทั้งก่อนนอน
6. การอ่านหนังสือในเตียงนอนอาจเบนความสนใจจากความวิตกกังวล
7. ควรเลือกรายการโทรทัศน์ที่ไม่ตื่นเต้นมากเกินไป
8. อย่างไรก็ตามห้องนอนและเตียง ไม่ควรใช้สำหรับเป็นที่รับประทานอาหาร หรือของว่าง ดูโทรทัศน์ หรือทำธุรกิจต่าง ๆ
9. ไม่ควรให้มีเสียงหรือแสงรบกวนจนเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าการนอนหลับเป็นแบบตื่นตัวมากเกินไป อาจต้องนอนแยกกับคนที่นอนกรนเสียงดัง
10. การออกกำลังสม่ำเสมอทุกวันช่วยให้หลับดีขึ้น บางคนแนะนำให้เดินเร็วตอนเย็น และหลังจากนั้นให้อาบน้ำอุ่น
11. การผ่อนคลายความตึงเครียดทางเพศอาจช่วยได้
12. พยายามนอนให้มากตามที่ร่างกายต้องการจะได้รู้สึกสดชื่น
13. หลีกเลี่ยง “ความพยายามอย่างจริงจังที่จะทำให้หลับ” ควรมุ่งความสนใจไปที่กิจกรรมอื่น ๆ เช่น ทำงานที่น่าเบื่อ ดูรายการโฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์ เป็นต้น
14. อีกประการหนึ่งการกลัวนอนไม่หลับยิ่งทำให้ไม่หลับมากขึ้น ยิ่งกลัวยิ่งไม่หลับกลายเป็นวงจรติดต่อกันไป อาจสร้างภาระเงื่อนไข โดยสร้างความเกี่ยวโยงระหว่างการรับประทานยา กับกิจกรรมที่ทำเป็นนิสัย เมื่อการวางเงื่อนไขดังกล่าวเกิดขึ้น
15. กิจกรรมที่ทำเพียงอย่างเดียว อาจมีผลทดแทนยาได้ และทำให้การนอนหลับดีขึ้น
16. บางรายอาจต้องการเปลี่ยนแปลงเวลาในการนอน ผู้ป่วยที่ตื่นเช้าเกินไป หลังจากหลับไปแล้ว 6 ชั่วโมง หรือมากกว่า ควรยืดเวลาให้ช้ากว่าเดิม
17. การฝึกกรรมฐาน (สมาธิ) เช่นการกำหนดลมหายใจเข้าออก การสะกดจิตตนเอง การฝึกใช้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย อาจทำให้การนอนหลับดีขึ้น
ถ้าปฏิบัติตามวิธีการต่าง ๆ แล้วยังไม่หลับก็สมควรปรึกษาแพทย์หรือจิตแพทย์เพื่อแก้ไขต่อไป
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำอย่างไรถึงจะหลับไวคะ พยามเข้านอนตั้งแต่3ทุ่ม แต่ทำอย่างไรก็ไม่หลับคะ ลองเกือบทุกวิถีทางแล้วค้ะ ขอคำแนะนำหน่อยคะ ตื่ยมาน่างกายเหมือนพักผ่อนไม่เพียงพอ แถมขอบจาดำคล้ำมากเลยคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)