บุหรี่ไฟฟ้า ผิดกฎหมายหรือไม่

มาไขข้อสงสัยกันเลยดีกว่าว่า ตกลงแล้วบุหรี่ไฟฟ้านั้นผิดกฎหมายจริงหรือไม่?
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ส.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
บุหรี่ไฟฟ้า ผิดกฎหมายหรือไม่

บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร?

ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับบุหรี่ธรรมดากันก่อนดีกว่า บุหรี่ ถือเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่พิษภัยของมันนั้นร้ายแรงเสียเหลือเกิน เนื่องจากภายในมวนบุหรี่นั้นประกอบไปด้วยสารนิโคติน มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ผู้สูบจะมีอาการหัวใจเต้นเร็วและความดันโลหิตสูง คาร์บอนมอนอกไซด์ ส่วนประกอบอันตรายที่ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลง ไนโตรเจนไดออกไซด์ รวมไปถึงไฮโดรเจนไซยาไนด์ เหล่านี้ล้วนส่งผลให้เยื่อบุหลอดลมพังพินาศทั้งสิ้น แล้วแบบนี้ บุหรี่ไฟฟ้าล่ะ...อันตรายแบบเดียวกันหรือเปล่า

ปัจจุบัน พวกเราสามารถพบเห็นเจ้าบุหรี่ไฟฟ้าที่มาพร้อมกับควันโขมงตามสถานที่ต่าง ๆ กันมากขึ้น ผู้สูบอ้างว่า บุหรี่ไฟฟ้าไม่มีผลเสียต่อสุขภาพ มีส่วนผสมสำคัญ คือ นิโคตินและสารให้กลิ่น ผู้เชี่ยวชาญบางท่านกล่าวอ้างว่า บุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้คนไข้เลิกบุหรี่ได้ถึง 81 เปอร์เซ็นต์ แต่แน่นอนว่า แพทย์จากหลายสำนักออกมาโต้แย้งกับคำกล่าวอ้างดังกล่าว กล่าวคือ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอดมองว่า นิโคตินเหลวที่บรรจุอยู่ภายในนั้นมีผลกระทบต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ หลอดเลือดในร่างกายจะบีบตัว เลือดจึงส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ อวัยวะขาดออกซิเจน รวมไปถึงมีผลเสียต่อการผ่าตัดเนื่องจากแผลจะติดเชื้อง่ายขึ้น และอีกสารพัดอันตรายเชียวล่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว หลายคนยังตั้งข้อสงสัยอีกว่า เป็นไปได้ไหมหากจะกล่าวว่า บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา? ปัจจุบันมีเพียงข้อสันนิษฐานกันไปต่าง ๆ นานา บางคนกล่าวว่าน่าจะมีอันตรายน้อยกว่า เพราะบุหรี่ไฟฟ้าปราศจากสารเคมีที่เกิดจากการเผาไหม้เข้าสู่ร่างกาย ทั้งนี้ทั้งนั้น ประเด็นบุหรี่ไฟฟ้า vs. บุหรี่ธรรมดา ใครอันตรายกว่ากัน ยังถือเป็นข้อถกเถียงที่โต้แย้งกันไม่รู้จบ เนื่องจากมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้ายังไม่ถึง 10 ปี แพทย์จึงยังไม่สามารถวินิจฉัยอันตรายต่อร่างกายได้ในระยะยาว

กฎหมายที่เกี่ยวข้องบุหรี่ไฟฟ้า

ถ้าเช่นนั้นในส่วนของข้อกฎหมายเล่า มีข้อสรุปแล้วหรือยัง เมื่อทำความรู้จักกับบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้ากันแล้ว คราวนี้มาไขข้อสงสัยกันเลยดีกว่าว่า ตกลงแล้วบุหรี่ไฟฟ้านั้นผิดกฎหมายจริงหรือไม่? จะเห็นได้ว่า บุหรี่ธรรมดาที่สูบ ๆ กันตามท้องถนนนั้น เป็นสารเสพติดหนึ่งที่ไม่ผิดกฎหมาย แล้วถ้าเป็นบุหรี่ไฟฟ้าล่ะ...จากการรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งพบว่า

  1. บุหรี่ไฟฟ้า ถือเป็นสินค้าที่ไม่เสียภาษีของประเทศไทย
  2. บุหรี่ไฟฟ้า เป็นสินค้าต้องห้ามในการนำเข้าสู่ราชอาณาจักร กล่าวคือ ห้ามนำเข้า ห้ามขาย ห้ามให้บริการ
  3. ไม่มีกฎหมายห้ามครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า แต่สาเหตุที่ห้ามครอบครองนั้นเป็นเพราะว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าไม่เสียภาษี ฉะนั้น การครอบครองสินค้าที่ไม่เสียภาษี มีความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469
  4. กฎหมายกล่าวว่า คุก 5 ปี ปรับต่างหาก
  5. อ้างอิงจริงพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2559 ตามลำดับ
  • มาตรา 27 ทวิ ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจําหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจํานํา หรือรับไว้โดยประการใดอันตนรู้ว่าเป็นของที่ยังมิได้เสียค่าภาษีหรือของต้องจํากัด หรือของต้องห้าม หรือที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องก็ดี หรือเป็นของที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อจํากัด หรือข้อห้ามอันเกี่ยวแก่ของนั้นก็ดี มีความผิดต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจําทั้งปรับ
  • ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง สินค้าต้องห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 ข้อ 3 ให้สินค้าตามบัญชีท้ายประกาศนี้เป็นสินค้าต้องห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า

ถึงกระนั้นก็เถอะ ทำไมเราจึงยังเห็นคนสูบบุหรี่ไฟฟ้ากันอยู่หรือ? ผู้วิพากษ์วิจารณ์จำนวนไม่น้อยต่างให้ความเห็นแตกต่างกันออกไป บางคนกล่าวอ้างตาม พ.ร.บ. ว่า เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นสินค้าต้องห้าม (ห้ามนำเข้าประเทศ) จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรและความผิดตามกฎหมายอาญา แต่ในบางกรณีก็โต้กลับว่า จะผิดได้อย่างไร เราเป็นผู้บริโภค ไม่ได้นำเข้าหรือจัดจำหน่ายแต่อย่างใด หรือบางรายก็ให้เหตุผลว่า เนื่องจากรัฐฯไม่ได้เก็บภาษี จึงทำให้สูญเสียรายได้จากสินค้าดังกล่าว เงินไม่เข้าประเทศ คล้าย ๆ กับเป็นสินค้าหนีภาษี อาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของรัฐ...เรียกได้ว่า ถกเถียงกันเมามันส์ โต้วาทีกันทั้งวันก็ดูท่าจะไม่จบ

หากจะมองกันจริง ๆ แล้วตามข้อกฎหมาย บุหรี่ไฟฟ้าเมื่อมีไว้ในครอบครอง ถือว่าผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับการขับรถผ่าไฟแดง ขี่จักรยานยนต์ไม่สวมหมวกกันน็อค จอดรถในที่ห้ามจอด และอื่น ๆ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่สามารถจับกุมได้ในทุกกรณีด้วยปัจจัยและเงื่อนไขต่าง ๆ ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินแล้ว เรายังไม่ทราบแน่ชัดว่าเส้นแบ่งเขตความถูก-ผิดอยู่ตรงไหน Play Safe ไว้ก่อน อย่าหืออือกับกฎหมายโจ่งแจ้ง เพราะเราเองยังต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศ อำนาจการตัดสินหาได้อยู่ที่เราไม่...ฉะนั้น ปลอดภัยไว้ก่อนเถิดพ่อแม่พี่น้อง

อ้างอิง:
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง สินค้าต้องห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. 2559

 


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Information for Travellers : Prohibition of e-cigarettes. Thai Embassy and Consulates. (http://www.thaiembassy.org/london/en/services/7747/86207-Prohibition-of-e-cigarettes.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายหรือไม่ ถ้าเทียบกับบุหรี่จริง
บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายหรือไม่ ถ้าเทียบกับบุหรี่จริง

รู้จักบุหรี่ไฟฟ้าให้ดีก่อนตัดสินใจใช้เพราะคำว่า "เท่" หรือเชื่อว่า "ช่วยทำให้เลิกบุหรี่ได้"

อ่านเพิ่ม