Antithrombin

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตรวจโปรตีน Antithrombin ในเลือด เพื่อหาภาวะเลือดแข็งตัวมากกว่าปกติ และเพื่อหาสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดซ้ำ
เผยแพร่ครั้งแรก 30 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Antithrombin

การตรวจหา Antithrombin จากการเจาะเลือดไปตรวจ ทำเพื่อหาภาวะเลือดแข็งตัวมากกว่าปกติ และเพื่อหาสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดซ้ำ นอกจากนี้แพทย์อาจตรวจหาโปรตีนชนิดนี้จากผู้ที่ไม่ตอบสนองการรักษาภาวะลิ่มเลือดด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด (เฮปาริน)

ชื่ออื่น: Functional antithrombin III, AT III, AT 3

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อทางการ: Antithrombin (Activity and Antigen)

จุดประสงค์การตรวจ Antithrombin

การตรวจ Antithrombin ทำเพื่อหาภาวะเลือดแข็งตัวมากเกินปกติ (Excessive clotting disorders) และเพื่อหาสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดซ้ำ ในการตรวจโปรตีนชนิดนี้ แพทย์จะเริ่มตรวจการทำงานเป็นอันดับแรก เพื่อประเมินว่าปริมาณของ Antithrombin ที่ทำงานได้ทั้งหมดเป็นปกติหรือไม่ หากการทำงานของ Antithrombin อยู่ในระดับต่ำ ก็อาจต้องตรวจแอนติเจนเพื่อหาปริมาณของ Antithrombin เพิ่มเติม

บางกรณีแพทย์อาจตรวจ Antithrombin เพื่อประเมินอาการของผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อเฮปาริน หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือดตามที่คาดหวัง ซึ่ง Antithrombin เป็นสื่อกลางที่ช่วยให้เฮปารินออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น แต่เฮปารินสามารถทำให้ Antithrombin ทำงานมากขึ้น จึงสามารถยับยั้งการเกิดลิ่มเลือด ดังนั้น ผู้ที่มีภาวะขาด Antithrombin จะดื้อต่อการรักษาด้วยเฮปาริน

เมื่อไรที่ต้องตรวจ Antithrombin?

แพทย์จะตรวจ Antithrombin activity ควบคู่กับการตรวจอื่นๆ ที่ช่วยตรวจหาภาวะเลือดแข็งตัวมากเกินปกติ (Excessive clotting disorders) หลังจากการรักษาภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดแล้วกลับมามีลิ่มเลือดซ้ำ นอกจากนี้แพทย์อาจตรวจ Antithrombin เมื่อผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อเฮปาริน

วิธีเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ Antithrombin

แพทย์จะตรวจ Antithrombin จากเลือดโดยการแทงเข็มเข้าไปในเส้นเลือดดำที่แขน ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวล่วงหน้า อย่างไรก็ตามการตรวจภาวะ Antithrombin เป็นวิธีที่ไม่แนะนำหากผู้เข้ารับการตรวจมีภาวะที่อาจส่งผลต่อระดับของ Antithrombin หรือหลังจากที่ได้รับเฮปารินเพื่อรักษาลิ่มเลือด

รายละเอียดการตรวจ Antithrombin

Antithrombin เป็นโปรตีนที่ตับผลิตขึ้นเพื่อช่วยควบคุมการสร้างลิ่มเลือด โดยทั่วไปแล้วเมื่อเส้นเลือดได้ความเสียหาย จะทำให้เกิดกระบวนการซับซ้อนที่เรียกว่า Hemostasis เพื่อสร้างลิ่มเลือดและป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียเลือดไปมากกว่านี้ กระบวนการนี้มีโปรตีนหลายชนิดที่เกี่ยวข้อง หรือที่เรียกว่า Coagulation factors

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

Antithrombin จะช่วยควบคุมกระบวนการแข็งตัวของเลือดโดยยับยั้งปัจจัยที่ทำให้เลือดแข็งตัวเพื่อชะลอกระบวนการและป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวมากกว่าปกติ หรือเกิดลิ่มเลือด ผู้ที่มีภาวะเกิดลิ่มเลือดได้ง่ายจากพันธุกรรม หรือมีภาวะขาด Antithrombin จะเสี่ยงต่อการมีลิ่มเลือดมากขึ้น โดยเฉพาะการมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำที่อยู่ลึกเข้าไปในขา (Deep venous thrombosis: DVT)

เนื่องจากภาวะขาด Antithrombin มี 2 ชนิด ชนิดที่ 1 คือทำงานปกติ แต่มีปริมาณไม่เพียงพอ และชนิดที่ 2 คือ มีปริมาณเพียงพอ แต่ทำงานไม่ปกติ แพทย์จึงต้องแยกชนิดของการขาด Antithrombin และประเมินโดยใช้การตรวจดังนี้

  • Antithrombin activity: ประเมินการทำงานของ Antithrombin
  • Antithrombin antigen: วัดปริมาณของ Antithrombin

ความหมายของผลตรวจ Antithrombin

การที่ Antithrombin ทำงานลดลง และ Antithrombin antigen มีปริมาณลดลง บ่งชี้ได้ถึงภาวะขาด Antithrombin ชนิดที่ 1 ส่วนการที่ Antithrombin ทำงานลดลง แต่ระดับของ Antithrombin antigen เป็นปกติ สามารถบ่งชี้ถึงภาวะขาด Antithrombin ชนิดที่ 2 แต่ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม การขาด Antithrombin จะทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะมีลิ่มเลือดผิดปกติ

ระหว่างการตรวจ อาจพบระดับของ Antithrombin ลดลงชั่วคราวหรือลดลงเรื้อรังร่วมกับภาวะที่ส่งผลต่อการใช้หรือการผลิต Antithrombin เช่น

  • ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย (DIC)
  • ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดดำที่ขาDVT (Deep vein thrombosis)
  • โรคตับ
  • โรคไตรั่ว
  • ภาวะสูญเสียโปรตีน
  • โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด
  • การใช้ยาเฮปาริน (มีระดับของ Antithrombin ต่ำลงชั่วคราว)
  • ทารกที่เพิ่งเกิดได้ไม่กี่วัน
  • การรักษาด้วยเอสโตรเจน

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Antithrombin

  • หากผู้ที่มีภาวะขาด Antithrombin มีความเสี่ยงอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น ขาดโปรตีน C หรือโปรตีน S มีการกลายพันธุ์ของ Factor V leiden และรับประทานยาคุมกำเนิด ก็อาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่เลือดจะจับตัวเป็นลิ่ม
  • ภาวะขาด Antithrombin สามารถทำให้ผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์เสี่ยงจะมีภาวะแท้งซ้ำเพิ่มขึ้น
  • หากมีภาวะขาด Antithrombin ควรแจ้งทันตแพทย์ก่อนการทำทันตกรรมทุกครั้ง เพื่อให้ทันตแพทย์ได้พิจารณาความเสี่ยงในการทำให้เลือดแข็งตัวอย่างเหมาะสมในระหว่างและหลังจากรักษาตัว

1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lab Test Online, Antithrombin (https://labtestsonline.org/tests/antithrombin), 27 December 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)